สพม.34 อบรมพัฒนาครูเชิงพื้นที่ด้วยการวิจัยเป็นฐาน

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 จัดอบรมโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเชิงพื้นที่ด้วยการวิจัยและพัฒนาเป็นฐาน ให้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนทุกโรงเรียน ข้าราชการครูกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ จำนวน 92คน ณ ณ ห้องประชุม 40 ปี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ก่อนดำเนินการอบรมโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเชิงพื้นที่ด้วยการวิจัยและพัฒนาเป็นฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 โดย ดร.สิทธิชัย มูลเขียน ผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34พร้อมด้วย นายเจดีย์ เดชพันธ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาข้าราชการครู กับ รศ.ดร.เกียรติสุดา ศรีสุข) คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ นางสาววอนงค์ ปันทะโชติ หัวหน้าบริการวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 เชิงพื้นที่ด้วยการวิจัยเป็นฐาน โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้(Professional Learning Community : PLC ) และการสร้างระบบพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring)

ต่อจากนั้น เป็นพิธีเปิดการอบรมโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเชิงพื้นที่ด้วยการวิจัยและพัฒนาเป็นฐาน โดย นายเจดีย์ เดชพันธ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 กล่าวรายงาน การอบรมโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเชิงพื้นที่ด้วยการวิจัยและพัฒนาเป็นฐาน ได้จัดขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้กำหนดยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษา 6 ด้าน ได้แก่ 1) การพัฒนาหลักสูตรกระบวนการเรียนการสอนและการวัดประเมินผล 2) การผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา 3) การผลิตและพัฒนากำลังคนรวมทั้งงานวิจัยที่สอดคล้องกับการต้องการพัฒนาประเทศ

4) การขยายโอกาสการเข้าถึงการบริการทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต 5) ส่งเสริมพัฒนา ICT เพื่อการศึกษา และ 6) พัฒนาระบบการบริหารจัดการและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการศึกษา รวมทั้งนโยบายสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ 11 ด้าน ประกอบด้วย 1) โอกาสและคุณภาพ 2)การพัฒนาศักยภาพครู 3)การวางแผนอัตรากำลังครู 4) การฝึกคิด วิเคราะห์ 5)STEM Education 6) ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 7) การสอบ O-NET ?? การผลิตกำลังคน 9) ผลิตคนดีสู่สังคม 10) ซ่อมบ้านพักครูให้แล้วเสร็จทั้งหมด และ 11) การแก้ปัญหาทุจริตและประพฤติมิชอบ และนโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี พ.ศ.2560 ในด้านครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องการพัฒนาครูให้สามารถจัดการศึกษาได้อย่างเต็มศักยภาพอันนำสู่คุณภาพของผู้เรียนโดยแท้จริงดร.สิทธิชัย มูลเขียน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 ประธานพิธีเปิดการอบรม โครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเชิงพื้นที่ด้วยการวิจัยและพัฒนาเป็นฐาน กล่าวว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาครูเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล สอดรับกันนโยบายจุดเน้น 6 ยุทธศาสตร์สำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ สนองต่อนโยบายเร่งด่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสอดคล้องกับสภาพปัญหาและเป็นไปตามความต้องการของครูและบุคลากรทางการศึกษาเชิงพื้นที่ ตลอดจนการส่งเสริมให้ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสามารถดึงศักยภาพตอนเองมาใช้ในการจัดการศึกษาได้สูงสุดในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอันนำไปสู่คุณภาพของผู้เรียนซึ่งในการดำเนินโครงการ ฯ ได้ดำเนินการร่วมมือกับคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดทำโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเชิงพื้นที่ด้วยการวิจัยและพัฒนาเป็นฐาน ในรูปแบบการพัฒนาด้วยระบบพี่เลี้ยง Coaching andMentoring ด้วยแนวคิดการพัฒนานวัตกรรมด้วยการวิจัยเป็นและการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 เชิงพื้นที่ด้วยการวิจัยและพัฒนาเป็นฐาน โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้(Professional Learning Community : PLC ) และการสร้างระบบพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) เพื่อพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 ด้วยการวิจัยและพัฒนาเป็นฐาน โอกาสนี้ ได้รับเกียรติจาก รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 ผู้อำนวยการกลุ่ม ร่วมพิธีเปิดอบรมโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเชิงพื้นที่ด้วยการวิจัยและพัฒนาเป็นฐาน และขอขอบคุณคณะวิทยากรจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การอบรมในครั้งนี้ เป็นการบรรยายและการฝึกทักษะนวัตกรรมการเรียนรู้และศาสตร์การสอนแนวใหม่ ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ 5 กลุ่มสาระ โดยแบ่งกลุ่มกลุ่มปฏิบัติตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่ม คณิตศาสตร์ กลุ่มวิทยาศาสตร์กลุ่มผู้อำนวยการโรงเรียน เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง

ร่วมแสดงความคิดเห็น