ชลประทานกางแผน จัดการน้ำโซนเหนือ

ศูนย์ประมวลและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ สำนักงานชลประทานที่ 1 เชียงใหม่ รายงานว่าสภาพน้ำในอ่าง (คาดว่าเพียงพอใช้ตลอดฤดูฝน) โดยเขื่อนแม่งัดฯปริมาณน้ำ 129 ล้าน ลบ.ม. (49%) มากกว่าปี 2559จำนวน 65 ล้าน ลบ.ม.รับน้ำได้อีก 136 ล้าน ลบ.ม. (51%) เพิ่มจากสัปดาห์ที่แล้ว 2.204ล้าน ลบ.ม. น้ำไหลเข้าอ่าง 7 วันที่ผ่านมา 3.884 ล้าน ลบ.ม.
เขื่อนแม่กวงฯ มีปริมาณน้ำ 54 ล้าน ลบ.ม. (21%) มากกว่าปี 2559 ประมาณ 7 ล้าน ลบ.มรับน้ำได้อีก 209ล้านลบ.ม. (79%) ลดจากสัปดาห์ที่แล้ว 0.288 ล้าน ลบ.ม.น้ำไหลเข้าอ่าง 7 วันที่ผ่านมา 3.601 ล้าน ลบ.ม. ส่วนอ่างเก็บน้ำ ขนาดกลาง12 แห่งปริมาณน้ำรวม46 ล้านลบ.ม. (54%) มากกว่าปี 2559 รวม26ล้านลบ.ม. และอ่างขนาดเล็ก118 อ่าง ปริมาณน้ำรวม45ล้านลบ.ม. (64%) มากกว่าปี59รวม24ล้านลบ.ม.


สำหรับผลการเพาะปลูกฤดูฝนโครงการชลประทานขนาดใหญ่และกลางในเขต จ.เชียงใหม่ปลูกแล้ว172,323ไร่ (ข้าว 44,626 ไร่ พืชไร่-พืชผัก 9,801 ไร่ ไม้ผล 113,418ไร่ บ่อปลา 4,256 ไร่ อื่นๆ 222 ไร่) ส่วนที่ จ.ลำพูนปลูกแล้ว76,315ไร่ (ข้าว 17,042 ไร่ พืชไร่-พืชผัก 1,397 ไร่ ไม้ผล 55,418ไร่ บ่อปลา 2,458 ไร่ ) ดำเนินการไป 58% จากแผน131,300ไร่ ในเขต จ.แม่ฮ่องสอน ปลูกแล้ว8,713ไร่ (ข้าว 6,678 ไร่ พืชไร่-พืชผัก 318 ไร่ ไม้ผล 1,453ไร่ บ่อปลา 157 ไร่ อื่นๆ 107 ไร่) ดำเนินการตามแผนไปแล้ว 87% จากแผน10,024ไร่


สำนักงานชลประทานที่ 1 ได้จัดตั้งศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ ทั้งในส่วนของโครงการชลประทานจังหวัดและโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา โดยประสานงานร่วมกับจังหวัดแบบบูรณาการ เพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ติดตามสถานการณ์น้ำในแม่น้ำปิงและลำน้ำสาขา ได้ที่www.rid-1.com ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ 053-245081
ทางด้านกระทรวงเกษตรฯแจ้งว่า ในช่วงฝนที่ผ่านมามีสถานการณ์น้ำท่วมหลายพื้นที่ได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัด โดยเฉพาะสำนักงานเกษตรฯ เร่งดำเนินการตามแผนช่วยเหลือและฟื้นฟูพื้นที่การเกษตรที่ได้รับผลกระทบ ส่วนแนวทางการป้องกันแก้ปัญหาน้ำท่วม ในระยะยาว แบ่งเป็น 3 แผนหลัก คือ 1. ลดปริมาณน้ำผ่านเมือง เขตชุมชน พื้นที่เศรษฐกิจ 2. ปรับสภาพความเป็นอยู่ให้สอดคล้องกับอุทกภัย พัฒนาพื้นที่ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม สามารถอยู่ได้โดยไม่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยมากนัก 3. ปรับปรุงคันกั้นน้ำเดิม และ ก่อสร้างคันกั้นน้ำเพิ่ม ปรับปรุงคันกั้นน้ำ และ สร้างเพิ่มในจุดที่จำเป็น

ร่วมแสดงความคิดเห็น