มช.ถอดบทเรียน อุโมงค์ถล่ม ประมาท-สุดวิสัย.? วิเคราะห์เหตุการณ์จริง ยื่น จม.ถึงสภาทนายฯ

 

ถอดบทเรียน…………คณาจารย์และนักวิชาการจากภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มช. เสวนา “บทเรียนจากอุโมงค์แม่งัด-แม่กวงถล่ม ประมาทหรือเหตุสุดวิสัย” หลังเกิดเหตุหินถล่มในอุโมงค์ผันน้ำแม่งัด-แม่กวงมีผู้เสียชีวิต จัดที่ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มช.

ภาควิชธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มช. เปิดเสวนา วิเคราะห์อุบัติเหตุอุโมงค์ถล่ม “บทเรียนจากอุโมงค์แม่งัด-แม่กวงถล่ม ประมาทหรือเหตุสุดวิสัย” ถอดบทเรียนและวิเคราะห์เหตุของการเกิดอุโมงค์ถล่ม ขณะที่ครอบครัวผู้เสียหาย ยื่นจดหมายถึงประธานสภาทนายความจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อขอให้ความเป็นธรรมกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 7 เม.ย.60 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมปริญญา นุตาลัย ภาควิชธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผศ.ดร.มนูญ มาศนิยม หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ พร้อมด้วย ดร.ธนู หาญพัฒนพาณิชย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านที่ปรึกษา วิศวกรรมธรณีวิทยา กรมชลประทาน ดร.อรรถกิจ อาสาฬห์ประกิต รองประธานคณะกรรมการฝ่ายกิจกรรมในประเทศ คณะกรรมการงานก่อสร้างใต้ดินและอุโมงค์ และ ดร.บูรพา แพจุ้ย หัวหน้าภาควิชาธรณีวิทยา ได้ร่วมกันจัดเสวนา “บทเรียนจากอุโมงค์แม่งัด – แม่กวงถล่ม ประมาทหรือเหตุสุดวิสัย” โดยมีครอบครัวนักธรณีวิทยาที่เสียชีวิต นักธรณีวิทยาที่รอดจากเหตุการณ์ดังกล่าว และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมรับฟังการเสวนาในครั้งนี้เป็นจำนวนมาก

โดยในการเสวนาที่จัดขึ้นในครั้งนี้ ได้มีการพูดถึงมาตรการรักษาความปลอดภัย และวิเคราะห์ถึงสาเหตุการเกิดเหตุกาณณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้น รวมทั้งข้อผิดพลาดของการก่อสร้าง ซึ่งสืบเนื่องมาจากเหตุหินถล่มในอุโมงค์ผันน้ำแม่งัด-แม่กวง เมื่อวันที่ 2 มีนาคมที่ผ่านมาเป็นเหตุให้นักธรณีวิทยา 2 ราย คือ นายปรัชญาวัต วสุอนันต์ และ นายปฐมพร ศิริวัฒน์ เสียชีวิตนั้น ตามกระแสข่าวที่ออกมา ใช้ข้อความว่าเป็นเหตุสุดวิสัยและนักธรณีวิทยาเข้าไปในอุโมงค์เร็วเกินไป รวมทั้งกล่าวอ้างถึงหน้าที่ของนักธรณีวิทยาว่าเป็นผู้ดูแลควบคุมการออกแบบค้ำยันและความปลอดภัยในการก่อสร้างอุโมงค์

