คนไทยเลือกซื้อข้าว คุณภาพหลักบริโภค เน้นข้าวนุ่มและหอม


สถานการณ์ข้าวไทยประสบปัญหาเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ และการมีสต๊อกข้าวปริมาณมาก เนื่องจากยังไม่สามารถระบายผลผลิตออกไปขาย ในตลาดต่างประเทศได้ตามที่ต้องการโดยปี 2559 พบว่ามีปริมาณความต้องการข้าวเปลือกอยู่ที่ 2 5 ล้านตัน เมื่อพิจารณาร่วมกับความเสี่ยงจากภัยแล้ง เป้าหมายที่เหมาะสม ต่อการผลิตข้าวปีนี้จึงไม่ควรเกิน 27 ล้านตัน ซึ่งจากเดิมประเทศไทยจะมีผลผลิตข้าวเปลือกอยู่ปริมาณปีละ 31 – 32 ล้านตัน นอกจากนี้ จากข้อมูลการวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และงานวิจัย ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ( สกว.) พบว่าช่วง 10 ปีที่ผ่านมา คนไทยบริโภคข้าวน้อยลง จากอัตราเฉลี่ย 190 กิโลกรัมต่อคนต่อปี เหลือเพียง 106 กิโลกรัมหรือลดลง 44% ประกอบกับกระแสการรักสุขภาพของคนไทย บางส่วนที่ใช้วิธีการควบคุมน้ำหนัก โดยการงดบริโภคข้าวเป็นต้นและถึงแม้ในปัจจุบัน ราคาจำหน่ายของข้าวในประเทศจะมีแนวโน้มลดลง แต่ก็ยังไม่สามารถช่วยให้เกิดความต้องการในการบริโภคที่เพิ่มขึ้นได้ แต่อย่างใด ภาครัฐจึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งประชาสัมพันธ์ให้คนไทยบริโภคข้าวมากขึ้น รวมถึงการสร้างความเข้าใจ ถึงความสำคัญของการบริโภคข้าว อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้ข้าวที่ปลูกส่วนใหญ่ยังไม่ตรงความต้องการของตลาด รวมถึงยังขาดการนำผล การศึกษาวิจัยที่มุ่งศึกษาพฤติกรรมการบริโภคข้าวของผู้บริโภคมาใช้ วางแผนในการผลิตให้แก่เกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้การผลิตข้าวนั้นตรงความต้องกับของตลาด โดยเฉพาะตลาดในประเทศ ซึ่งมีปริมาณการบริโภคข้าวอยู่ที่ 6-7 ล้านตัน ต่อปี
ด้วยเหตุดังกล่าว แม่โจ้โพลล์ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตรคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้สำรวจความคิดเห็นของคนไทยจำนวนทั้งสิ้น 1220 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 18 ถึง 30 มีนาคม 2560 ในหัวข้อ ” พฤติกรรมการบริโภคข้าวของคนไทย” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็น และพฤติกรรมการบริโภคข้าวของคนไทย ผลการสำรวจพบว่า ผู้บริโภคร้อยละ 65.4 3 จะหุงข้าวรับประทานเองที่บ้าน ในขณะที่ ร้อยละ 34.57 ใช้วิธีซื้อข้าวที่หุงแล้วรับประทาน หรือ เลือกรับประทานอาหารนอกบ้าน เมื่อสอบถามถึงปริมาณการบริโภคข้าวในปัจจุบัน ผู้บริโภคชาวไทย ร้อยละ 50.8 6 มีการบริโภคข้าวในปริมาณเท่าเดิม เมื่อเทียบกับในอดีต 100 ไลค์ 28.4 7 มีการบริโภคข้าวในปริมาณที่เพิ่มขึ้นและร้อยละ 20 .67 มีการบริโภคข้าวในปริมาณที่ลดลง ในส่วนของการเลือกซื้อข้าวเพื่อนำไปบริโภคนั้น ผู้บริโภคส่วนใหญ่ร้อยละ 74.73 เลือกบริโภคข้าวขาว/ ข้าวขัดสี ในขณะที่ อีกร้อยละ 25.27 เลือกบริโภคข้าวแบบไม่ขัดสี/ ข้าวกล้อง โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่ เลือกบริโภคข้าวหอมมะลิ/ ข้าวหอมต่างๆมากที่สุด (ร้อยละ 83.00) รองลงมาคือข้าวขาว (ร้อยละ 13.00) และข้าวผสมอื่นๆ (ร้อยละ 4.00)
และเมื่อสอบถามถึงการเลือกข้าวเพื่อบริโภคของผู้บริโภคชาวไทยนั้น ลักษณะเด่นของข้าวที่ผู้บริโภคชื่นชอบมากที่สุดคือความนุ่มของข้าว (ร้อยละ 45.33) รองลงมาคือความหอมของข้าว (ร้อยละ17.30) ผลดีต่อสุขภาพจากการบริโภค (ร้อยละ15.66) การหุงขึ้นหม้อ (ร้อยละ 10.57) รสชาติของข้าว (ร้อยละ 7.30) ความเหนียวของความร่วนของข้าว (ร้อยละ 3.85) ในขณะที่ ปัจจัยที่มีผลต่อการพิจารณาเลือกซื้อข้าวอันดับที่ 1 คือคุณภาพข้าว/พันธุ์ข้าว (ร้อยละ 51.89) อันดับที่ 2 คือราคา (ร้อยละ 17.7 3) อันดับที่ 3 คือมาตรฐานความปลอดภัย (ร้อยละ 15.35) อันดับที่ 4 คือความสะดวกในการหาซื้อ (ร้อยละ 9.85) อันดับที่ 5 คือ มีกิจกรรมหรือรายการการส่งเสริมการขาย (ร้อยละ1.49) และมีเพียงร้อยละ 3.69 เท่านั้น ที่ไม่ได้มีการพิจารณาปัจจัยใดเป็นพิเศษ
และสำหรับการที่ชาวนาในปัจจุบัน เริ่มมีการนำข้าวเปลือกมาแปรรูป และจำหน่ายด้วยตนเองนั้น เมื่อสอบถามผู้บริโภค ว่าจะซื้อหรือไม่ พบว่า ผู้บริโภคถึงร้อยละ 93.60 อยากให้การสนับสนุนโดยการซื้อแน่นอน โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า เพราะต้องการช่วยเหลือชาวนา มีเพียงร้อยละ 6.40 เท่านั้น ที่จะไม่เลือกซื้อ โดยตรงจากชาวนา โดยบางส่วนให้เหตุผลว่าไม่สะดวกในการเลือกซื้อ รวมถึงไม่มั่นใจในคุณภาพของข้าว
โดยส่วนของข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาราคาข้าวตกต่ำ และการมีปริมาณผลผลิตที่มากเกินความต้องการของตลาดนั้น ผู้บริโภคได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ควรให้ชาวนามุ่งเน้นการผลิตที่สอดคล้อง และตรงตามความต้องการของตลาดในปัจจุบันเช่นการผลิตข้าวอินทรีย์หรือ ข้าวที่มีคุณภาพสูง รวมถึงการมีมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ ซึ่งประกอบด้วย มาตรการทางด้านราคาแก่เกษตรกร เช่น นโยบายการรับจำนำข้าว หรือ การประกันราคาข้าว มาตรการที่ช่วยสนับสนุนให้มีการบริโภคข้าวภายในประเทศเพิ่มขึ้น รวมถึง การขยายตลาดส่งออกข้าวให้มากขึ้น เป็นต้น

ร่วมแสดงความคิดเห็น