ผวจ.เชียงใหม่ นั่งหัวโต๊ะ ประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดแนวทางการบริหารจัดการผลผลิตลำไย ปี 2560

ผวจ.เชียงใหม่ นั่งหัวโต๊ะ ประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดแนวทางการบริหาจัดการผลผลิตลำไย ปี 2560 เพื่อลดปริมาณผลผลิตลำไยไม่ให้ล้นตลาด คาดปีนี้ผลผลิตลำไยออกสู่ตลาด 1.3 แสนตันเมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 18 กรกฎาคม 2560

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 18 กรกฎาคม 2560 นายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือแนวทางการบริหารจัดการผลผลิตลำไย ปี 2560 ที่ ห้องศูนย์ปฏิบัติการจังหวัด อาคารอำนวยการ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ และบริษัทประชารัฐสามัคคีเชียงใหม่
จำกัด ได้ร่วมวางแผนการบริหารจัดการผลผลิตลำไย จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ความร่วมมือของภาครัฐ เอกชน
และกลุ่มผู้ปลูกลำไย เพื่อกระจายผลผลิตลำไยของเกษตรกรออกสู่ตลาดและถึงผู้บริโภคข้อมูลภาพรวมจังหวัดเชียงใหม่ ในปี 2560 มีแหล่งผลิตลำไย ทั้งสิ้น 312,985 ไร่ (254,219 ตัน) แบ่งเป็นลำไยในฤดู  มีพื้นที่ยืนต้น 221,226 ไร่ พื้นที่ให้ผล 205,684 ไร่ และได้ผลผลิต 134,106 ตัน เฉลี่ย 652 กิโลกรัมต่อไร่ และลำไยนอกฤดู มีพื้นที่ยืนต้น 91,759 ไร่ พื้นที่ให้ผล 91,759 ไร่ มีผลผลิต 120,113 ตัน เฉลี่ย 1,309 กิโลกรัมต่อไร่สำหรับ แนวทางการบริหารจัดการผลผลิตลำไย ปี 2560 ความต้องการลำไยในฤดู มีปริมาณ 134,106 ตัน โดยแบ่งเป็นความต้องการแปรรูป 80,463 ตัน คิดเป็นร้อยละ 60 และความต้องการบริโภคสด  53,643 ตัน คิดเป็นร้อยละ 40 ซึ่งจะส่งออกระหว่างตลาดในประเทศ 16,092 ตัน และส่งออกตลาดต่างประเทศ  37,550 ตัน

ในเดือนสิงหาคม 2560 นี้ผลผลิตลำไยจะออกมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 31.39 หรือ เกือบ 80,000 ตัน แต่สิ่งที่น่าห่วง คือ ในช่วงวันที่ 10 – 30 สิงหาคม 2560 จะเป็นช่วงที่ลำไยของทั้งจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูนออกพร้อม ๆ กันทั้งนี้ สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ ได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย คณะกรรมการแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลผลิตทางการเกษตรระดับจังหวัด หรือ คพจ. และบริษัทประชารัฐ รักสามัคคีเชียงใหม่ จำกัด กลุ่มผู้ผลิตลำไยแปลงใหญ่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตและแปรรูปลำไย ร่วมวางแผนบริหารจัดการลำไย เพื่อแก้ไขปัญหาลำไยล้นตลาดและราคาผลผลิตตกต่ำ โดยมีเป้าหมายบริหารจัดการผลผลิตลำไยในฤดูทั้งหมด 134,106 ตัน โดยใช้กลไกตามการตลาดในการซื้อขายปกติ นำลำไยมาแปรรูป ทั้งในรูปแบบของโรงงานกระป๋อง โรงงานการแปรรูปอบแห้ง (อบแห้งทั้งเปลือก / อบแห้งสีทอง) และใช้กลไกกระตุ้นการบริโภคลำไยสด ซึ่งมีทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

 

 

ร่วมแสดงความคิดเห็น