ก.แรงงานยกระดับเชฟไทย ดันครัวไทยก้าวสู่ครัวโลก

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ชี้แนวทางการส่งเสริมพ่อครัวแม่ครัวไทยสู่ครัวโลก รุกฝึกอบรมผู้ประกอบอาหารรองรับครัวไทยสู่ครัวโลก เผยภาคเหนือมีศักยภาพ และความพร้อมมาก บุคลากรต้องพัฒนาศักยภาพของตนเองในการก้าวสู่อาชีพพ่อครัวแม่ครัวในต่างประเทศ ซึ่งเป็นอาชีพที่มีรายได้ค่อนข้างสูง
นายธีรพล ขุนเมือง อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กล่าวในการเป็นประธานเปิดงานสัมมนา “แนวทางการส่งเสริมพ่อครัวแม่ครัวไทยสู่ครัวโลก” ณ โรงแรม ดิเอมเพรส จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2560 ว่า จากการที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีข้อสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งพัฒนาทักษะฝีมือพ่อครัวแม่ครัวไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายให้ความสำคัญต่อการ
ยกระดับมาตรฐานอาหารไทยให้ได้มาตรฐานสากล โดยมุ่งหวังให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาหารของภูมิภาคอาเซียนและโลก ซึ่งมีกระบวนการผลิตที่มีมาตรฐานตั้งแต่กระบวนการผลิตขั้นต้นจนถึงการเสริมสร้างเอกลักษณ์ความ
เป็นไทยให้กับผู้บริโภค และคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ครัวไทยสู่ครัวโลก 2559-2564 โดยกระทรวงแรงงานมีภารกิจเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาธุรกิจและบริการอาหารไทย สอดคล้องกับ 8 วาระปฏิรูป กระทรวงแรงงาน “การเพิ่มผลิตภาพแรงงานสู่ Thailand 4.0” ของ
พลเอกศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
นายธีรพล กล่าวต่อไปว่าในปี 2560 กพร. มีการฝึกอบรมผู้ประกอบอาหารรองรับครัวไทยสู่ครัวโลกทั้งสิ้น 5,995 คน และมีผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในสาขาผู้ประกอบอาหารไทยทั้งในและต่างประเทศอีก 878 คน มีอัตราค่าจ้างตามประกาศตามมาตรฐานฝีมือ ระดับ 1 ไม่ต่ำกว่าวันละ 400 บาท ระดับ 2 ไม่ต่ำกว่าวันละ 510 บาท โดยสำนักปลัดกระทรวงแรงงาน กองยุทธศาสตร์และแผนงาน มีเป้าหมายส่งพ่อครัวแม่ครัวไปทำงานต่างประเทศ 4,000 คน และแรงงานไทยนิยมไปทำงานต่างประเทศในตำแหน่งนี้เพิ่มมากยิ่งขึ้น เฉลี่ยปีละ 3,500 คน มีรายได้เฉลี่ยคนละ 40,000-90,000 บาท เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดต่างประเทศที่ต้องการพ่อครัวแม่ครัวไทยเป็นจำนวนมาก และพัฒนาทักษะฝีมือให้ได้มาตรฐานสากล กพร. จึงดำเนินการจัดเสวนาเกี่ยวกับ “แนวทางการส่งเสริมพ่อครัวแม่ครัว
ไทยสู่ครัวโลก” ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส อ.เมือง จ.เชียงใหม่ มีการบรรยายนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมครัวไทยสู่ครัวโลก รับฟังประสบการณ์การทำงานของคุณมนัสนันท์ ครูซ เชฟไทยในยุโรป ที่ประสบความสำเร็จในการทำงานต่างประเทศเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ที่ต้องการไปทำงานเป็นพ่อครัวแม่ครัวในต่างประเทศและรับฟังการเสวนาการเตรียมบุคลากรด้านอาหารไทยให้ได้มาตรฐานสู่นานาชาติ โดยผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จด้านธุรกิจอาหาร ผู้เข้าร่วมงานครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้ประกอบการ สมาคมธุรกิจร้านอาหาร ผู้ผ่านการฝึกอบรมสาขาผู้ประกอบอาหารไทย/ครัวไทยสู่ครัวโลก นักศึกษาอาชีวะ นักศึกษามหาวิทยาลัย บุคคลทั่วไปในจังหวัดเชียงใหม่และใกล้เคียง จำนวน 150 คน
“โครงการนี้มีประโยชน์อย่างมากผู้เข้าร่วมสัมมนา สื่อมวลชน ได้ทราบถึงนโยบายรัฐบาลด้านครัวไทยสู่ครัวโลก แนวทางของ กพร.ในการพัฒนาบุคลากรด้านอาหารไทยให้ได้มาตรฐานในระดับภูมิภาคและนานาชาติ เป็นการสร้างเครือข่ายด้านการพัฒนาฝีมือแรงงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน สมาคม กลุ่มธุรกิจบริการอาหารในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง และที่สำคัญเป็นแรงบันดาลใจการพัฒนาศักยภาพของตนเองในการก้าวสู่อาชีพพ่อครัวแม่ครัวในต่างประเทศ ซึ่งเป็นอาชีพที่มีรายได้ค่อนข้างสูงในการเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว และนำเงินตราเข้าสู่ประเทศอีกด้วย” อธิบดีกพร. กล่าวและว่า.
