ชลประทานชม.แจงแผน รับวิกฤติน้ำฝนถล่มเมือง

นายเกื้อกูล มานะสัมพันธ์สกุล ในฐานะผู้แทนโครงการชลประทานเชียงใหม่ รายงานการบริหารจัดการน้ำ ในความรับผิดชอบต่อจังหวัดว่าเขื่อนแม่งัดฯ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำ 88.330 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 33.33 ปี 2559 มีปริมาณน้ำ 47.339 คิดเป็นร้อยละ 17.86 สามารถรับน้ำได้อีก 177 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 66.67 สําหรับเขื่อนแม่กวงฯ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำ 45.408 ล้าน ลบ.ม.ร้อยละ 17.27 ปี 2559 มี 33.101 สามารถรับน้ำได้อีก 218 ล้าน ลบ.ม.


เขื่อนแม่กวง-แม่งัด ยังรับน้ำฝนเพิ่มได้อีก
สำหรับ ภาพรวมปริมาณน้ําในอ่างขนาดกลาง 12 แห่ง ความจุรวม 86.657 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบัน 38.674 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 44.63 ปริมาณน้ำใช้การได้ 33.344 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 48 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำในอ่างขนาดเล็ก 115 แห่ง น้ำต้นทุนรวม 141.519 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบัน 74.683 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 52.77 สามารถรับน้ำได้อีก 67 ล้าน ลบ.ม.
ด้าน สถานการณ์อุทกภัย ปี 2560 ปัจจุบันเชียงใหม่ไม่มีพื้นที่ประสบอุทกภัย แต่สํานักงานชลประทานที่ 1 ได้ส่งเครื่องสูบน้ำขนาด 8 นิ้ว 5 เครื่องและรถนาคสูบน้ำ12 นิ้ว 2 คัน พร้อมเจ้าหน้าที่ประจำจุดสูบน้ำบริเวณชุมชนศรีปิงเมือง หมู่บ้านเชียงใหม่แลนด์ พื้นที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่และถนนสายเชียงใหม่-ฮอด กม.47
และยังเตรียมการช่วยเหลือพื้นที่เสี่ยงเกิดอุทกภัย ติดตั้งเครื่องสูบน้ำในเขตรับผิดชอบของชลประทานที่ 1 รวม 54 จุด 68 เครื่อง ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 22 เครื่อง ใน 11 จุด เช่น เครื่องสูบน้ำขนาด 8 นิ้ว 10 จุด 20 เครื่อง แยกแสงตะวัน วัดไชยมงคลหน้าโรงเรียนเรยีนา โรงเรียนมงฟอร์ตประถม ทางลอดใต้สะพานป่าแดด เป็นต้น
หากมีกรณีฝนตกสะสม พื้นที่ใดเสี่ยงต่อการเกิดวิกฤติน้ำท่วมขัง จะมีการเร่งระบาย เริ่งเสริมคันกันน้ำรักษาพื้นที่ชั้นในของเมือง เขตเศรษฐกิจ ถ้าท่วมในเขตราบลุ่มต่ำ จะเร่งสูบน้ำออก และ เตรียมพร่องน้ำในเขื่อน แหล่งกักเก็บหลักๆไม่ให้เกิดน้ำล้นบริเวณกักเก็บ ไหลไปทุกทิศทุกที่จนอาจจะ ส่งผลกระทบต่อพื้นที่เกษตร บ้านเรือนราษฎรได้


ช่วงพายุ “เซินกา” เข้ามาหลายพื้นที่ภาคเหนือ ประสบภัยน้ำท่วม
กรณีเกิดฝนตกหนักบริเวณเทือกเขา ดอยสุเทพ-ปุย และตัวเมืองเชียงใหม่ การแก้ปัญหาจะพร่องน้ำในคลองส่งน้ำแม่แตงผันน้ำลงลําน้ำแม่ริมและแม่สา ห้วยช่างเคี่ยน ห้วยแก้ว ไม่ให้เข้าเขตเมืองชั้นในเช่นที่ผ่านๆมา ซึ่งในคูคลองแม่ข่า ทางน้ำต่างๆ ในเขตนครเชียงใหม่นั้นทางเทศบาลนครเชียงใหม่ได้บริหารจัดการตามแนวทางที่หารือ ร่วมกัน ทั้งจัดการผักตบชวา สิ่งกีดขวางท างน้่ำ เพิ่มพื้นที่รับน้ำ ในอนาคต ส่วนที่บุกรุกล้ำแนวคูคลอง ต้องใช้มาตรการตามที่ตกลงร่วม กันของหลายๆฝ่าย

ร่วมแสดงความคิดเห็น