รายพิเศษ…วิกฤติขยะเมือง ร่วมคิดร่วมแก้

คุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมวันนี้ นอกจากเผชิญสุข-ทุกข์จากวังวนเศรษฐกิจแล้ว ยังต้องเสี่ยงภัยกับหลายปัญหาที่อาจเกิดขึ้น

โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นคุณภาพอากาศ , น้ำ , ขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย , สารพิษและสารอันตรายที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เป็นต้น

ปัจจุบันคนไทยผลิตขยะวันละ 43.8 ล้านกิโล ปริมาณขยะในไทยเฉลี่ยปีละ 26-27 ล้านตัน นั่นคือในหนึ่งวัน จะมีขยะเกิดขึ้นทั่วไทยสูงถึงวันละ 4-5หมื่นตัน เฉพาะเขต”นครเชียงใหม่” จะมีขยะวันละ 300 ตัน  ส่วนเมืองพัทยา ขยะมีสูงถึงวันละ 18,000 ตัน ส่วนกรุงเทพฯวันละ 10,000 ตัน  บรรดาเมืองศูนย์กลางความเจริญในส่วนภูมิภาค ยังคงประสบปัญหาขยะมูลฝอยเหลือตกค้างจากการเก็บ ก่อให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอยกระจัดกระจายอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ
เพราะต้องยอมรับความจริงกันว่า ศักยภาพการจัดเก็บนั้น ทำได้เพียง 80-90 %

เราจึงพบเห็นถุงดำ เศษซากขยะกองสุมเกลื่อนตามเส้นทางสายต่างๆ เฉพาะที่เชียงใหม่ ตามถนนวงแหวนรอบต่างๆ สะท้อนภาพได้เด่นชัดยิ่ง

รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยที่ผ่านๆมา ระบุว่า มีขยะเกิดขึ้นเฉลี่ยวันละ 30.27 ล้านตัน แยกเป็นขยะทั่วไป 27.20 ล้านตัน ซึ่งมีแหล่งกำเนิดจากชุมชน 15.11 ล้านตัน และจากอุตสาหกรรม 12.09 ล้านตัน

และหากเปรียบเทียบปริมาณขยะทั่วไปที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านนั้นมีอัตราเพิ่มขึ้น 0.652 กิโลกรัม/คน/วัน ขณะที่ในการกำจัด 5.28 ล้านตัน เป็นการกำจัดที่ไม่ถูกหลักสุขาภิบาล ,ขยะอันตราย 3.07 ล้านตัน ซึ่งมีแหล่งกำเนิดจากชุมชน 0.70 ล้านตัน และจากอุตสาหกรรม 2.37 ล้านตัน

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่ผ่านการรายงานดังกล่าว ยังไม่นับรวมขยะชุมชนและขยะอันตรายอีกจำนวนมหาศาลที่มีการลับลอบทิ้งตามพื้นที่สาธารณะ หรือตามพื้นที่รกร้างต่างๆ และยังไม่นับรวมขยะที่ถูกนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อมากำจัดในประเทศไทย ซึ่งมีทั้งอุปกรณ์ไอ.ที -คอมพิวเตอร์ นำมาแยกชิ้นจำหน่าย และบรรดาอะไหล่ยานยนต์ประเภทต่างๆ
มีโครงการวิจัยเรื่อง ความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการระบบกำจัดขยะแบบศูนย์รวมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศึกษาและติดตามสถานการณ์ปัญหาการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ภาคเหนือ และศึกษาความเป็นไปได้ในการนำแผนแม่บท นโยบายการจัดการขยะมาใช้ในทางปฏิบัติ

ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่เห็นว่าแนวทางการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดี เพราะช่วยให้เกิดความประหยัดในทุกเรื่อง ทั้งด้านพื้นที่ทิ้งและกำจัดขยะ ด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร ด้านเทคโนโลยีการจัดการขยะ ด้านการบริหารจัดการ ฯลฯ

สอดรับกับแนวคิด แนวทางที่ว่า “ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย” (Polluter Pays Principle หรือ PPP) เพื่อให้ประชาชนตระหนักในหน้าที่ต้องเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะตามปริมาณขยะที่ผลิต

