.” บ้านนาเกียน”..หมู่บ้านต้นแบบ เกษตรที่สูงตามแนวพระราชดำริฯ

แม้ยามนี้เส้นทางมุ่งสู่บ้านนาเกียน…. อำเภออมก๋อย เชียงใหม่..จะได้รับผลกระทบจากดินถล่ม ช่วงปลายฝน..แต่ไม่ยากเกินความตั้งใจจะไปถึง
คือตัวอย่างหมู่บ้านเพื่อการเรียนรู้..ของชีวิต….ในโครงการตามแนวพระราชดำริของราษฎรทำเกษตรอย่างถูกหลักวิชาการ ตามรูปแบบเศรษฐกิจพอเพียง
เป็นชุมชนในพื้นที่ราบหุบเขาที่ค่อนข้างมีความอุดมสมบูรณ์ เพราะมีน้ำแม่ฮองไหลผ่านเหมาะในการทำเกษตร
เมื่อประชากรเพิ่มขึ้น จึงเกิดปัญหาบุกรุกทำลายป่าต้นน้ำลำธารอย่างหนัก เนื่องจากความต้องการใช้ทรัพยากรมากขึ้น การบุกรุกแผ้วถางป่าจึงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
กอร์ปกับการทำเกษตรของราษฎรที่ไม่ถูกหลักวิชาการและขาดการบริหารจัดการที่ดี ทำให้เกิดปัญหาดินเสื่อมคุณภาพและขาดแคลนน้ำช่วงแล้ง
จากปัญหาดังกล่าว ทำให้ราษฎรในพื้นที่เดือดร้อน ผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ
ด้วยเหตุนี้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 จึงมีพระราชดำริฯให้จัดตั้งสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง ตามพระราชดำริ บ้านนาเกียนขึ้น เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2548
ทรงพระกรุณาฯโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ รองราชเลขานุการในพระองค์ พล.อ.ณพล บุญทับ รองสมุหราชองครักษ์ เป็นผู้แทนพระองค์
ตรวจพื้นที่เพื่อมอบหมายแนวทางจัดตั้งสถานีฯ ให้คณะทำงาน
ปัจจุบันมีนายสมศักดิ์ มั่งมี นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ทำหน้าที่หัวหน้าสถานีพัฒนาเกษตรที่สูง ตามพระราชดำริ บ้านนาเกียน มีพื้นที่รับผิดชอบ 15,784 ไร่


0…เมื่อมีการจัดตั้งสถานีฯ ทำให้ราษฎรในพื้นที่มีรายได้จากเดิม จาก 3,600 บาท/ปี/คน เป็น 24,000 บาท/ปี/คน ทำให้คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ดีขึ้น…..


0..พลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี   ติดตามงานโครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง ตามพระราชดำริบ้านนาเกียน ชมนิทรรศการ ข้าวสายพันธุ์ โดยมีคณะทำงานในพื้นที่ร่วมต้อนรับ
เป็นอีกจุดหมายปลายทางที่ผู้ชื่นชอบการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ชอบความท้าทาย นิยมเดินทางไป ช่วงฤดูฝนอาจยากลำบาก เพราะบางทีอาจมีหิน ดินถล่มทับบางช่วงของเส้นทางต้องเตรียมพร้อมก่อนออกเดินทางอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ราวๆ 190 กม.
ไปตามถนนสาย 108 ผ่าน อ.จอมทอง -อ.ฮอด แล้วแยกขวาไปตามถนนสาย 108 ระยะทาง 34 กม. จะเจอแยก เลี้ยวซ้ายเข้า อ.อมก๋อย ระยะทาง 50 กม. จากนั้นเลี้ยวขวาไปอีก 8 กม. ก็จะถึงที่หมาย


