คณะแพทยศาสตร์ มช. จัดกิจกรรมวันปัสสาวะรดที่นอนโลก

คณะแพทยศาสตร์ มช. จัดกิจกรรมวันปัสสาวะรดที่นอนโลก เพื่อให้ความรู้แก่ผู้สนใจ เรื่องภาวะปัสสาวะรดที่นอน และให้ประชาชนทั่วไปมีการตื่นตัว และตระหนักถึงความสำคัญของการไปพบแพทย์และรับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่เหมาะสม ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2560 ตั้งแต่เวลา 8.30–11.30 น. ณ บริเวณห้องโถง ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระบารมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี ศ.นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช. เป็นประธานในพิธี

ผศ.นพ.พิษณุ มหาวงศ์ อาจารย์ประจำหน่วยศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ ภาควิชาศัลยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ปัสสาวะรดที่นอน เป็นภาวะที่ปัสสาวะในขณะนอนหลับในเด็กที่อายุมากกว่า 5 ขวบขึ้นไป โดยมีรายงานอุบัติการณ์ในประเทศไทยที่ร้อยละ 15-18 ในเด็กอายุระหว่าง 5-15 ปี สาเหตุของโรคปัสสาวะรดที่นอนที่พบบ่อยคือ ปริมาณปัสสาวะมากตอนกลางคืน ความผิดปกติของการทำงานของกระเพาะปัสสาวะและหูรูด ความผิดปกติในพฤติกรรมและพัฒนาการ ภาวะปัสสาวะรดที่นอนมีผลกระทบทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า ปัญหาครอบครัว การเรียน การเข้าสังคม และคุณภาพชีวิตได้ การวินิจฉัยและการดูแลรักษาปัสสาวะรดที่นอนต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างแพทย์สหสาขา อาทิ ศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะเด็ก จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น และกุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม เป็นต้น และที่สำคัญต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองและเด็กด้วย เนื่องจากการปัสสาวะรดที่นอนมีความสำคัญในทางการแพทย์มากจึงมีการกำหนดให้วันที่ 30 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น “วันปัสสาวะรดที่นอนโลก” (World Bedwetting Day) โดย International Children’s Continence Society (ICCS) และ European Society for Pediatric Urology (ESPU) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ปกครองและเด็กตระหนักถึงความสำคัญและเข้าถึงการรักษาภาวะปัสสาวะรดที่นอนต่อไป

การวินิจฉัยปัสสาวะรดที่นอน แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจปัสสาวะ และขอให้ผู้ปกครองหรือเด็กทำการจดบันทึกการดื่มน้ำและการปัสสาวะติดต่อกัน 3 วัน หากจำเป็นอาจมีการตรวจอื่นๆ เพิ่มเติม

การรักษาโดยการให้ความรู้และความเข้าใจ แพทย์จะอธิบายให้ผู้ปกครองและเด็กทราบถึงการปัสาวะที่ปกติ และการปัสสาวะรถที่นอน ให้กำลังใจ และสร้างแรงจูงใจในการรักษาร่วมกัน ไม่ควรตำหนิหรือลงโทษเด็ก

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดอาหารกลางวันและอาหารเย็นที่มีแคลเซียมและโซเตียมสูง ลดการดื่มน้ำก่อนนอน ฝึกการปัสสาวะเป็นเวลาปัสสาวะเป็นเวลาก่อนนอน ดูแลการขับถ่ายอุจจาระให้เป็นปกติ

การตั้งปลุกให้เด็กลุกขึ้นปัสสาวะ เป็นการใช้อุปกรณ์สัญญาปลุก (enuresis alarm) เป็นอุปกรณ์พิเศษโดยจะทำการปลุกด้วยเสียงเมื่อเครื่องรับรู้ว่ามีการปัสสาวะรถที่นอนที่ติดไว้ในผ้าอ้อมหรือกางเกงใน ทานยาลดปรมาณน้ำปัสสาวะในตอนกลางคืน ใช้รักษาในผู้ป่วยที่มีปริมาณน้ำปัสสาวะมาในตอนกลางคืน ดัวยาคือ desmopressin (DDAVP) มีทั้งในรูปขอยากินและยาพ่นจมูก่อนนอน ผู้ป่วยต้องจำกัดน้ำดื่มก่อนนอนร่วมด้วย

นอกจากนี้การรักษาปัสสาวะรถที่่นอน ทานยารักษาภาวะซึมเศร้าง ใช้รักษาเมื่อได้ผลจากยาทั้ง 2 ชนิดข้างต้นเป็นยาในกลุ่ม tricyclic antidepressant ออกฤทธิ์ลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะและคลายกล้ามเนื้อ อาจมีผลข้างเคียงรุนแรงต่อหัวใจได้ การรักษาทางเลือกอื่นๆ อาทิเช่น การสะกดจิต ฝังเข็ม จัดกระดูก และสมุนไพร.

ร่วมแสดงความคิดเห็น