หนุนเอสเอ็มอีพัฒนาสินค้า ตรวจวิเคราะห์มาตรฐานสูง

ผ่านแล็บประชารัฐสู่การขอจดทะเบียนอย.ได้ง่ายเป็นที่ยอมรับกับผู้บริโภค

เนื่องจากที่ผ่านมานั้นผู้ประกอบการรายกลางและรายใหญ่นั้น ทราบว่าจะต้องทำอย่างไร จะต้องตรวจอย่างไร จะต้องเข้าแล็บอย่างไร มีค่าใช้จ่ายแค่ไหน แต่ผู้ประกอบการรายเล็กนั้นอาจจะไม่รู้หรือไม่เคยทราบมาก่อน ไม่รู้ว่ากระบวนการตรวจสอบสินค้านั้นมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง และไม่รู้ว่าประโยชน์ที่จะได้รับนั้นมีอะไรบ้าง ดังนั้นในการจัดโครงการจัดอบรมพิเศษเชิงลึก เรื่อง “เลข อย.อาหาร ของ่าย ได้ไว” ในครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการกระตุ้นให้ผู้ประกอการรายเล็ก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มโอทอป วิสาหกิจชุมชน หรือผู้ประกอบการใหม่ที่กำลังทำร้านอาหารและอยากจะทำขนมบรรจุซองบรรจุห่อ ซึ่งคนตัวเล็กเหล่านี้ก่อนหน้านั้นไม่รู้จักการตรวจแล็บเลย หรืออาจจะรู้จักและทราบว่ามีค่าใช้จ่ายที่สูง แต่ตอนนี้หลังจากการอบรมนี้ผู้ประกอบการเหล่านี้จะทราบได้แล้วว่ามันดีและก็มี สสว. นำเงินมาช่วย จึงช่วยให้ผู้ประกอบการมีโอกาสที่จะเข้ามาใช้บริการในการตรวจแล็บ ซึ่งคูปอง 5,000 บาท นี้จะเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นให้ผู้ประกอบการได้ลองทดสอบ ซึ่งเมื่อทดสอบแล้วมีประโยชน์ก็จะสามารถต่อยอดธุรกิจต่อไปได้ แต่ถ้าหากทดสอบแล้วตรวจสินค้าแล้วเกินมาตรฐาน ผู้ประกอบการก็จะสามารถกลับไปปรับปรุงให้มันดีขึ้นได้

แล็บประชารัฐ จับมือ สสว. ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ แนะนำเทคนิคการยื่นขอจดทะเบียน อย. แก่เอสเอ็มอีกลุ่มอาหาร-เกษตรแปรรูป ก้าวสู่มาตรฐานยุค 4.0 ชี้เอสเอ็มอีต้องตรวจสินค้าด้วยวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่า “แล็บ” เพราะจะได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับจากผู้บริโภคว่าปลอดภัย แต่ด้วยกำลังจากที่กลุ่ม “คนตัวเล็ก” ต้นทุนต้องจ่ายสูงจึงหนุนโครงการคูปองตรวจวิเคราะห์มาตรฐานฟรี! 6,000 ใบ ได้ง่ายดาย จะช่วยพัฒนายกระดับสินค้าของผู้ประกอบการให้เป็นที่ยอมรับได้ เผยคนเชียงใหม่ตื่นตัวต้องการตรวจวิเคราะห์มาตรฐานแห่เข้าร่วมล้นหลามกว่า 400 ราย จากที่หวังไว้ 200 ราย ย้ำ!หากสินค้าผ่านมาตรฐาน ผู้ประกอบการจะได้รับผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างและประกาศนียบัตรรับรอง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า โดยสามารถใช้คูปองได้จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2560 หากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต้องการสอบถามรายละเอียดและปรึกษาขอคำแนะนำติดต่อได้ที่แล็บประชารัฐ สำนักงานสาขาเชียงใหม่

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ แล็บประชารัฐ ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จัดงานอบรมยกระดับมาตรฐานสินค้า “เลข อย. อาหาร ของ่าย ได้ไว” เพื่อแนะนำเทคนิคการยื่นขอ จดทะเบียนกับ อย. แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 31 ส.ค.60 ที่ผ่านมา เพื่อพบปะ ผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจอาหารและเกษตรแปรรูป ซึ่งเป็นสินค้าที่มีศักยภาพของจังหวัด เพื่อมีโอกาสได้เลข อย. เร็วขึ้น ณ โรงแรม ดิเอ็มเพรส เชียงใหม่
