“เห็ดหูลั๊วะ” แป๋ว่าอะหยังฮู้ก่อ ?

คำเมืองวันละคำ กับ เชียงใหม่นิวส์ วันนี้เสนอคำว่า “เห็ดหูลั๊วะ”

คำเมืองวันละคำ วันนี้ขอเสนอคำว่า เห็ดหูลั๊วะ เป็นภาษาถิ่นภาคเหนือ ภาษากลาง แปลว่า เห็ดหูหนู

เห็ดหูหนู คือ เห็ดชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นตามลำต้นของต้นใหญ่ที่เน่าเปื่อยหรือซากไม้ที่ผุสลาย โดยจะมีลักษณะเป็นแผ่นเหมือนกับหูหนูหรือหูคน แผ่นคล้ายวุ้นใส เนื้อนิ่มอ่อนและเหนียว มีสีออกน้ำตาลเทาหรือน้ำตาลอ่อน แผ่นใบด้านบนเรียบเป็นมันเงา ส่วนขอบแผ่นมีรอยจีบหรือเป็นลอน แผ่นใบมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 12 เซนติเมตร มีความหนาประมาณ 2 มิลลิเมตร ด้านใต้ใบมีขนละเอียดขึ้นปกคลุมอยู่เล็กน้อย ถ้าใบแห้งจะมีความแข็งและเหนียว ก้านใบเห็ดหูหนูนั้นสั้นมาก โดยจะอยู่กลางดอกหรือค่อนไปข้างใดด้านหนึ่งยึดติดกับลำต้นไม้หรือท่อนไม้ที่เน่าเปื่อย ส่วนสปอร์ของเห็ดหูหนูจะมีลักษณะเป็นรูปไส้ คด งอ ยาว หรือมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก มีสีเทาม่วงอ่อน

ประโยคกำเมือง

น้องหล้า : วันนี้น้องจะแก๋งผักหละเน้อ..อ้ายแก้ว จะใส่จิ๊นไก่ว่าจิ๊นแห้งดีหา?
อ้ายแก้ว : ใส่จิ๊นอะหยังก่อได้..ไปดีลืมใส่ เห็ดหูลั๊วะตวยเน้อ ของมักอ้ายเลย

ประโยชน์ของ “เห็ดหูลั๊วะ” นอกจากจำไปประกอบอาหารเช่น แกงผักหละ แล้ว ยังมีสรรพสรรคุณมากมายด้วย เช่น ใช้เป็นยาซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในร่างกาย, ช่วยทำให้ปอดชุ่มชื่น, ช่วยทำให้เลือดเย็นช่วยแก้อาการไอ แก้อาเจียนเป็นเลือด, แก้เลือดกำเดาไหล เป็นต้น

หมายเหตุ : น้องหล้ากับอ้ายแก้ว เป็นเพียงตัวละครสมมุติ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ร่วมแสดงความคิดเห็น