อจน.พาผู้นำชุมชนและสื่อมวลชน เข้าเยี่ยมชมระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลนครเชียงใหม่

วันนี้ (21 ส.ค.60) เวลา 10.00 น. นายชีระ วงศบูรณะ รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย พร้อมด้วย นายชาตรี เชื้อมโน รองนายกเทศบาลนครเชียงใหม่ นายวิรัตนย์ ภมรานนท์ รองผู้อำนวยการปฏิบัติการองค์การจัดการน้ำเสีย นายวิสาขะ ปัญญาช่วย ผู้อำนวยารส่วนช่างสุขาภิบาล เทศบาลนครเชียงใหม่ และนายสุรเชษฐ์ โนคำ รักษาการผู้จัดการสำนักจัดการนำเสีย สาขาเชียงใหม่ นำสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลนครเชียงใหม่ ณ โรงปรับคุณภาพน้ำเสียของเทศบาลนครเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่

นายชีระ วงศบูรณะ รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย

ทั้งนี้ นายชีระ วงศบูรณะ รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย เปิดเผยว่า องค์การจัดการน้ำเสีย ได้ร่วมกับเทศบาลนครเชียงใหม่ จัดให้มีกิจกรรม นำผู้นำชุมชนและสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมระบบบำบัดน้ำเสียของเทศบาลนครเชียงใหม่ ณ โรงปรับปรุงคุณภาพน้ำของเทศบาลนครเชียงใหม่ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานเกี่ยวกับ ระบบบำบัดน้ำเสียของเทศบาลนครเชียงใหม่ ซึ่งองค์การจัดการน้ำเสียเทศบาลนครเชียงใหม่ ได้มีปณิธานร่วมกันทั้งสองฝ่ายในการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนอย่างยั่งยืน และร่วมกันเสริมสร้างจิตสำนึกของประชาชนในการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งตลอดระยะเวลาที่องค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.) ได้ลงนามในข้อตกลงการให้บริหาร จัดการระบบบำบัดน้ำเสียรวมเทศบาลนครเชียงใหม่ (MOA) ตั้งแต่ 25 มิถุนายน 2556 ถึง 30 กันยายน 25070 ระยะเวลา 15 ปี อจน.ได้บริหารจัดการด้านเทคโนโลยีระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพและการสร้างสรรค์องค์ความรู้กิจกรรมเพื่อท้องถิ่น ชุมชนในพื้นที่และสิ่งแวดล้อมหรือที่เรียกว่าเป็นกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Corporate Social Responsibility CSR) ขององค์กร โดยคำนึงถึงหลักเสริมสร้างความเข้มแข็งสร้างภูมิคุ้มกันอย่างมีธรรมาภิบาล เพื่อเสริมสร้างให้ประชาชนได้รับรู้ว่าน้ำเสียมีการบำบัดและสามารถลดปัญหาน้ำเสียของท้องถิ่นได้จริง

นายชีระ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันระบบบำบัดน้ำเสียยังมีความสามารถเพียงพอที่จะรองรับน้ำเสียชุมชนในเขตพื้นที่ที่มีระบบท่อรวบรวมน้ำเสีย โดยมีน้ำเสียเข้าสู่โรงปรับปรุงคุณภาพน้ำร้อยละ 50 ของความสามารถระบบบำบัดน้ำเสียเท่านั้น หากมีการขยายระบบท่อรวบรวมน้ำเสียเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ของเทศบาล ฯ หรือการขยายตัวของชุมชน โรงปรับปรุงคุณภาพน้ำยังมีความสามารถเพียงพอที่จะรองรับน้ำเสียได้อีก เนื่องจากได้มีการปรับปรุงระบบรวบรวมน้ำเสีย เช่นเครื่องสูบน้ำเสียและท่อส่งน้ำเสียให้สามารถรองรับปริมาณน้ำเสียที่เพิ่มขึ้น ซึ่งน้ำเสียชุมชนที่ผ่านระบบการปรับปรุงคุณภาพน้ำของโรงปรับปรุงคุณภาพน้ำ เทศบาลนครเชียงใหม่จะมีการควบคุมคุณภาพน้ำทิ้งตามประกาศของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเรื่องมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน ประกอบกับองค์การจัดการน้ำเสียร่วมกับเทศบาลนครเชียงใหม่ ได้มีโครงการการนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วกลับมาใช้ประโยชน์สำหรับการเกษตร เพื่อให้ประชาชนบริเวณใกล้เคียงกับที่ตั้งของระบบบำบัดน้ำเสียสามารถนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดน้ำเสียไปใช้ประโยชน์ ในช่วงที่เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำได้ เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำรอง รวมทั้งเป็นการเพิ่มมูลค่าของน้ำ และยังเป็นการสนับสนุนเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรอีกโดยมีประชาชนบริเวณใกล้เคียงได้เข้าร่วมโครงการนี้

ร่วมแสดงความคิดเห็น