สาธารณสุข ชม.ชี้แจงกรณีแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ร้อยเอกภูรีวรรธน์  โชคเกิด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึง การแก้ไขพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2545 ว่า ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2560 มีการจัดเวทีประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นจากประชาชน 4 ภาค และเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของพี่น้องประชาชน ตามที่เป็นข่าว รวมถึงเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 กลุ่มตัวแทนผู้ใช้บัตรทองในจังหวัดเชียงใหม่ ยื่นหนังสือถึงรัฐบาลผ่าน ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อขอให้ยุติการแก้ไขกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้น  เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และให้ผู้ใช้บัตรทองจังหวัดเชียงใหม่ คลายความกังวลลง ขอยืนยันว่า เจตนารมณ์ของการแก้ไขพรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติครั้งนี้ แก้ไขที่ระบบบริหารจัดการ เพื่อให้มีความคล่องตัว และสามารถสนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการมากขึ้น ประชาชนจะได้รับประโยชน์จากการแก้ไข พรบ. มากขึ้น ไม่กระทบสิทธิ ไม่ลิดรอนสิทธิใดๆ สำหรับประเด็นที่ผู้ใช้บัตรทองจังหวัดเชียงใหม่ มีความกังวลอยู่ ได้ชี้แจงทำความเข้าใจ ดังนี้  ร้อยเอกภูรีวรรธน์  โชคเกิด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึง การแก้ไขพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2545 ว่า ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2560 มีการจัดเวทีประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นจากประชาชน 4 ภาค และเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของพี่น้องประชาชน ตามที่เป็นข่าว รวมถึงเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 กลุ่มตัวแทนผู้ใช้บัตรทองในจังหวัดเชียงใหม่ ยื่นหนังสือถึงรัฐบาลผ่าน ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อขอให้ยุติการแก้ไขกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้น  เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และให้ผู้ใช้บัตรทองจังหวัดเชียงใหม่ คลายความกังวลลง ขอยืนยันว่า เจตนารมณ์ของการแก้ไขพรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติครั้งนี้ แก้ไขที่ระบบบริหารจัดการ เพื่อให้มีความคล่องตัว และสามารถสนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการมากขึ้น ประชาชนจะได้รับประโยชน์จากการแก้ไข พรบ. มากขึ้น ไม่กระทบสิทธิ ไม่ลิดรอนสิทธิ ใดๆ สำหรับประเด็นที่ผู้ใช้บัตรทองจังหวัดเชียงใหม่ มีความกังวลอยู่ ได้ชี้แจงทำความเข้าใจ ดังนี้
1. ประเด็นความกังวลว่า ประชาชนจะต้องร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาล 30-50 %  ขอชี้แจงว่า ไม่มีการแก้ไข ยังคงตามพรบ. เดิม
2. ประเด็นการขอให้เพิ่มอำนาจแก่ สปสช. ในการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์รวม ซึ่งเดิมทำได้เพียง 4.9% เนื่องจากที่ผ่านมา คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.)  ทักท้วงว่า สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่มีระเบียบรองรับในการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์รวม  ไม่มีการแก้ไข ยังคงตามพรบ. เดิม  ให้มีการจัดซื้อร่วมยา/เวชภัณฑ์/อุปกรณ์การแพทย์ เหมือนเดิม เพียงแต่จะปรับระบบการจัดซื้อยา เพื่อให้เกิดระบบจัดซื้อร่วมที่มีธรรมาภิบาล มีความเท่าเทียมระหว่างสิทธิมากขึ้นและมีประสิทธิภาพ โดยให้มีคณะกรรมการร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีกระทรวงสาธารณสุขเป็นแกนหลักในการประสานงาน เพื่อดำเนินการเรื่องการต่อรองราคา
3.ประเด็นการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และคณะกรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐานบริการสาธารณสุข มีสัดส่วนผู้ให้บริการมากกว่าผู้รับบริการ ข้อเท็จจริงในการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนครั้งนี้ เนื่องจากที่ผ่านมา มีความไม่สมดุลในองค์ประกอบ จำนวนและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ โดยมีข้อทักท้วงจากหน่วยตรวจสอบ ในประเด็นการออกประกาศระเบียบ ว่าสามารถดำเนินการได้หรือไม่ จึงมีการปรับ เพิ่ม ลด ผู้เกี่ยวข้องหลักในด้านต่างๆทั้งภาครัฐ ท้องถิ่น รวมทั้งผู้แทนภาคประชาชนด้วย เพื่อให้มีส่วนร่วมในการบริหารกองทุน รวมทั้งปรับปรุงองค์ประกอบตามบทบาทหน้าที่ ของผู้เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นปัจจุบัน ทำให้เกิดประโยชน์กับประชาชนและการจ่ายเงินชดเชยค่าใช้จ่ายที่เป็นธรรมให้แก่หน่วยบริการ
4.ประเด็นสุดท้ายความกังวลว่า การแยกเงินเดือนออกจากงบรายหัว จะทำให้เกิดปัญหาการกระจุกตัวของบุคลากรในเขตเมือง   ขอเรียนว่าประเภทและจำนวนบุคลากรของหน่วยบริการ ถูกกำหนดโดยกรอบอัตรากำลังคนที่คิดตามภาระงานระดับของโรงพยาบาล ซึ่งถูกกำหนดในระดับประเทศ ทำให้การกระจายตัวของบุคลากรดีขึ้นและเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ  การแก้ไขประเด็นนี้จะทำให้สามารถประเมินความเพียงพอของเงินกองทุนต่อการบริการสาธารณสุขได้ รวมทั้งสะท้อนปัญหาหรือสถานการณ์ทางการเงินที่แท้จริงของหน่วยบริการภาครัฐได้  และยังส่งผลให้มีงบประมาณสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการจัดบริการสาธารณสุขแก่ประชาชนได้อย่างครอบคลุมและมีคุณภาพมากขึ้น   สำหรับเรื่องที่ไม่อยู่ใน 14 ประเด็นหลัก แต่เป็นเรื่องที่ภาคประชาชนให้ความสนใจ และมีความเชื่อมโยงกัน ขอเรียนชี้แจงดังนี้
1) ผู้มีสิทธิบัตรทอง ยังเหมือนเดิม คือ คนไทยทุกคนที่มีเลขประจำตัว 13 หลัก ซึ่งไม่มีสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลจากกฎหมายประกันสังคม หรือสิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ  ไม่มีการแก้ไขประเด็นผู้มีสิทธิแต่อย่างใด
2) โรงพยาบาลรัฐยังคงปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค เหมือนเดิม ซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่โดยตรงของโรงพยาบาล ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องเงินที่ได้รับจัดสรร ทั้งนี้ขยืนยันว่า ประชาชนจะได้รับประโยชน์จากการแก้ไข  พรบ. มากขึ้น  ไม่กระทบสิทธิ  ไม่ลิดรอนสิทธิ ใดๆ

 

 

 

 

ร่วมแสดงความคิดเห็น