จังหวัดเชียงใหม่ ติดตามการดำเนินงานขับเคลื่อนแผนแม่บทโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

นายประจวบ กันธิยะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานการประชุมคณะทำงานประสานการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ร่วมประชุมที่ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารอำนวยการ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่
ทั้งนี้ จังหวัดเชียงใหม่ได้เข้าร่วมสนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หรือ อพ.สธ. ซึ่งได้มีแนวทางการดำเนินงาน คือ 3 กรอบ
การดำเนินงาน และ 8 กิจกรรม แบ่งออกเป็น 3 กรอบการดำเนินการ ได้แก่ กรอบการเรียนรู้ กรอบการใช้ประโยชน์ และกรอบการสร้างจิตสำนึก และในส่วนของ 8 กิจกรรม คือ 1.กิจกรรมปกปักทรัพยากร ให้หน่วยงานที่มีพื้นที่ปกปักษ์ทรัพยากรอยู่ในความรับผิดชอบ สำรวจต้นไม้เพื่อรวบรวมเป็นฐานข้อมูล และสนับสนุนให้มีอาสาสมัครปกปักษ์ทรัพยากรในพื้นที่ สถานศึกษา หมู่บ้าน ตำบล 2.กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากร โดยให้สำรวจทั้งสามฐานทรัพยากร ได้แก่ กายภาพ ชีวภาพ วัฒนธรรมและภูมิปัญญา
ท้องถิ่น โดยทำในพื้นที่ล่อแหลมต่อการเปลี่ยนแปลง 3.กิจกรรมปลูกรักษาทรัพยากร โดยนำพันธุกรรมไปเพาะและปลูกในพื้นที่ปลอดภัย และมีการเก็บรักษาในรูปเมล็ดและเนื้อเยื่อ เก็บในรูปสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ ในธนาคารพืชพรรณ ของ อพ.สธ. 4.กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากร เพื่อศึกษาประเมินพันธุกรรมพืช และทรัพยากรอื่นๆ ที่สำรวจ เก็บรวบรวมปลูกรักษาไว้ ทั้งในสภาพธรรมชาติ แปลงทดลอง และในห้องปฏิบัติงาน วางแผนและดำเนินการวิจัย นำไปสู่การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน 5.กิจกรรมศูนย์ข้อมูลทรัพยากร จะบรรทุกข้อมูลจากการทำงานในกิจกรรมที่ 1-4 ลงในระบบฐานข้อมูล รวมทั้งฐานข้อมูลพรรณไม้แห้ง และทรัพยากรอื่นๆ เพื่อให้มีระบบฐานข้อมูลที่เชื่อถึงกันทั่วประเทศ นำไปสู่การวางแผนพัฒนาพันธ์พืชและทรัพยากรต่างๆ 6.กิจกรรมวางแผนทรัพยากร นำฐานข้อมูลจากกิจกรรมที่ 5 มาใช้ในการพิจารณาศักยภาพของพันธ์พืช พันธ์สัตว์ พันธ์จุลินทรีย์ นำไปสู่การวางแผนพัฒนาพันธุ์พืชและทรัพยากรต่างๆ 7.กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร โดยการสร้างจิตสำนึกให้เยาวชน ประชาชนชาวไทย ให้เข้าใจถึงความสำคัญและประโยชน์ของพันธุกรรมพืช รวมไปถึงทรัพยากรต่างๆ ให้รู้จักหวงแหนและใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และ 8.กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร โดยที่จะเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมสนับสนุนงานของ อพ.สธ. และเปิดโอกาสให้เยาวชน ประชาชน สมัครเข้ามาศึกษาหาความรู้
เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติตามความถนัดและความสนใจ
สำหรับ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ดำเนินงานระยะ
5 ปีที่หก (1 ตุลาคม 2559 – 30 กันยายน 2564) ในหน่วยงานกลุ่ม G8 และได้ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริอย่างต่อเนื่อง โดยจังหวัดเชียงใหม่แจ้งให้แต่ละหน่วยงานร่วมการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนแม่บท เพื่อให้ขับเคลื่อนและสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น