ขณะเดียวกัน ความเป็นจริงนั้นจากการตรวจสอบจากภาพถ่าย ที่ได้ถ่ายไว้ตามแนวอุโมงค์ครั้งก่อนเกิดเหตุและหลังจากเกิดเหตุ แสดงให้เห็นว่า ตำแหน่งที่เกิดการถล่มของหินลงมาทับนักธรณีวิทยาคือตำแหน่งที่ 635 เมตรซึ่งอยู่ระหว่างการเจาะระเบิดไปแล้วจำนวน 3 รอบ และคืนรอบที่ 630 – 633 เมตร รอบที่ 633 – 636 เมตรและรอบที่ 636 – 639 เมตร ซึ่งตามการออกแบบที่ได้ระบุไว้ ว่าจะต้องได้รับการค้ำยันโดยใช้ตะแกรงเหล็ก ทำการค้ำยันโดยการพ่นคอนกรีตฉาบตามความหนาที่ระบุไว้ 10 เซนติเมตร แต่พบมีความหนาเพียงประมาณ 2-3 เซนติเมตร และสำหรับการค้ำยันโดยการติดตั้งแท่งเหล็กยึดนั้น พบว่ามีแท่งเหล็กยึด แต่ในจำนวนที่ไม่เท่ากับที่ระบุไว้ในแบบก่อสร้าง และที่สำคัญคือแท่งเหล็กยึดที่ทำการติดตั้งจะไม่ได้เชื่อมประสานระหว่างแท่งเหล็กกับหิน รวมทั้งยังไม่ได้ทำการขันแผ่นเหล็กส่วนปลายเพื่อให้ท่านผลิตเย็บติดกับหิน จึงนับได้ว่าเป็นการติดตั้งที่ไม่สมบูรณ์

ทางด้านคณะอาจารย์ ของภาควิชาธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมผู้เชี่ยวชาญทั้งการขุดเจาะอุโมงค์ การค้ำยัน ได้ออกมาจัดการเสวนา เพื่อเป็นการเรียกร้องให้ผู้เสียชีวิตทั้งสองได้รับความเป็นธรรม หลังมีการกล่าวอ้างว่า กรณีดังกล่าวเป็นการประมาทหรือเหตุสุดวิสัย ซึ่งมีการกล่าวว่านักธรณีวิทยาเป็นผู้ดูแลควบคุมการออกแบบค้ำยันและความปลอดภัยในการก่อสร้างอุโมงค์ และนักธรณีวิทยาเข้าไปในอุโมงค์งานเร็วเกินไป แต่ในความเป็นจริงแล้ว หน้าที่ของนักธรณีวิทยา ในงานก่อสร้างอุโมงค์ครั้งนี้คือการทำแผนที่ทางธรณีวิทยาของหน้าตัดมุม ที่ระบุชนิดของมวลหินและการวางตัวของรอยแตก เพื่อนำข้อมูลส่งต่อให้กับวิศวกรติดตั้งระบบค้ำยันและทำการระเบิดในครั้งต่อไป อย่างไรก็ตาม การกล่าวอ้างว่านักธรณีวิทยาเข้าไปในอุโมงค์เร็วเกินไปนั้นจึงไม่เป็นความจริง แต่สิ่งที่ควรจะหาคำคือ ใครเป็นผู้อนุญาตให้เข้าไปปฏิบัติงาน ควรมี วิศวกรที่มีประสบการณ์ด้านงานขุดเจาะอุโมงค์โดยใช้วัตถุระเบิด รวมทั้งนักธรณีที่มีประสบการณ์งานอุโมงค์มาทำงาน นอกเหนือจากนักธรณีผู้ช่วยที่จบมาใหม่ และวิศวกรด้านต่างๆ ตามที่กำหนดในมาตรฐานของงานก่อสร้างอุโมงค์และในมาตรการความปลอดภัยถูกต้องครบถ้วนจริงหรือไม่