นายสุรชัย กำพลพลานนท์วัตน์ กรรมการผู้อำนวยการแล็บประชารัฐ เปิดเผยว่า โครงการจัดอบรมพิเศษเชิงลึก เรื่อง “เลข อย.อาหาร ของ่าย ได้ไว” โดยการดำเนินงานของ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ แล็บประชารัฐ ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เป็นผู้จัดงานอบรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้ากลุ่มอาหารให้แก่ผู้ประกอบการรายเล็ก หรือที่เรียกว่า “คนตัวเล็ก” ซึ่งเป็นกลุ่มที่เป็นฐานรากของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะให้จังหวัดเชียงใหม่ที่มีกว่า 1 แสนราย ซึ่งผู้ประกอบการในกลุ่มนี้อยู่ในระหว่างการพัฒนาเพื่อยกระดับของตัวเอง ทั้งนี้เชื่อว่าความมีเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ ศักยภาพของผู้ประกอบการรายเล็กนั้นมีดีอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ยังขาดไปก็คือมาตรฐาน อาทิเช่น มาตรฐานอาหารสด อาหารแปรรูป ของฝาก ของที่ระลึก เป็นต้น โดยเชียงใหม่เป็นเมืองท่องเที่ยวด้วย ดังนั้นหากผู้ประกอบการรายเล็กสามารถทำให้สินค้าของตัวเองมีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ โดยมาตรฐานที่ว่านี้เบื้องต้นก็คือ กฎหมาย อย. ซึ่งถ้าหากผู้ประกอบการสามารถทำให้ตนเองผ่านมาตรฐานเหล่านี้ได้นั้นก็จะมีโอกาสที่จะได้ขึ้นทะเบียน อย. จะช่วยทำให้สินค้าของ ผู้ประกอบการสามารถนำไปขายนอกเหนือจากพื้นที่ของตัวเอง สามารถออกขายต่างจังหวัด ขายในโลกออนไลน์ หรือแม้แต่กระทั่งขายต่างประเทศได้
ฉะนั้นแล้วจากความร่วมมือในครั้งนี้ที่เป็นผู้จัดงานที่อยากจะมาให้การสนับสนุนแก่ผู้ประกอบการอาหารที่จังหวัดเชียงใหม่ ในการยกระดับ คือ 1.ต้องรู้และเข้าใจเรื่องกฎหมาย ซึ่งถ้าหากผู้ประกอบการไม่รู้และไม่เข้าในกฎหมาย ก็จะไม่สามารถทำทุกอย่างให้ถูกต้องได้ 2.ต้องเข้าใจเรื่องมาตรฐาน กล่าวคือ กฎหมายที่กำกับมาตรฐานสินค้าแต่ละชนิดนั้นมีความแตกต่างกัน ดังนั้นจึงมีความสำคัญมากที่ผู้ประกอบการจะต้องเข้าใจมาตรฐานสินค้าของตนเองในทุกๆด้าน อย่างเช่นการตรวจสินค้าด้วยวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่า “แล็บ” หรือห้องปฏิบัติการ ซึ่งก็คือห้องแล็บตรวจ ด้วยการใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ และที่ บริษัท ห้องปฏิบัติการ กลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ แล็บประชารัฐ เองก็มีเครื่องมือที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากลของการส่งออก เพราะฉะนั้นแล้วหากผู้ประกอบการรายเล็กได้มีโอกาสนำสินค้าไปตรวจสอบ ก็จะให้รู้ว่าสินค้าของตนเองนั้นเข้าข่ายหรือเข้าเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ มีความปลอดภัยหรือเปล่า ช่วยให้ผู้ประกอบการได้กลับไปแก้ไขและปรับปรุงสินค้าของตัวเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการจะนำสินค้าไปตรวจสอบจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูง ทำให้ผู้ประกอบการรายเล็กไม่อยากนำสินค้าไปตรวจสอบเท่าไร
