โรคกระดูกพรุน หญิงหรือชายก็เป็นได้

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) เป็นโรคที่พบมากในเพศหญิง แต่ในเพศชายสามารถพบได้เช่นเดียวกัน โดยมีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค คือ การเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง และการขาดฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งโรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่ความหนาแน่นและมวลกระดูกลดน้อยลง กระดูกเสื่อม เปราะบาง ผิดรูปและแตกหักได้ง่าย บางรายทำให้ส่วนสูงลดลงเพราะกระดูกผุกร่อน กระดูกจะไม่สามารถทำงานหรือเคลื่อนไหวได้ตามปกติ เช่น การทนรับนํ้าหนัก แรงกระแทก หรือแรงกดได้น้อยลง เนื่องจากความเจ็บปวดจากรอยแตกร้าวภายใน ไปจนถึงการแตกหักของกระดูกส่วนสำคัญ ซึ่งอาจส่งผลทำให้พิการได้ เช่น กระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นศูนย์กลางเส้นประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวเสื่อม บาง แตกร้าว หรือหัก
คนที่ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนมักจะทราบว่าคนป่วยเมื่อมีอาการแสดงไปแล้ว และยังมีอาการบ่งชี้อื่นๆ ที่ควรใส่ใจสังเกตอาการเพื่อให้สามารถรักษาได้ทันการณ์ ดังนี้
1.กระดูกแตกหักได้ง่ายแม้ถูกกระแทกไม่รุนแรง
2.ปวดหลังเรื้อรัง
3.หลังงอ
4.ความสูงลดลง

สาเหตุ
1.อายุ ที่มากขึ้น เซลล์ต่างๆจึงเสื่อมลงรวมทั้งเซลล์สร้างกระดูก การสร้างกระดูกจึงลดลง แต่เซลล์ทำลายกระดูกยังทำงานได้ตามปกติหรืออาจทำงานมากขึ้น
2.การสูญสียฮอร์โมนเพศหญิงเนื่องจากหมดประจำเดือน เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยของการเกิดโรคกระดูกพรุน โดย 25%ของสตรีที่มีอายุมากกว่า 60 ปีมักพบว่าเป็นโรคกระดูกพรุน
3.การที่สตรีหมดประจำเดือนเร็วหรือได้รับการผ่าตัดรังไข่ทิ้งก่อนอายุ 45 ปี
4.ขาดการออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวออกกำลังกายจะกระตุ้นการทำงานของเซลล์สร้างกระดูกและลดการทำงานของเซลล์ทำลายกระดูก ตรงกันข้าม เมื่อขาดการออกกำลังกาย เซลล์ทำลายกระดูกจะทำงานเพิ่มขึ้น
5.พันธุกรรม เพราะพบโรคได้สูงขึ้นในคนมีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้
ปัจจัยเสี่ยงร่วมที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน
1.มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน
2.ชาวผิวขาวหรือเชื้อชาติชาวเอเชีย
3.ขาดวิตามินหรือแคลเซียม
4.ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นประจำ
5.สูบบุหรี่
6.นํ้าหนักลดลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากโหมออกกำลังกายหรืออดอาหาร
7.ใช้สเตียรอยด์เกินขนาด
8.ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลเช่น โรคต่อมไทรอยด์
9.เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคตับ โรคทางเดินอาหารผิดปกติ

การป้องกัน
1.รับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ โดยเฉพาะแคลเซียมและวิตามินดีซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ควรได้รับปริมาณแร่ธาตุทั้ง
2 นี้อย่างเหมาะสมตั้งแต่วัยเด็กตลอดช่วงอายุเพื่อความแข็งแรงของกระดูก ซึ่งจะสมบูรณ์ที่สุดในช่วงอายุ 20 ปีปลายๆหรือ 30 ปีต้นๆ
2.ออกกำลังกายสมํ่าเสมอ
3.งดสูบบุหรี่
4.หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์รวมถึงสารคาเฟอีน เนื่องจากมีผลทำลายกระดูก
5.ตรวจร่างกายเป็นประจำ โดยเฉพาะเมื่ออายุมากกว่า 50 ปีควรเข้ารับการตรวจวัดกระดูกเพื่อป้องกันการเสื่อมแต่เนิ่นๆ
การรักษาโรคกระดูกพรุนเมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกระดูกพรุน แพทย์อาจแนะนำการรักษาด้วยยา โดยพิจารณาความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายหลังผิดรูปในสตรีสูงอายุฉะนั้นเราสามารถป้องกันการเป็นโรคกระดูกพรุนได้โดยการป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆตามที่กล่าวไว้ข้างต้น และหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ โดยเฉพาะการตรวจมวลกระดูกเมื่อมีอายุ 50 ปีขึ้นไป หรือผู้หญิงที่ได้รับการผ่าตัดรังไข่ทิ้งก่อนอายุ 45 ปี ก็จะสามารถห่างไกลจากโรคกระดูกพรุนได้
…..รพ.แมคคอร์มิค / ข้อมูล…..

ร่วมแสดงความคิดเห็น