สปสช.ระดมสมอง รับฟังความคิดเห็น เพื่อพัฒนาระบบหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2560

สำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1 เชียงใหม่ จัดเวทีการนำเสนอผลการรับฟังความคิดเห็น เพื่อพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2560 ภายใต้ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ตามมาตรา 18(13) ณ ห้องประชุม โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง เชียงใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก นพ.จรัล ตฤณวุฒิ พงษ์ คณะกรรม การหลักประกันสุขภาพแห่งาติ และประธานคณะอนุกรรมการ ด้านสื่อสารสังคมและรับฟังความเห็น ฯเป็นประธานเปิดเวที ในครั้งนี้

นพ.จรัล ตฤณวุมิพงษ์ เปิดเผยว่า สปสช.เขต 1 ได้ดำเนินการระดมความคิดเห็นกับผู้ได้เสีย ด้านหลักประกันสุขภาพ ภายใต้กฏหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ยังมีบางส่วนบางประเด็นและยังต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขและเพิ่มข้อเสนอ ที่ยังเป็นปัญหาต่อประชาชนในพื้นที่เขตเมือง กลุ่มชาติพันธ์ุ เขตบริการสุขภาพที่ 1 ประกอบด้วย จ.เชียงใหม่ แพร่ น่าน พะเยา ลำพูน ลำปาง เชียงราย และแม่ฮ่องสอน เป้าหมายร่วมเวทีแสดงความคิดเห็นในวันนี้ประกอบด้วย

กลุ่มผู้ให้บริการ กลุ่มผู้รับบริการ กลุ่มเครือข่ายภาคประชาชน เครือข่ายผู้สูงอายุ กลุ่มพระสงฆ์ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มท้องถิ่น กลุ่มเยาวชน เครือข่ายสื่อสารมวลชน อนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขตพื้นที่ และคณะอนุกรรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขระดับเขต

จากการที่ สปสช.ได้มีกระบวนการในการรับฟังมาระยะหนึ่ง ไม่ว่าจะในพื้นที่ของแต่ละจังหวัด โดยได้เตรียมดำเนินการในพื้นที่รับฟังความคิดเห็นจากเขตอำเภอ จังหวัดในบางกลุ่ม และได้ทำการสำรวจตามแบบสอบถามที่เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนด้านสำรวจข้อมูล แบบแสดงความคิดเห็นการเข้าถึงข้อมูล หลักประกันสุขภาพ สปสช. ได้นำข้อมูลมาประเมินผล ด้านการเข้าถึงหลักประกันสุขภาพ และการเข้าถึงการรับบริการสุขภาพและสิทธิการเข้าถึง ประชาชน แต่ยังไม่ครอบคลุมได้ และยังมีทั้งผลดี-ผลเสีย คณะทำงานการดำเนินงาน ได้มีคณะสหวิชาชีพเข้าร่วมดำเนินการวิเคาระห์แปลผล และรวบรวมนำเสนอต่อเวทีดังกล่าว และมีประเด็นเพิ่มเติมที่นำเสนอ บนเวที 5 ประเด็นคือ

1.สุขภาวะเขตเมือง มีข้อเสนอ 10 ประเด็น
2.กลุ่มชาติพันธุ์มีข้อเสนอ 9 ประเด็น การกำหนดสิทธิด้านสุขภาพชาติพันธุ์
3. กองทุนท้องถิ่น มีข้อเสนอ 3 ประเด็น
4.ข้อเสนออื่นๆ 7 ประเด็น ตามข้อบังคมและมีประเด็นเพิ่มเติมที่นำเสนอเวที 5 กลุ่ม

1. สุขภาวะเขตเมือง
2.กลุ่มชาติพันธุ์การเข้าถึงสิทธิ
3.ระบบบริการ
4.กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น หรือพื้นที่ 3 ข้อเสนอ
5.การมีส่วนร่วมของประชาชน 3 ข้อเสนอ
6.การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ 3 ข้อเสนอ
7.อื่นๆ ประเด็นเพิ่มการประสานความร่วมมือ และการสื่อสารกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง

ร่วมแสดงความคิดเห็น