นายสุรชัย กล่าวว่า ทาง บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ แล็บประชารัฐ จึงได้ไปเจรจาของงบจาก สสว. ซึ่งมีหน้าที่ในการดูแล SMEs โดยได้จัดสรรงบประมาณมาให้ในรูปของคูปอง ซึ่งครั้งนี้ถือว่าเป็นการทำคูปองรอบที่สอง จากรอบแรกที่จัดทำมา 2,000 ใบเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการเป็นอย่างดี ทาง สสว. จึงได้ออกคูปองรอบที่ 2 ในช่วงเดือนสิงหาคมอีก 6,000 ใบ มูลค่าใบละ 5,000 บาท ใช้งบประมาณ 30 ล้านบาท ทั้งนี้ในฐานะ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ แล็บประชารัฐ ที่มีเครื่องมือตรวจ มีงบประมาณจาก สสว. ที่เข้ามาช่วยเหลือ จึงได้มีการชักชวน อย. ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับการขึ้นเงินเดือนตามกฎหมาย ซึ่งทาง อย.ก็ได้มีการจัดผู้เชี่ยวชาญ วิทยากร และทีมที่ปรึกษา มาให้ความรู้ จึงทำให้การอบรมในครั้งนี้เป็นการร่วมมือแบบบูรณาการแบบครบวงจรสำหรับผู้ประกอบการอาหาร ดังนั้นผู้ประกอบการที่มาเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้จะได้รับข้อมูลในเชิงลึกจาก อย. จะได้รับโอกาสในการตรวจสินค้าจาก บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ แล็บประชารัฐ จะได้รับสิทธิประโยชน์สนับสนุนค่าใช้จ่ายจาก สสว. และบริการยื่นขอสินเชื่อครบวงจรจากสถาบันการเงินที่มาเปิดบูธด้วย
โดยโครงการจัดอบรมพิเศษเชิงลึก เรื่อง “เลข อย.อาหาร ของ่าย ได้ไว” ได้เปิดการอบรมโดยเริ่มจัดที่ กรุงเทพฯก่อนเป็นจังหวัดแรก เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 60 มีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก จากเดิมที่ตั้งเป้าไว้ 400 ราย แต่มีผู้เข้าร่วมกว่า 600 ราย ซึ่งที่จังหวัดเชียงใหม่นี้ถือว่าเป็นครั้งที่ 2 ส่วนครั้งที่ 3 จะไปจัดที่จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 4 จะเป็นจังหวัดสงขลา ตามด้วยจังหวัดเพชรบุรี ลพบุรี และจังหวัดอื่นๆต่อไป ซึ่งขณะนี้ผู้ประกอบการในทุกๆจังหวัดต่างมีความตื่นตัว เพราะว่าการทำอาหารนั้นถือได้ว่าเป็นธุรกิจหลัก ซึ่ง SMEs ในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่จะเป็นอาหารกว่า 80% ฉะนั้นแล้วหลักสูตรการอบรมครั้งนี้จะช่วยผู้ประกอบการได้มาก ซึ่งขณะนี้ได้รับการติดต่อจากหลายๆจังหวัดให้ไปเปิดการอบรม
ทั้งนี้ได้มีการตั้งเป้าหมายตามคูปอง กล่าวคือ มีคูปองทั้งหมด 6,000 ใบ ซึ่งให้สิทธิผู้ประกอบการคนละไม่เกิน 2 ใบ โดยใบหนึ่งสามารถตรวจเรื่องสารปนเปื้อน และอีกใบหนึ่งสามารถตรวจเรื่องมาตรฐานตามกฎหมาย ซึ่งการตรวจมาตรฐานตามกฎหมายนั้นจะต้องตรวจมากกว่าสารปนเปื้อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการตรวจจุลินทรีย์ ตรวจวัตถุปนเปื้อนอื่นๆ เพราะว่ามาตรฐานกฎหมายแต่ละตัวนั้นไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการจึงได้สิทธิ 