แนะสูตรป้องกันศัตรูพืช ระบาดในแปลงปลูกข้าว

กรมการข้าว แจ้งว่า จากการติดตามสถานการณ์ศัตรูข้าวในแปลงนาพื้นที่ภาคเหนือ ของกรมฯช่วงที่ผ่านมา
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล พบตัวเต็มวัยที่นับได้จากกับดักแสงไฟในศูนย์วิจัยข้าวและในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวมีปริมาณเล็กน้อย
สภาพอากาศที่จะเหมาะสมกับการระบาดโดยเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ,โรคไหม้ข้าว จะเป็นแปลงนาที่ปลูกข้าวพันธุ์อ่อนแอ ปลูกแน่นและใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงซึ่งสอดคล้องกับรายงานการระบาดของกรมส่งเสริมการเกษตร
มีข้อแนะว่าในกรณีที่พบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมีปริมาณน้อยกว่า 10 ตัว/กอ หรือยังไม่เกิดการระบาด สามารถใช้ เชื้อราบิวเวอเรียควบคุมการระบาด แต่ในกรณีที่เกิดการระบาด โดยพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลปริมาณ 10 ตัว/กอ หรือมากกว่า ควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด


สำหรับสารป้องกันกำจัดแมลงที่สามารถใช้ในการควบคุมการระบาด ให้เลือกใช้ตามอายุของข้าว เช่นกรณีข้าวอายุ 61-80 วัน พบตัวอ่อนสีน้ำตาล และตัวเต็มวัยชนิดปีกสั้น จำนวนมากกว่า 1 ตัว/ต้น ให้ใช้สารป้องกันกำจัดแมลง ได้แก่ ไพรมิโทซิน 50% ดับบลิวจี อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไดโนทีฟูแรน 10% ดับบลิวพี อัตรา 15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์โบซัลเฟน 20% อีซี อัตรา 110 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร เลือกใช้เพียงชนิดใดชนิดหนึ่ง
กรณีที่เกิดการระบาดอย่างรุนแรง หรือพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสูงกว่าค่าวิกฤติ ( 50,000 ตัวต่อวัน) สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงที่สามารถใช้ใน การควบคุมการระบาด คือ สารไพรมิโทซิน 50% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร (เมื่อพบจำนวนมวนเขียวดูดไข่มาก) และสารซัลฟอกซาฟอร์ 50% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 12 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร (เมื่อพบจำนวนมวนเขียวดูดไข่น้อย)
ทั้งนี้โรคไหม้ สภาพอากาศในสัปดาห์หน้าค่อนข้างเหมาะสมกับการระบาดในทุกภาค ควรสำรวจติดตามในพื้นที่ที่มีการปลูกข้าวพันธุ์อ่อนแอต่อโรค เช่น พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105, กข15, กข6. และพันธุ์พื้นเมืองอื่นๆ แปลงที่ปลูกข้าวแน่น และใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูง

ร่วมแสดงความคิดเห็น