สำหรับ ท้องถิ่น นครเชียงใหม่ และ ท้องถิ่นส่วนใหญ่จะใช้บริการเอกชน รับเหมาจัดเก็บขยะพึ่งพาบ่อขยะที่อำเภอฮอด ของเอกชนรายหนึ่ง ซึ่งจะมีต้นทุนค่าบริหารจัดการตันละ 900 บาท  ท้องถิ่นขนาดเล็กๆ จะมีค่าจ้างเหมาจัดเก็บขยะ ปีละไม่กี่แสนบาท ไปจนถึงล้านเศษๆ

ผู้คนในเขตเมืองจะผลิตขยะมากถึงปีละ 2,200 ล้านตันภายในปี 2568 เพิ่มขึ้นร้อยละ 70 จากปัจจุบันที่ผลิตปีละ 1,300 ล้านตัน ค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะจะสูงถึงปีละ 11.62 ล้านล้านบาท

เชียงใหม่หนึ่งคนจะผลิตขยะจำนวน 2.12 กิโลกรัมต่อวัน มากกว่าคนกรุงเทพฯและทุกจังหวัดทั่วทั่วประเทศ ไม่นับรวมช่วงเทศกาล ทำให้ท้องถิ่นต้องใช้งบประมาณมากกว่า 200 ล้านบาทเพื่อกำจัดขยะ 

ปริมาณผู้คนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ราวๆ 5 -6 แสนคนผลิตน้ำเสียวันละ 100 ล้านลิตร 1 ปีผลิตน้ำเสียปีละ 36,500 ล้านลิตร ทำให้ต้องเสียเงินค่าบำบัดน้ำเสียเป็นจำนวนมาก

กรรมวิธี จัดการขยะนั้น ต้องปรับปรุงวิธีการจัดการขยะและนำขยะมาหมุนเวียนใช้ใหม่เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลำพังการโยนขยะทิ้งเพียงอย่างเดียวไม่ใช่วิธีที่ใช้ได้อีกแล้ว

ชุมชนเมือง ล้วนตระหนักถึงภัยเงียบจากขยะชุมชนที่เริ่มคุกคาม วิถีความเป็นอยู่ กรรมวิธีการฝังกลบ หลายแหล่งได้ส่งผลกระทบต่อชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง

เช่นบ่อขยะ ในพื้นที่แม่ริม เชียงใหม่ ที่ชาวบ้าน ประท้วงการนำขยะจากนอกพื้นที่ และในพื้นที่ ลักลอบมาฝังกลบ จนสั่งสมปริมาณมาก และเกิดการเน่าเหม็น ส่งกลิ่นกระทบต่อชุมชนใกล้เคียง

“ขยะ” ปัญหาที่มาพร้อมกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 

ปัจจุบันในแต่ละชุมชน ในเขตรับผิดชอบของท้องถิ่น อาจมีรูปแบบการจัดการขยะที่แตกต่างกันไป อาจเสียค่าใช้จ่ายครัวเรือนละ 40-50 บาทต่อเดือน เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บขยะของเทศบาลฯ, อบต., บางชุมชนอาจซื้อถุงดำ ในอัตรา 5-10 บาท บรรจุขยะ และนำมาวางไว้ตามจุดกำหนดในแต่ละวันนัดหมายของท้องถิ่นที่มีการว่าจ้างเอกชนรับเหมาจัดการขยะ

การบริหารจัดการระบบกำจัดขยะแบบศูนย์รวมเป็นแนวคิดที่ดี การจัดการขยะ…ของเสียนั้นเป็นอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องดำเนินการ

ผลการศึกษาในพื้นที่องค์กรปกครองท้องถิ่นหลายแห่ง พบว่า เกือบทุกแห่งไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะให้การบริการด้านการกำจัดของเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เนื่องจากต้นทุนในการดำเนินการสูง จึงเป็นปมปัญหาที่ก่อเดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้น ตามชุมชน เป็นสาเหตุของปัญหามลพิษ เป็นต้นตอของการนำถุงดำ บรรจุขยะไปทิ้งตามป่าละเมาะ ตามถนนวงแหวน เส้นทางต่างๆที่มีชุมชน โครงการจัดสรรเกิดขึ้นหนาแน่น

ร่วมใจคัดแยกขยะ คุณภาพชีวิตที่ดี มลพิษไม่มี ต้องร่วมสร้างสังคมปลอดมลพิษ

ร่วมแสดงความคิดเห็น