นายอำเภอสารภี ปิดโครงการ”โรงเรียนหนองผึ้งอายุวัฒน์วิทยา”

นอภ.สารภี ปิดโครงการ”โรงเรียนหนองผึ้งอายุวัฒน์วิทยา” ทำให้ผู้สูงอายุได้มีสถานที่ในการจัดกิจกรรมและรับบริการ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดภูมิปัญญาของผู้สูงอายุ และทำให้ผู้สูงอายุได้รับการพัฒนาทั้งทางด้าน สุขภาพกาย สุขภาพจิต และด้านสังคม ในขณะเดียวกันก็เป็นพื้นที่ ที่ผู้สูงอายุได้แสดงออกถึงศักยภาพโดยการถ่ายทอดภูมิความรู้ ประสบการณ์แก่บุคคลอื่น เพื่อสืบสานภูมิปัญญาให้คงคุณค่าคู่กับชุมชน สมกับคำว่า “รู้จริง ปฏิบัติได้ ถ่ายทอดเป็น”

เมื่อวันที่ 8 ก.ย.60 นางสุภาพร บุญถนอม นอภ.สารภี จ.เชียงใหม่ เป็นประธานปิดโครงการ”โรงเรียนหนองผึ้งอายุวัฒน์วิทยา” โดยมี พ.อ.อ.ปัญญา หล้าดวงดี นายก ทต.หนองผึ้ง ชมรมผู้สูงอายุ จ.หนองผึ้ง สมาชิกสภา กำนันผู้ใหญ่บ้าน ผู้สูงอายุ ฯลฯ  นอภ.สารภี กล่าวว่า ปัจจุบันนี้ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากแล้ว และจะกำลังจะกลายเป็นสังคมวัยชราโดยสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2567 จากตัวเลขวิเคราะห์ของนักวิชาการประเทศไทย จะมีผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ประมาณ 20% หรือประมาณ 13 ล้านคน จากประชากรไทย 68 ล้านคน

ดังนั้นหลายหน่วยงานต่างตื่นตัว และเตรียมพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และหนึ่งในทางแก้ปัญหาคือ “โรงเรียนผู้สูงอายุ” ตามแนวคิดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้สูงอายุให้เป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ เพื่อเสริมสร้างการเตรียมความพร้อม สำหรับสังคมสูงอายุของประเทศ ซึ่งเป็นการพัฒนาครอบคลุมบริบททั้งกาย จิต เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ค่านิยม ปัญญา และความสุข

ปัจจุบันมีโรงเรียนผู้สูงอายุ จำนวนมากทั่วประเทศที่มีความหลากหลาย ทั้งสถานที่ รูปแบบ และวิธีการ ขึ้นอยู่กับบริ บทพื้นที่และความต้องการของผู้สูงอายุในแต่ละแห่ง กิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุจะเป็นเรื่องที่ผู้อายุสนใจ และมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ช่วยเพิ่มพูนความรู้ ทักษะชีวิตที่จำเป็น โดยมีวิทยากรจิตอาสาหรือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความรู้ ขณะเดียวกันก็เป็นพื้นที่ที่ผู้สูงอายุจะได้แสดงศักยภาพ โดยการถ่ายทอดภูมิความรู้ประสบการณ์ที่สั่งสมแก่บุคคลอื่น เพื่อสืบสานภูมิปัญญาให้คงคุณค่าคู่กับชุมชน

ทั้งนี้ ทต.หนองผึ้ง และชมรมผู้สูงอายุ ต.หนองผึ้ง เล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุได้มีสถานที่ในการจัดกิจกรรมและรับบริการ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดภูมิปัญญาของผู้สูงอายุ และทำให้ผู้สูงอายุได้รับการพัฒนาทั้งทางด้าน สุขภาพกาย สุขภาพจิต และด้านสังคม ในขณะเดียวกันก็เป็นพื้นที่ที่ผู้สูงอายุได้แสดงออกถึงศักยภาพ โดยการถ่ายทอดภูมิความรู้ ประสบการณ์แก่บุคคลอื่น เพื่อสืบสานภูมิปัญญาให้คงคุณค่าคู่กับชุมชน สมกับคำว่า “รู้จริง ปฏิบัติได้ ถ่ายทอดเป็น”

ร่วมแสดงความคิดเห็น