ทั้งนี้ทาง ด้านนางเพ็ญจันทร์ วสุอนันต์ แม่ของนายปรัชญาวัต และนางอรทัย ศิริวัฒน์ แม่ของนายปฐมพร ศิริวัฒน์ ได้เปิดเผยว่า หลังเกิดเหตุเขาก็ส่งคนมาที่บ้านและบอกว่าจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของน้องทั้งหมด แต่หลังจากแม่ได้เห็นข่าวว่าจะมีการจ่ายเงินค่าทำศพให้รายละ 50,000 บาท แต่เงินที่ได้รับจากบริษัทฯ คือ 15,000 บาท หลังจากเสร็จงานศพก็ไม่ได้รับการติดต่อมา กระทั่งวันที่ 26 มี.ค. ที่ผ่านมา ก็นัดเจรจากันที่ สภ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ และได้มีการส่งทีมวิศวกรมาจากกรุงเทพฯ และจะเยียวยาเงินให้ 3 แสนบาท และมีประกันชีวิตของน้องอีก 2 แสนบาท และจะไม่รับผิดชอบใดๆ อีก และบอกกับแม่ว่า หากอยากได้ให้ทำหนังสือไปขอที่โครงการ แม่ก็รับไม่ได้ที่เป็นแบบนี้ ตอนนี้ด้านคดีก็อยู่ในขั้นตอนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.แม่แตง ก็ขอให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ตอนแรกเขาไม่ยอมรับเรื่อง ไม่ยอมรับฝากเรื่องใดๆ ทั้งสิ้นจากเรา ซึ่งหากอยากได้อะไรให้ทำเรื่องขอ ตรงนี้รู้สึกรับไม่ได้จริงๆ นอกจากนี้ ต่อมาทางครอบครัวของนักธรณีที่เสียชีวิตทั้งสองรายได้ ยื่นจดหมายให้กับ นายพรศักดิ์ สังข์สังวาลย์ ประธานสภาทนายความจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อขอให้ความเป็นธรรมกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งก็ได้รับคำตอบว่าจะได้ดูข้อมูลทั้งหมดและดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย เพื่อช่วยเหลือครอบครัวของผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนี้

โดยทาง นายธีระเพชร บุญธง อายุ 23 ปี นักธรณีวิทยาผู้อยู่ในเหตุการณ์ เล่าวว่า ในวันเกิดเหตุ ตนได้เข้างานในช่วงเช้าเวลาประมาณ 07.00 น. ซึ่งขณะนั้นได้พบว่า นายปฐมพร ผู้เสียชีวิต อยู่กับเจ้าหน้าที่วิศวะกรและช่าวของบริษัทอิตาเลี่ยนฯ ซึ่งกำลังพูดคุยกันเกี่ยวกับอุโมงค์ที่ได้มีการเปิดใหม่ ซึ่งขณะนั้นทาง นายปฐมพร ก็ได้ชี้ให้ตนเห็นจุดที่เกิดรอยร้าวแล้ว ตนก้ได้พุดคุยกับทาง นายปฐมพร ว่ากลัวรอยร้าวดังกล่าวจะถล่มลงมา และหลังจากพูดคุยกันเสร็จก็ได้ออกไปอุโมงค์อีกฝั่งที่อยู่ฝั่งซ้าย ต่อมาเวลาประมาณ 08.00 น. นายปรัชญาวัต ก็ได้มาเข้างาน ตนและผู้เสียชีวิต รวมทั้งหมด 3 คน ได้เดินเข้าไปทำการสำรวจจุดบริเวณด้านหน้าที่เปิดใหม่ โดยตอนไปถึงตนได้ชี้ให้ นายปรัชญาวัต ดูว่ามีจุดร้าว แต่ นายปรัชญาวัต ได้ระบุว่ามีการใส่ล็อคโวลต์แล้ว แต่ทางตนก็แนะนำให้เอาออกก่อนเพราะเกรงว่าผนังเพดานจะตกลงมา และหลังจากพูดคุยกันด้วยความกังวลว่าจุเกิดถล่มลงมาตนได้เดินออกห่างจากจุดดังกล่าวประมาณ 5 เมตร และระหว่างนั้นก็มีเศษหินร่วงลงมาขนาดก้อนเท่ามือถือก่อนที่มันจะถล่มลงมาอย่างรวดเร็ว ทับร่างทั้งสองคนจนเป็นเหตุให้เสียชีวิตดังกล่าว

ร่วมแสดงความคิดเห็น