นโยบายของรัฐบาลเรื่อง ครัวไทยสู่ครัวโลก 
สิ่งที่สำคัญคือมาตราฐานฝีมือแรงงานเพรา การไป
ทำงานเกี่ยวกับเรื่องเชฟหรือกุ๊กทั้งหลายนั้นต่างประเทศมีความต้องการเป็นจำนวนมากแต่ละประเทศนั้นมีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน อย่างเช่นประเทศญี่ปุ่น มีเงื่อนไขว่าถ้าจะไปเป็นกุ๊กที่ญี่ปุ่นต้องมีประสบการณ์อย่างน้อย 10ปี แต่ถ้าผ่านการ
ทดสอบมาตราฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานกระทรวงแรงงานแล้วก็จะเหลือ
แค่ 5ปี เท่านั้น นั่นคือตัวช่วยให้คนที่จะไปทำงานต่างประเทศสามารถไปได้ด้วยความมั่นใจและไปได้เร็วมากยิ่งขึ้นและที่สำคัญมีรายได้ที่สูง อย่างน้อยเดือนละไม่ต่ำกว่า50,000 บาท แต่ถ้าหากไปทำงานที่ต่างประเทศไม่ได้ ในประเทศไทยก็ยังต้องการตำแหน่งนี้อีกมากมาย และยังมีการทดสอ
บมาตราฐาน และยังมีอัตราค่าจ้างตามมาตราฐานอีกด้วย
“อัตราค่าจ้างตามมาตราฐานฝีมือแรงงานผู้ประกอบการอาหารไทยเบื้องต้น ถ้าผ่านการทดสอบลำดับที่1ก็ไม่น้อยกว่าวันละ 400 บาท/วัน จัดโครงการนี้ขึ้นเราเชิญผู้ประสบความสำเร็จจากต่างประเทศมาให้ความรู้ด้วยว่าก่อนจะเข้าไปทำงานประสบความสำเร็จเป็นอย่างไรมีขั้นตอนเช่นไร อยากจะเชิญชวนพี่น้องที่อยากจะทำอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทยและมีมาตราฐานก็สามารถใช้บริการได้ที่สถาบันหรือสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานทั่วประเทศ ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวเข้ามามากมีคนมาทำงานมากเมื่อเข้ามาท่องเที่ยวก็ชอบติดใจรสชาติอาหารไทยพอเมื่อกลับไปประเทศเขา ก็อยากจะกินรสชาติอาหารอย่างประเทศไทยบ้าง เพราะฉะนั้นเขาก็จะหาว่ามีคนทำอาหารไทยเป็นบ้างหรือเปล่า อย่างญี่ปุ่นมาทำงานที่ประเทศไทยเยอะมากพอกลับไปก็อยากจะทานอาหารไทย ทำให้มีร้านอาหารไทยที่ประเทศญี่ปุ่นกว่า 2,000 ร้านค้า ก็เลย
มีร้านอาหารไทยในต่างประเทศมากมาย”
สำหรับภาคเหนือ มีศักยภาพมากในเรื่องของมาตรฐานการประกอบอาหาร จึงมีการยกระดับสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานของเชียงใหม่เป็นเทคโนโลยีชั้นสูงด้านการบริการและการท่องเที่ยว ซึ่งการบริการและการท่องเที่ยวส่วนหนึ่งก็เป็นด้านของอาหารด้วย ศักยภาพของภาคเหนือมีความพร้อมมาก อาทิเช่น 1.อัธยาศัยไมตรีของคนภาคเหนือมีความนิ่มนวลยิ้มแย้มแจ่มใสซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวต่างประเทศประทับใจ 2.มีความมุ่งมั่น และ3. ใส่ใจ เอาใจไปทำด้วยทำให้อาหารอร่อยถือว่าศักยภาพทางภาคเหนือมีความพร้อมมากทีเดียว และคนที่มาเที่ยวทางหนือนักท่องเที่ยวก็ล้วนแต่ประทับใจทั้งอาหาร ทั้งความเป็นมิตรไมตรีที่ดีของคนภาคเหนือ อย่างไรก็ตามเรายังมีจุดด้อยของเราคือเรื่องภาษา เรื่องภาษานี่สำคัญเพราะการสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญเวลาไปต่างประเทศ หรือทำงานในประเทศเราเองก็สำคัญเช่นกัน เวลาพูดคุยในงานบริการทั้งหลาย ต้องมีการสื่อสาร พูดคุย พูดภาษาเขาได้นิดหน่อยเขาก็ดีใจในระดับหนึ่งแล้ว อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวในที่สุด.

ร่วมแสดงความคิดเห็น