2 ใบ โครงการนี้จึงได้ตั้งเป้าว่าจะได้ผู้ประกอบการเข้าร่วม 3,000 ราย โดยอย่างน้อยมีผู้ประกอบการครึ่งหนึ่งที่ผ่านมาตรฐานกฎหมาย และได้รับ อย. ซึ่งหากสินค้าผ่านมาตรฐาน ผู้ประกอบการจะได้รับผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างและประกาศนียบัตรรับรอง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า โดยสามารถใช้คูปองได้จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2560
นอกจากนี้แล้วยังได้รับข้อมูลมาว่าทาง สสว. ได้มีแผนที่จะทำเฟสสามขึ้น เนื่องจากมองเห็นว่าโครงการนี้ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการเป็นจำนวนมาก โดยเฟสสามนั้นจะเป็นงบประมาณของปี 2561 ซึ่งจะเป็นช่วงเดือนตุลาคม และอยู่ระหว่างที่ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ แล็บประชารัฐ ทำเรื่องขอให้ สสว. จัดทำเฟสสาม โดยมีเป้าหมายที่จะต่อยอดขยายกลุ่ม เนื่องจากผู้ประกอบการของบ้านเรานั้นมีกว่า 1 ล้านราย จังหวัดเชียงใหม่เองก็มีกว่า 1 แสนราย ซึ่งจากการจัดอมรมในครั้งนี้ที่เชียงใหม่ตั้งเป้าไว้ว่าจะมีผู้ประกอบการเข้าร่วมประมาณ 200 ราย แต่ปรากฏว่ามีผู้ประกอบการที่เข้าร่วมจริงๆเกิน 400 ราย แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการนั้นมีความตื่นตัวและสนใจที่จะเข้าร่วม ซึ่งหลังจากนี้จะทำอย่างไรให้ผู้ประกอบการสามารถผ่านมาตรฐานให้ได้
นายสุรชัย กล่าวอีกว่า เนื่องจากที่ผ่านมานั้นผู้ประกอบการรายกลางและรายใหญ่นั้น ทราบว่าจะต้องทำอย่างไร จะต้องตรวจอย่างไร จะต้องเข้าแล็บอย่างไร มีค่าใช้จ่ายแค่ไหน แต่ผู้ประกอบการรายเล็กนั้นอาจจะไม่รู้หรือไม่เคยทราบมาก่อน ไม่รู้ว่ากระบวนการตรวจสอบสินค้านั้นมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง และไม่รู้ว่าประโยชน์ที่จะได้รับนั้นมีอะไรบ้าง ดังนั้นในการจัดโครงการจัดอบรมพิเศษเชิงลึก เรื่อง “เลข อย.อาหาร ของ่าย ได้ไว” ในครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการกระตุ้นให้ผู้ประกอการรายเล็ก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มโอทอป วิสาหกิจชุมชน หรือผู้ประกอบการใหม่ที่กำลังทำร้านอาหารและอยากจะทำขนมบรรจุซองบรรจุห่อ ซึ่งคนตัวเล็กเหล่านี้ก่อนหน้านั้นไม่รู้จักการตรวจแล็บเลย หรืออาจจะรู้จักและทราบว่ามีค่าใช้จ่ายที่สูง แต่ตอนนี้หลังจากการอบรมนี้ผู้ประกอบการเหล่านี้จะทราบได้แล้วว่ามันดีและก็มี สสว. นำเงินมาช่วย จึงช่วยให้ผู้ประกอบการมีโอกาสที่จะเข้ามาใช้บริการในการตรวจแล็บ ซึ่งคูปอง 5,000 บาท นี้จะเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นให้ผู้ประกอบการได้ลองทดสอบ ซึ่งเมื่อทดสอบแล้วมีประโยชน์ก็จะสามารถต่อยอดธุรกิจต่อไปได้ แต่ถ้าหากทดสอบแล้วตรวจสินค้าแล้วเกินมาตรฐาน ผู้ประกอบการก็จะสามารถกลับไปปรับปรุงให้มันดีขึ้นได้
“ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 ผู้บริโภคเองก็หันไปใส่ใจและห่วงใยในสุขภาพของตนเองมากขึ้น เพราะฉะนั้น แล้วสินค้าของเรานั้น ต่อให้สวยแค่ไหน น่ารับประทานมากเท่าไร อร่อยมากแค่ไหน ผู้บริโภค เองก็ยังไม่มั่นใจในตัวสินค้าของเรา แต่สิ่งที่จะทำให้ผู้บริโภคมั่นใจที่สุดคือสินค้านั้นมีความปลอดภัยกับตัวผู้บริโภคเอง รวมถึงครอบครัวของผู้บริโภคด้วยเช่นกัน ฉะนั้นตัวที่จะทำให้เกิดความปลอดภัยที่แน่นอนและมีมาตรฐานมากที่สุดก็คือการตรวจด้วยแล็บ ซึ่งครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการที่สามารถเข้าไปตรวจได้ โดยมีทาง สสว. ช่วยเหลือในเรื่องค่าใช้จ่าย จึงอยากให้ท่านใช้โอกาสนี้มาที่ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ แล็บประชารัฐ โดยสามารถเข้าไปดูที่เว็บไซต์ก่อนก็ได้ หรือจะเข้าไปที่แฟนเพจ “CLT แล็บประชารัฐมาตรฐานสากล” ซึ่งก่อนที่ท่านจะไปใช้สิทธิต้องไปสมัครเป็นสมาชิกของ สสว. ก่อนซึ่งสามารถทำได้ง่ายมากในเว็บไซต์ และหากเป็นสมาชิกของ สสว.แล้วจะช่วยให้สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้มากขึ้น” กรรมการผู้อำนวยการแล็บประชารัฐ กล่าวและว่า
โดยที่จังหวัดเชียงใหม่นั้นมี บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ แล็บประชารัฐ สำนักงานสาขาเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 164/86 หมู่ 3 ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 50180 ติดต่อสอบถามได้ที่โทร.053-896-131, 053-896-133, 081-594-7143 ทั้งนี้แล็บประชารัฐออกแพ็คเกจการตรวจวิเคราะห์ 4 แบบ ให้ผู้ประกอบการได้เลือกใช้คูปองตามความเหมาะสม ได้แก่ การตรวจสารพิษตกค้าง การตรวจผลิตภัณฑ์ตามข้อกำหนดของหน่วยงานรัฐ การตรวจวิเคราะห์ฉลากโภชนาการ และการตรวจประเมินสถานประกอบการ หากสินค้าผ่านมาตรฐาน ผู้ประกอบการจะได้รับผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างและประกาศนียบัตร รับรอง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า


ข้อกำหนดเกี่ยวกับคูปองแล็บประชารัฐ
คุณสมบัติของผู้ประกอบการที่มีสิทธิ์ได้รับคูปอง
1.สมาชิก สสว. (สมาชิกเดิมหรือสมาชิกใหม่ก็ได้)
2.SMEs ในฐานข้อมูลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFI) ที่เป็นนิติบุคคลที่มีการชำระหนี้ปกติหรือ
3.SMEs ในฐานข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ที่มีการส่งงบการเงินอย่างสม่ำเสมอ
– High Growth ที่มียอดขายเพิ่มขึ้น 20% ระยะเวลา 3 ปี
– Regular มียอดขาย+/-ไม่เกิน 5% ระยะเวลา 3 ปี หรือ
4.วิสาหกิจชุมชนหรือบุคคลธรรมดา ที่ประกอบการไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
5.วิสาหกิจรายย่อย (Micro SME) หรือวิสาหกิจชุมชน
เงื่อนไขการใช้คูปอง
1.สามารถใช้บริการได้ที่ เซ็นทรัลแล็บไทย ทุกสาขา
2.คูปองนี้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนหรือทอนเป็นเงินสดได้
3.ขอสงวนสิทธิการใช้คูปองนอกเหนือจากแพ็คเกจที่กำหนด หากมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในแต่ละแพ็คเกจที่กำหนดจะเป็นความรับผิดชอบของผู้ใช้บริการ
4.หมดเขตการใช้คูปอง วันที่ 25 ธันวาคม 2560
หลักฐานที่ใช้ประกอบการใช้สิทธคูปอง
1.ตัวอย่างสินค้า (ปริมาณตามที่กำหนดในแพ็คเกจ)
2.หลักฐานการเป็นสมาชิก สสว.