0…เส้นทางสู่บ้านนาเกียนช่วงฝนค่อนข้างลำบาก
หากเป็นช่วงฤดูท่องเที่ยว จะเหมาะในการขี่ช้าง ชมเส้นทางธรรมชาติ ทัวร์ป่า ดูนก ชีวิตสัตว์ต่างๆ ซึ่งมีมากมายหาชมได้ยากทั้ง ชะนี, เลียงผา และนกเงือก
อาจแคมป์ปิ้ง ตั้งเต้นท์ พักแรม ขี่จักรยานในเส้นทางสบายๆรอบหมู่บ้าน ชมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวกะเหรี่ยง
ถ้าต้องการเส้นทางที่ยากลำบาก ตื่นเต้น และท้าทาย ก็มีให้เลือกหลายเส้นทาง
บ้านนาเกียน เกษตรที่สูง ตามพระราชดำริ เป็นศูนย์กลางเรียนรู้การทำเกษตร ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมและพัฒนาการผลิตผัก ไม้ผลเมืองหนาว เช่น กะหล่ำม่วง, ต้นหอมญี่ปุ่น, ฟักทอง, มะเขือเทศ, พริกหวาน,ถั่วหวาน ฯลฯ


0…ส่งเสริมให้ทุกครัวเรือนในการผลิตไม้ผล เช่น พลับ, กาแฟ ,สาลี่ , มะขามป้อม ฯลฯ จัดตั้งธนาคารข้าวเพื่อช่วยเหลือราษฎร ปลูกพืชหลังฤดูการทำนา
ที่นี่คือตัวอย่างความร่วมมือของหน่วยงาน ทั้งกองทัพภาคที่ 3 ,คณะกรรมการพิเศษประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.)
,จังหวัดเชียงใหม่, ส่วนราชการ ต่างๆเช่น กรมอุทยานฯ, กรมป่าไม้, กรมชลประทาน, กรมปศุสัตว์ , กรมประมง , กรมวิชาการเกษตร , กรมส่งเสริมการเกษตร,กรมพัฒนาที่ดิน , กรมการข้าว ,ท้องถิ่น,ปกครอง เป็นต้น
ร่วมดำเนินงานปลูกป่าไม้ทดแทน ปรับปรุงระบบนิเวศต้นน้ำ ทำงานร่วมกันพื่อยกระดับในแต่ละเรื่องให้ราษฎรในพื้นมีรายได้ ทำให้คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ดีขึ้น
บรรพบุรุษของชาวบ้านนาเกียนมีการจับช้างป่ามาเลี้ยงเป็นจำนวนมาก เมื่อมีพื้นที่นาบนพื้นที่ราบระหว่างหุบเขาจำเป็นที่จะต้องหาแรงงานมาช่วยทำนา


0….การใช้ช้างไถนาที่บ้าน ต.นาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ เริ่มจาก” พะก่าโหนะ ชาวกระเหรี่ยง “เห็นการนำช้างมาลากคราด ที่แม่ฮ่องสอน จึงทดลองนำมาใช้ที่บ้านนาเกียน
ชาวบ้านใน ต.อมก๋อย ส่วนใหญ่มีที่ทำกินอยู่บนเขา หรือไม่ก็บริเวณเชิงเขา ซึ่งสภาพดินค่อนข้างแข็ง ถ้าใช้รถไถนาเดินตาม ก็ไม่มีทุน ไม่เหมาะกับการใช้งานบนพื้นที่ลาดเอียง ถือเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในไทที่ใช้ช้างทำนา
ปัจจุบันเมื่อความเจริญเข้ามาสู่หมู่บ้านเริ่มมีรถไถนา จนจำนวนช้างกว่า 20 เชือกลดน้อยลง แต่ที่หมู่บ้านแห่งนี้ก็ยัง
อนุรักษ์ประเพณี ช้างไถนา เอาไว้
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อบต.นาเกียน หรือ ททท.สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่และ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 เชียงใหม่

ขอบคุณ : สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 เชียงใหม่ ข้อมูล/ภาพ

ร่วมแสดงความคิดเห็น