ชลประทานเชียงใหม่ยัน แผนจัดการน้ำฝนนี้ฉลุย

นายเกื้อกูล มานะสัมพันธ์สกุล โครงการชลประทานเชียงใหม่ ระบุว่าแผนการบริหารจัดการน้ำในฤดูฝน ปี2560 ของพื้นที่ลุ่มน้ำปิงตอนบนปริมาณน้ำในเขื่อนแม่งัด ความจุเขื่อน 265 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีน้ำ 84.18 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 31.76 ของความจุเขื่อนสามารถรับน้ำได้อีก 180 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำในเขื่อนแม่กวงอุ ความจุเขื่อน 263 ล้าน ลบ.ม.ปัจจุบันมีน้ำ 40.13 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 15.26 ของความจุเขื่อน สามารถรับน้ำได้อีก 223 ล้านลบ.ม. ภาพรวมปริมาณน้ำในอ่างขนาดกลาง 12 แห่ง ความจุรวม 86.657 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีน้ำ35.24 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 40.60 ของความจุเขื่อน สามารถรับน้ำได้อีก 51 ล้าน ลบ.ม.
ภาพรวมปริมาณน้ำในอ่างขนาดเล็ก 115 แห่ง น้ำต้นทุนรวม 141.519 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีน้ำ 64.01 ล้าน ลบ.
ม. คิดเป็นร้อยละ 45.23 ของความจุเขื่อน สามารถรับน้ำได้อีก 77 ล้าน ลบ.ม.สถานการณ์ปกติมีการตรวจสภาพอาคาร สิ่งกีดขวางการไหลของน้ำ ให้มีความพร้อมต่อการระบายน้ำหากมีฝนตกหนักในพื้นที่ รวมถึงการจัดตั้งศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำในระดับอำเภอ จังหวัด เพื่อประสานการปฏิบัติกับส่วนราชการ รวมถึง ศูนย์อำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของจังหวัด
นอกจากนั้นยังมีการปฏิบัติการเตรียมความพร้อมและติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ กำลังพล ยานพาหนะ จัดทำแผนที่เฝ้าระวัง แสดงทิศทางการไหลของน้ำจุดติดตั้ง เครื่องสูบน้ำในพื้นที่สำคัญ พื้นที่เสี่ยงเป็นรูปแบบเดียวกันทุกหน่วยงาน ขุดลอก เปิดทางสิ่งกีดขวางทางน้ำร่วมกับหน่วยงาน เช่นมณฑลทหารบกที่ 33 สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ เทศบาลนครเชียงใหม่ ปัจจุบันพื้นที่จุดเสี่ยงที่สำคัญได้รับการแก้ไขให้มีประสิทธิภาพการระบายน้ำดีขึ้น


อย่างไรก็ตามในวันนี้ นายวิทย์ วงษ์กมลชุณห์ ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 1 พร้อมด้วยนายวงศ์พันธ์ วงศ์สมุทร หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรม สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ นำสื่อมวลชนเยี่ยมชมการดำเนินการก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำช่วงแม่งัด-แม่กวง โครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันมีความก้าวหน้าประมาณร้อยละ 14


ทั้งนี้ การดำเนินงานโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ประกอบด้วย 1.ประตูระบายน้ำแม่ตะมาน 2.อุโมงค์ส่งน้ำช่วงแม่แตง-แม่งัด(อยู่ระหว่างดำเนินการ) 3.อุโมงค์ส่งน้ำช่วงแม่งัด-แม่กวง (อยู่ระหว่างดำเนินการ) 4.ระบบท่อส่งน้ำแม่งัด-แม่แตง เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จทั้งโครงการจะสามารถเพิ่มน้ำต้นทุนเฉลี่ยปีละ 160 ล้านลูกบาศก์เมตร บรรเทาปัญหาอุทกภัย เพิ่มเสถียรภาพการส่งน้ำช่วงฤดูฝน เพิ่มพื้นที่การเกษตรในฤดูแล้ง จำนวน 76,129 ไร่ เพื่อการบริหารจัดการในลุ่มน้ำแม่แตง-แม่งัด-แม่กวง ร่วมกันให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด

ร่วมแสดงความคิดเห็น