การจัดซื้อยาระดับประเทศ เน้นวิธีการจัดปาโปร่งใส

สปสช.มอบหมายให้องค์การเภสัชกรรมเป็นผู้ดำเนินการจัดหายาโดยตรงโดยใช้การต่อรองราคาในรูปแบบคณะกรรมการ กำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะโดยประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์กรวิชาชีพ ตัวแทนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เภสัชกรจากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย หรือกระทรวงสาธารณสุข เพื่อใช้ประกอบการจัดซื้อโดยอ้างอิงเภสัชตำรับยามาตรฐานของสหรัฐอเมริกา ยุโรป และไทย เล่มที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศรับรอง

เมื่อองค์การเภสัชกรรมดำเนินการจัดหายาแล้วเสร็จ สปสช.จะดำเนินการตรวจรับยาต่อเมื่อยาที่มีคุณลักษณะยาตรงตามที่ได้กำหนดไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาที่บังคับใช้สิทธิโดยรัฐ (CL) จะต้องผ่านการทดสอบของห้องปฏิบัติการกลาง มาตรฐานเดียวกับยาต้นแบบ ก่อนรับยาเข้าบริหารจัดการและกระจายให้โรงพยาบาลผ่านระบบ VMI ขององค์การเภสัชกรรมต่อไป

ปริมาณการจัดหาเท่าไรจึงจะเหมาะสมการจัดซื้อยาของ สปสช.มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นดำเนินการแก้ไขปัญหาการเข้าถึงยาของประชาชน โดยไม่ก่อให้เกิดการผูกขาดตลาด โดยมีมูลค่าปีละประมาณ 7,000 ล้านบาทคิดเป็นวงเงินประมาณเพียงร้อยละ 4.9 ของมูลค่าการจัดซื้อยาทั้งประเทศเท่านั้น ส่วนงบประมาณอีก 95% ของทั้งหมด หรือมากกว่าหนึ่งแสนล้านบาทนั้น จะถูกส่งตรงไปให้โรงพยาบาลด้วยระบบเหมาจ่ายรายหัวในกรณีผู้ป่วยใน โดยสำนักงานจะจ่ายเป็นเงินไปให้แก่โรงพยาบาล ซึ่งโรงพยาบาลสามารถนำเงินดังกล่าวไปจัดซื้อจัดหายาเพื่อใช้ในการบริการให้แก่ผู้ป่วยได้ตามระเบียบของแต่ละโรงพยาบาลต่อไป

ข้อดี/ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดซื้อจัดหายาของ สปสช.อย่างไรก็ตาม แม้กระบวนการจัดหายาจำเป็นจะคิดมาอย่างรอบคอบ แต่เป็นระบบที่มีผู้เกี่ยวข้องหลายภาคส่วน โดยมี สปสช.ทำหน้าที่ประสานความร่วมมือในการเกิดการทำงาน และมีองค์กรเภสัชกรรมรับผิดชอบดำเนินการจัดหาและกระจายยาโดยที่ผ่านมามีหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงผลดีที่เกิดขึ้นเป็นที่น่าพอใจหลายด้าน ดังต่อไปนี้1.สามารถต่อรองและลดราคายาจำเป็นที่มีราคาแพงได้มากกว่าร้อยละ 50-80 เมื่อเทียบกับราคาในท้องตลาด ประหยัดงบประมาณกว่า 2.4 หมื่นล้านบาทในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ทำให้ผู้ป่วย
เพิ่มการเข้าถึงยาจำเป็นที่มีราคาแพงในภาวะงบประมาณที่จำกัดได้มากขึ้น

2.สามารถเพิ่มชุดสิทธิประโยชน์ขอยาและวัคซีนในระบบหลักประกันสุขภาพ จากงบประมาณที่ประหยัดได้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีการเพิ่มยาในกลุ่มยาจำเป็น กลุ่มยาบัญชียา จ (2) กว่า 21 รายการ และเพิ่มวัคซีนใหม่ในชุดสิทธิประโยชน์กว่า 5 รายการ

3.สามารถเพิ่มการเข้าถึงยาในผู้ป่วย โดยสามารถเพิ่มการเข้าถึงยาต้านไวรัสเอชไอวี ซึ่งมีราคาแพงกว่า 2 แสนราย และเพิ่มการเข้าถึงยากลุ่มยาบัญชียา จ (2) ทำให้มีผู้ป่วยเข้าถึงยากว่า 4.2 หมื่นราย และมีผู้ป่วยเข้าถึงยาทั้ง2 โครงการข้างต้น เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 10 ทุกปี ผู้ป่วยโรคไตเข้าถึงบริการล้างไตทางหน้าท้องปีละไม่ตํ่ากว่า 17,000 ราย ทั้งยังสามารถรักษาความครอบคลุมวัคซีนได้ในระดับสูงมากกว่าร้อยละ 90 อย่างต่อเนื่องอีกด้วย

4. สร้างความมั่นคงทางด้านสุขภาพจากการมียาจำเป็นใช้ในประเทศ โดยเฉพาะยากลุ่มยากำพร้า และยาต้านพิษจากอดีตที่ไม่มียานี้ในประเทศไทยจนส่งเสริมให้เกิดการผลิตยากำพร้าหลายรายการในประเทศ ภายใต้ความร่วมมือจาก
สถานเสาวภา สภากาชาดไทย จนไทยเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สามารถผลิตยากำพร้าใช้เองในประเทศ ช่วยเพิ่มผู้ป่วยรอดชีวิตมากว่า 17,000 ราย ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา

สรุปกระบวนการทำงานของ สปสช.
กล่าวโดยสรุปคือ การดำเนินการจัดหายา เวชภัณฑ์และเครื่องมือทางการแพทย์ ในระดับประเทศโดย สปสช. เป็นระบบที่มีผู้เกี่ยวข้องหลายภาคส่วนเข้ามาร่วมดำเนินงาน ตั้งแต่ขั้นตอนของการกำหนดปัญหา ความต้องการ การจัดสรรงบประมาณ การกำหนดคุณลักษณาเฉพาะของพัสดุ สปสช. ทำหน้าที่ในการประสานความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน และมอบหมายให้องค์การเภสัชกรรมเป็นผู้จัดหาและกระจาย ซึ่งจากผลดำเนินงานที่ผ่านมามีหลักฐานประจักษ์ให้ผลดีหลายด้าน โดยเฉพาะการลดงบประมาณลง แต่เพิ่มการเข้าถึงยามากขึ้น มีระบบการขนส่งยาที่เหมาะสมถึงแม้จะเป็นการส่งไปยังพื้นที่ห่างไกล ลดภาระหน่วยบริการในการจัดหาและสำรองยาฯลฯ

กระบวนการดังกล่าวมานี้ จึงนับเป็นการเพิ่มการเข้าถึงบริหารสาธารณสุขของประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าภายใต้งบประมาณที่จำกัดที่ทำให้ประชาชนเข้าถึงยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันก็สามารถป้องกันการล้มละลายของทั้งประชาชนและหน่วยบริการ ที่เห็นผลในเชิงประจักษ์และพิสูจน์ได้โดยง่ายดังผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1 เชียงใหม่ ติดตามรายการ “สุขถ้วนหน้ากับหลักประกันสุขภาพ” ทางคลื่นวิทยุ สวท.เชียงใหม่ FM 93.75 Mhz. ทุกวันจันทร์ เวลา 11.15 น. ถึง 12.00 น.

ร่วมแสดงความคิดเห็น