3.หลักฐานการประกอบการ เช่น หนังสือรับรอง พร้อมเซ็นสำเนาถูกต้อง (ในกรณีเป็นวิสาหกิจรายย่อย) (Micro SME) สามารถรับรองใบประกอบการได้ที่ www.centrallabthai
4.ใบขอรับบริการ สามารถดาวน์โหลดได้ที่ www.centrallabthai


บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศ ไทย) จำกัด จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2546 ถือหุ้นโดยกระทรวงการคลังร้อยละ 49 และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 51 ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการของรัฐเปิดดำเนินงานมากกว่า 13 ปี มีเครื่องมือและระบบมาตรฐานสากล ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 มากกว่า 1,000 รายการทดสอบ รองรับงานทดสอบได้มากกว่า 400,000 ตัวอย่างต่อปี สามารถให้บริการด้านการตรวจวิเคราะห์มาตรฐานสินค้าให้กับกลุ่ม ผู้ส่งออก กลุ่มผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจการเกษตร SMEs OTOP วิสาหกิจชุมชนภายใต้นโยบาย “แล็บประชารัฐ” เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐเต็มรูปแบบ โดยมีสาขาให้บริการครอบคลุมทุกภูมิภาค ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น ฉะเชิงเทรา สมุทรสาคร สงขลา และกรุงเทพฯ
ปัจจุบัน Central Lab Thai ได้มีบริการหลัก แบ่งเป็น 2 ด้านหลักคือ
1.ด้านการตรวจวิเคราะห์ผลทางห้องปฏิบัติการ (Lab) ที่จะรองรับการให้บริการด้านการ ตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ เพื่อสนับสนุนและยกระดับผลิตภัณฑ์ ในกลุ่มผู้ประกอบการ ส่งออกและ SMEs OTOP วิสาหกิจชุมชน ได้แก่
– ตรวจหาสารเคมีตกค้าง 4 กลุ่ม ได้แก่ Organocholorine Organophosphate Carbamate Pyrethroid ในผลิตภัณฑ์ผักสด ผลไม้สด ผักไฮโดรโปนิค เป็นต้น
– ตรวจยาปฏิชีวนะ ตะกั่ว สารหนู แคดเมี่ยม ปรอท สารเคมีตกค้าง โลหะหนัก Formaldehyde ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ (สด/แช่แข็ง ) เนื้อสัตว์ปีก (สด/แช่แข็ง) อาหารทะเล/ปลาหมึก/ปลา/กุ้ง/ปลาน้ำจืด เป็นต้น
– ตรวจเชื้อก่อโรค สารเคมีและโลหะหนัก ในผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป กลุ่มไส้กรอก อาหารหมักดอง อาหารปิ้งย่าง รมควัน น้ำมันทอดซ้ำ ซอสปรุงรส (ตรวจหาสารตะกั่ว สารหนู ปรอท สังกะสี) นมและผลิตภัณฑ์นม (ตรวจหาสารเมลามีน) อาหารพร้อมทาน (ตรวจการแพร่กระจายของสาร) ตรวจหาสารพิษจากเชื้อรา (ถั่ว สมุนไพร ธัญพืช พริก) เป็นต้น
– ตรวจหาสารเคมีอันตราย สารปรอท ตะกั่ว สารหนู แคดเมี่ยม โลหะหนัก ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เวชสำอาง เช่น ครีมทาผิว โลชั่น แชมพู สบู่ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เป็นต้น
– ตรวจวิเคราะห์เชื้อก่อโรค สารเคมี โลหะหนัก สารหนู ตะกั่ว ปรอท แคดเมี่ยม ในน้ำดื่ม เพื่อใช้อุปโภคบริโภค น้ำดื่มในภาชนะบรรจุปิดสนิท รวมถึงการตรวจแหล่งน้ำจากธรรมชาติ เป็นต้น
l ตรวจด้านชีวโมเลกุล อาทิ การตัดต่อพันธุกรรม (GMO) ในถั่วเหลือง มะละกอ และ การปนเปื้อนของสัตว์เท้ากีบ (DNA) ในอาหารสัตว์ ซึ่งก่อให้เกิดเชื้อวัวบ้า
l ตรวจสารปนเปื้อนในภาชนะบรรจุภัณฑ์สัมผัสอาหาร (Packaging)
l ตรวจวิเคราะห์คุณภาพปัจจัยการผลิตทางการเกษตร เช่น การทดสอบสารพิษตกค้างในปุ๋ย ยาฆ่าแมลง เป็นต้น
2.ด้านบริการตรวจรับรองมาตรฐานนอกห้องปฏิบัติการ (Non Lab) โดยมุ่งเน้น พัฒนามาตรฐานและรับรองกระบวนการผลิตและผลผลิตของภาคเกษตรกรรมอุตสาหกรรมรวมถึงพัฒนาบุคลากรและเสริมสร้างบุคลากรให้มีประสิทธิภาพตลอดจนความปลอดภัยทางด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานตลอดจนคุณภาพ สิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน อาทิ
– การตรวจประเมินและรับรองคุณภาพและผลผลิต CB/IB
– การตรวจรับรองด้านพืช GPA Organic
