การจัดหายาในระดับประเทศ เพื่อประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพเข้าถึงยาที่จำเป็น

ก้าวพิเศษ ภก.คณิตศักดิ์ จันทราพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนระบบบริการยาและเวชภัณฑ์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

การจัดหายาในระดับประเทศ เพื่อประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพเข้าถึงยาที่จำเป็น

การจัดหายาในระดับประเทศ (Central Procurement) มีเป้าหมายหลักเพื่อลดปัญหาการเข้าถึงยาจำเป็นที่มีราคาแพงใช้กับประชาชน ตามระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งกำหนดหลักการพื้นฐานไว้ว่าต้อการให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็น โดยไม่มีอุปสรรคทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปกป้องประชาชนไม่ให้ล้มละลายจากโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง

กระบวนการจัดหาเพื่อเข้าถึงยาจำเป็น จึงต้องกระทำอย่างรอบคอบในทุกขั้นตอนเพื่อป้องกันปัญหาซึ่งพบว่ายังมีผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจำนวนหนึ่งเข้าไม่ถึงยาจำเป็นที่มีราคาแพง ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการรักษาโรคที่อาจจะนำไปสู่ภาวะทุพพลภาพหรือเสียชีวิต ขณะที่ “ยาจำเป็น “แต่มี”ราคาแพง” คณะที่มีจำนวนผู้ป่วยน้อย และไม่สามารถคาดการณ์จำนวนแน่นอน การจัดหายามาไว้บริการใหพอกับความต้องการ โดยไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้ปวยและหน่วยบริการด้านงบประมาณ

นั่นหมายถึง ถ้าผู้ปวยต้องรับภาระค่าใช้จ่ายด้วยตัวเองย่อมเป็นภาระทางการเงินอย่างมาก และหากให้หน่วยบริการจัดหาเองก็มีผลกระทบต่องบประมาณของหน่วยบริการนั้นๆ

ตัวอย่าง ยาจำเป็นที่มีราคาแพง เช่น ยาฉีดอิมมูโนโกลบูลลิน (IVIG) ซึ่งใช้ในการรักษาโรคคาวาชากิระยะเฉียบพลัน โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิ หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้ายระยะวิกฤต ยาฉีด Docetaxel (โด-ซี-แท๊ก-เซล) ซึ่งใช้ในการรักษาโรคมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นหรือลุกลามที่มีปัญหาโรคหัวใจมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจาย เป็นต้น

เหตุที่ยากลุ่มนี้ราคาแพงเพราะส่วนใหญ่เป็นยาต้นแบบนำเข้าจากต่างประเทศ มีผู้จำหน่ายรายเดียว หรือน้อยราย ตลาดเป็นของผู้ขาย เพราะไม่มีการแข่งขันถึงขั้นผูกขาดทั้งมีแนวโน้มปรับราคมขึ้นทุกปี และไม่มียาอื่นทดแทนได้ แต่ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับยาในเวลาที่ เหมาะสมอาจส่งผลถึงชีวิต และที่ผ่านมายากลุ่มนี้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของผู้ป่วยถึงขั้นล้มละลายได้ถ้าต่องจ่ายในราคาสูงและต่อเนื่อง แม้กระทั้งหากซื้อโดย หน่วยบริการเช่น โรงพยาบาลก็มีราคาสูงมากเพราะไม่สามารถต่อรองราคาสำหรับยาที่ซื้อในปริมาณน้อย ราคาที่ได้ก็จะแตกต่างกันจนหาราคาอ้างอิงเพื่อนำมาคิดชดเชยเป็นเงินได้ยาก ยาบางรายการที่มีสิทธิบัตร เช่น ยารักษาโรคเอดส์ถึงขึ้นต้องใช้กระบวนการบังคับใช้สิทธิ (Compulsry license : Cl)เพื่อให้ได้ยาราคาที่ถูกลง ซึ่งต้องดำเนินการโดยหน่วยงานกลางของรัฐระดับประเทศ

เมื่อสถานการณ์เข้าถึงยาจำเป็นเป็นดังที่เห็น รูปแบบการจัดหายาในภาพรวมของประเทศ จึงเป็นทางออกสำหรับการเข้าถึงยาาจำเป็น เนื่องจากสามารถประกันบริมาณขั้นตํ่า สร้างอำนาจต่อรองราคา เพื่อกำหนดวงเงินจัดซื่่อที่แน่นอน และช่วยลดภาระด้านงบประมาณ รวมถึงช่วยควบคุมหรือประหยัดงบประมาณลงแต่สามารถเพิ่มโอกาสการเข้าถึงยาจำเป็นให้กับผู้ปวยได้มากขึ้น

โดยกระบวนการจัดหายาจำเป็น คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำกำหนดงบประมาณในหมวดค่าใช้จ่ายกลาง (Central Reimbursement) ส่วนหนึ่งไว้ที่กองกลางระดับประเทศในการบริหารจัดการจัดซื้อรวม ระดับประเทศ (Central Procurement) เพื่อจัดหายาในชุดสิทธิประโยชน์สำหรับยาจำเป็นบางรายการที่มีราคาแพง รวมถึงวัคซีน และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อเป็นหลักประกันและเพิ่มความมั่นใจว่าผู้ป่วยจะได้บริการที่มีคุณภาพและเข้าถึงยาที่จำเป็นอย่างทั่วถึง และโรงพยาบาลมีความสบายใจว่าเมื่อจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วยแล้วจะได้รับการชดเชยกลับมาโดยไม่เป็นภาระทางการเงินของโรงพยาบาล

ที่สำคัญการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการที่เชื่อว่าเป็นกลไกที่ช่วยควบคุมค่าใช้่ายการเข้าถึงยาจำเป็นในลักษณะนี้ จะทำให้ สปสช.จัดบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพและเพียงพอสำหรับผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วยหน้า ซึ่งมีจำนวนกว่า 48.7 ล้านคน ได้ตามความจำเป็น

ติดตามอ่านต่อ แนวทางการจัดซื้อยาเน้นวิธีการจัดหาโปร่งใส (ในวันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน 2560)

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1 เชียงใหม่ ติดตามรายการ “สุขถ้วนหน้ากับหลักประกันสุขภาพ“ ทางคลื่นวิทยุ สวท.เชียงใหม่ FM 93.75 Mhz. ทุกวันจันทร์ เวลา 11.15 น. ถึง 12.00 น.

ร่วมแสดงความคิดเห็น