วิกฤติคลองแม่ข่า ต้องร่วมมือแก้ไข

คลองแม่ข่า เป็น 1 ในมงคล 7 ประการของการสร้างเมืองเชียงใหม่
อดีตที่เคยยิ่งใหญ่ของคลองในวันนี้ บางช่วงมีสภาพไม่ต่างจากคู ร่องระบายน้ำ
เป็นเวลาร่วม 2 ทศวรรษ ที่หลายภาคส่วนทั้งหน่วยงานราชการ ภาคประชาสังคม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตื่นตัวเร่งแก้วิกฤติ ปัญหาการรุกล้ำ 2 ฝั่งคลอง การใช้คลองเป็นที่ระบายน้ำจากครัวเรือนและสถานที่ทิ้งขยะ
รวมถึงประโยชน์อื่นๆ นานัปประการ ?
จากการสำรวจพื้นที่คลองแม่ข่าของ..ส่วนน้ำเสียชุมชน สำนักจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
ตลอดระยะทางประมาณ 26 กิโลเมตร ผลสำรวจระบุคุณภาพน้ำในคลองแม่ข่า อยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมหนัก ไม่ได้เกณฑ์ตามมาตรฐานแหล่งน้ำผิวดิน ค่าออกซิเจนละลายน้ำ ไม่สามารถให้สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ได้ นอกจากแบคทีเรีย

0…คลองแม่ข่า…หลากมุมในวันนี้
ผลสำรวจยังชี้ชัดว่าการระบายน้ำเสียจากครัวเรือนลงสู่คลองแม่ข่า คือต้นตอที่ทำให้น้ำเน่า
เป็นปมที่คณะทำงานฯ แก้ไขปัญหาคลองแม่ข่า เกือบทุกยุคสมัย ตระหนักดีว่า หากไม่สามารถจัดการปัญหาการนี้ได้ คลองแม่ข่า ก็จะยังคงเป็นเพียง ทางระบายน้ำเน่าเสีย สถานที่ทิ้งขยะ และแหล่งปลูกวัชพืชเท่านั้น
7 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นเทศบาลตำบลช้างเผือก, เทศบาลเมืองแม่เหียะ, เทศบาลตำบลสุเทพ เทศบาลนครเชียงใหม่ , เทศบาลตำบลป่าแดด,เทศบาลตำบลสันผักหวาน,อบต.สบแม่ข่า

 

0…เทศบาลนครเชียงใหม่ขุดลอกคลองแม่ข่า-กำจัดวัชพืช ผักตบชวาและขยะ
ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ ต้องใส่ใจ ทุ่มเท ร่วมแก้วิกฤติคลองแม่ข่า

0..ชาตรี เชื้อมโนชาญ รองนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่และณัฐฐ์ชูเดช วิริยะดิลกธรรม รองนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ได้รับมอบหมายจากคณะผู้บริหาร เร่งดำเนินการจัดการปัญหาคลองแม่ข่าในพื้นที่รับผิดชอบร่วมกับภาคส่วนต่างๆอย่างต่อเนื่อง
หลากหลายความคิดเห็นและแนวทางนำเสนอเพื่อแก้ปัญหา คลองแม่ข่า จนถึงขั้นแนะนำให้ถมคลองเป็นถนน หรือ ปรับเป็นทางระบายน้ำเสียของเมืองก็สิ้นเรื่อง
เพราะเมื่อใดที่จุดพลุ แก้ปัญหา ก็มักจะวนย้อนกลับมาที่ต้นตอวิกฤติเช่นเดิม

0..ภาพร่างในความฝัน..สู่เป้าหมาย..แม่ข่า น้ำใส…ไร้มลพิษ..ชีวิตริมคลองน่าอยู่ น่าสัมผัส
“น้ำเน่าเสีย” จะแก้ไขด้วยวิธีการใด
” ขยะ” จะมีมาตรการ อย่างไรไม่ให้มีการลักลอบทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูล สิ่งโสโครก ลงคลองแม่ข่า
และที่น่าจะเป็นปมคาใจชาวเชียงใหม่ คือ เหตุใด การรุกล้ำ การถมคลอง เพื่อกิจการ ประโยชน์อื่นใด จึงไม่สามารถใช้มาตรการทางกฎหมายดำเนินการได้


หากพลิกกฎระเบียบ แค่กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 55 ( พ.ศ.2543) ข้อ 42 จะพบว่ามีการกำหนดระยะร่นของแนวอาคารที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงใกล้แหล่งน้ำสาธารณะ เช่น แม่น้ำ คู คลอง ลำราง หรือลำกระโดง
ถ้าแหล่งน้ำสาธารณะนั้นมีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ต้องร่นแนวอาคารให้ห่างจากเขตแหล่งน้ำสาธารณะนั้นไม่น้อยกว่า 3 เมตร
แต่ถ้าแหล่งน้ำสาธารณะนั้นมีความกว้างตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป ต้องร่นแนวอาคารให้ห่างจากเขตแหล่งน้ำสาธารณะนั้นไม่น้อยกว่า 6 เมตร ”
กำหนดโทษชัดเจนว่า หน่วยงานใด ต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง
กฎกติกา ในบ้านเรา มีเงื่อนปม อนุโลม ผ่อนผัน ตาม เงื่อนไข หลักเกณฑ์ต่างๆให้พิจารณา
แต่เท่าที่ คณะทำงานทั้งของภาครัฐฯ-ภาคประชาสังคม ร่วมตรวจสอบพบเห็น
ยืนยันว่า ” จิตสำนึก การมีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหา…ของทุกๆคน”
จะนำพา คลองแม่ข่า พ้นจาก..กรอบปัญหาเดิมๆไปสู่..เป้าหมายที่วาดหวังได้แน่
แต่อย่าลืม..เรื่องสิ่งแวดล้อม ต้องใจเย็นๆ ไม่เห็นผลในชาตินี้
ชาติหน้า..ก็คงได้เห็นผลกัน..ชัวร์!!!

ร่วมแสดงความคิดเห็น