“หลัว” แป๋ว่าอะหยังฮู้ก่อ ?

คำเมืองวันละคำ กับ เชียงใหม่นิวส์ วันนี้เสนอคำว่า “หลัว”

หลัว แปลว่า ฟืน
หลัว แปลว่า ฟืน

คำเมืองวันละคำ วันนี้ขอเสนอคำว่า หลัว เป็นภาษาถิ่นภาคเหนือ ภาษากลาง แปลว่า ฟืน
คำลักษณะนาม ฟืน คือ ท่อน เช่น ฉันมีฟืน 1 ท่อน แต่ถ้าหากอยู่รวมกันเป็นกอง ๆ จะเรียกว่า กองฟืน

ประโยคกำเมือง
น้องหล้า : อ้ายแก้ว เอาหลัวก๋องไว้ข้างเต๋าไฟกำเน้อ น้องจะดังไฟยะกับข้าวละ
อ้ายแก้ว : ได้เสมอเมื่อเธอสั่งมา..น้องหล้า

ประโยชน์ของ “หลัว” คือท่อนไม้หรือเศษไม้ที่นำมาใช้เผาไหม้เป็นเชื้อเพลิงโดยไม่ผ่านการแปรรูป (ต่างจากเชื้อเพลิงไม้ประเภทอื่น ๆ เช่นถ่านไม้) ส่วนใหญ่จะตัดมาจากต้นไม้โดยตรง, ตากให้แห้ง, หรือเก็บรวบรวมจากเศษไม้แห้ง โดยฟืนไม้แห้งจะเผาไหม้ได้ดีกว่าไม้สดชนิดเดียวกัน ตั้งแต่สมัยโบราณ หลัว เป็นส่วนสำคัญในการก่อกองไฟเพื่อประกอบอาหาร และอยู่คู่กับคนเรามาอย่างยาวนาน ปัจจุบันยังสามารถเห็นได้ตามบ้านเรือนแต่จะไม่ค่อยได้ใช้ เนื่องจากหันมาใช้เตาแก๊สในการประกอบอาหารแทน

หลัว แปลว่า ฟืน
หลัว แปลว่า ฟืน
น้องจะดังไฟ ยะกับข้าวเอง

หมายเหตุ : น้องหล้ากับอ้ายแก้ว เป็นเพียงตัวละครสมมุติ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ร่วมแสดงความคิดเห็น