– การสอบระบบการผลิตโรงงาน GMP HACCP
– บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม (อากาศภายในและอากาศภาย นอก) เช่น สารเคมีปนเปื้อนในอากาศ สารเคมีปนเปื้อนในแหล่งน้ำ มลพิษต่างๆ
– การตรวจรับรองมาตรฐานสอบเทียบเครื่องมือ เช่น เครื่องเป่าแอลกอฮอล์ เครื่องควบคุมอุณหภูมิในห้องเย็น เครื่องวัดอุณหภูมิ มาตรวิทยา เครื่องชั่ง เครื่องตวงวัด
– บริการฝึกอบรมทางห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 29990
– บริการโปรแกรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17043
– บริการที่ปรึกษาระบบ ISO/IEC 17025

ที่ผ่านมา Central Lab Thai ให้บริการแก่ผู้ประกอบการส่งออกด้านอาหารเป็นหลัก โดยปี 2559 มีสินค้าที่เข้ารับการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทั้งหมด 205,106 ตัวอย่าง เป็นสินค้ากลุ่มอาหาร สัดส่วน 71.16% และสินค้ากลุ่มมิใช่อาหาร 28.84% โดยได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจจากบริษัทมหาชน ด้านการส่งออกอาหารจำนวนมาก อาทิเช่น บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) บริษัท ซีพีเอฟ จำกัด (มหาชน) บริษัท เซ็นทรัลฟู้ดส์ จำกัด เป็นต้น รวมถึงให้บริการงานถ่ายโอนจากภาครัฐ อาทิ กรมประมง กรมการข้าว กรมสรรพสามิต สำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นต้น
ด้วยศักยภาพของ Central Lab Thai บริษัทฯยังได้รับมาตรฐานสากลทางห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 มาตรฐานการสอบเทียบเครื่องมือทางห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 มาตรฐานการเป็นหน่วยงานฝึกอบรมทางห้องปฏิบัติการ ISO 29990 มาตรฐานผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17043 มาตรฐานการเป็น หน่วยตรวจรับรอง (CB) ISO/IEC 17065 และมาตรฐาน ISO/IEC 17021 จากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) รวมถึงการได้รับการยอมรับจากประเทศคู่ค้า ได้แก่ Ministry of Health, Labour and Welfares (MHLW) Japan Hongkong Center of food Safety, Hongkong Ministry of food and Drugs Safety, Korea ASEAN countries
ทั้งนี้ EURLs (European Union Reference Laboratories) แล็บกลางสหภาพยุโรป ได้ประกาศผลการรับรองให้ Central Lab Thai เพียงรายเดียวของประเทศไทยที่ผ่านการทดสอบด้าน Pesticides พืชควบคุมเฉพาะเพื่อการส่งออก ประจำปี 2016 ซึ่งประเทศไทยเป็นเพียง 1 ใน 5 ของเอเชีย อันได้แก่ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และไทยที่ผ่านการทดสอบโดย Central Lab Thai ได้รับการรับรองเป็นปีที่ 3 ต่อเนื่อง (ค.ศ.2014-2016)
บทบาทและพันธกิจใหม่ Central Lab Thai จะเป็น “แล็บประชารัฐ” ที่นำมาตรฐาน การตรวจและวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการระดับสากลช่วยเหลือผู้ประกอบการตั้งแต่เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน โอทอป ผู้ประกอบการ SMEs ในการยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้นเป็นที่น่าเชื่อถือและยอมรับของผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศโดยจะร่วมมือและเป็นเครื่องมือให้กับชุมชนภาคเอกชน หน่วยงานภาครัฐสถาบันการเงิน สถาบันการศึกษา สร้างโอกาสการเข้าถึงและใช้บริการอย่างทั่วถึง รวมทั้งจะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล เพื่อเตือนภัยผู้บริโภคด้านอาหารปลอดภัย
“แล็บประชารัฐ” จะเป็นกลไกช่วยสนับสนุนมาตรการการยกระดับและพัฒนามาตรฐานผู้ประกอบการไทยทุกกลุ่มเป้าหมายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น (Local Economy) ตามแนวประชารัฐ อันจะสร้าง ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนให้กับประเทศตามนโยบายของรัฐบาลอย่างเต็มที่

ร่วมแสดงความคิดเห็น