คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดอบรม “การใช้ระบบฐานข้อมูลอุปกรณ์ช่วยในชุมชน”

เมื่อเร็วๆ นี้ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต่อยอดโครงการสำหรับผู้สูงอายุกับการอบรมเรื่อง “การใช้ระบบฐานข้อมูลอุปกรณ์ช่วยในชุมชน” ภายใต้โครงการ “การบูรณาการระบบสุขภาวะชุมชนสู่การให้บริการทางสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และเด็ก” สนับสนุนโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เ ณ ห้องปารีส ชั้น 2 โรงแรมเมอร์เคียว จ. เชียงใหม่
การจัดการอบรมในครั้งนี้ เพื่อเป็นการศึกษาสถานการณ์ และสร้างกลไกการบูรณาการระบบสุขภาพชุมชนในการให้บริการทางสุขภาพ สําหรับ ผู้สูงอายุ ผู้พิการและเด็ก ภายใต้การมีส่วนร่วมระหว่างเครือข่ายจากภาคสาธารณสุข และเครือข่าย จากภาคปกครอง ในหมู่บ้านต้นแบบด้านการส่งเสริมสุขภาพ และ เพื่อจัดกระบวนการ ให้มีการจัดการความรู้ และนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของชุมชนท้องถิ่น และเครือข่ายปฐมภูมิ
ระบบสุขภาพชุมชนตามแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555-2559 (กระทรวงสาธารณสุข, 2553) ได้ให้ความสําคัญในการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชนและทุกภาคส่วน โดยกําหนดเป้าประสงค์ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายมีศักยภาพ และ สามารถสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ลดการเจ็บป่วยจากโรคที่ป้องกันได้ หรือโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพ มีการใช้ภูมิปัญญาไทยและมีส่วนร่วม
การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน ด้วยฐานความรู้ สู่วิถีสุขภาวะชุมชนขึ้น เพื่อเป็นการสนับสนุน อํานวย ความสะดวก การมีส่วนร่วม ให้กับเครือข่ายสุขภาพทั้งภาครัฐ ให้มีโอกาสในการร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของการ พัฒนาระบบสุขภาพร่วมกัน จะสามารถเกิดผลสัมฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จําเป็นต้องได้รับความร่วมมือ อย่างจริงจังจากชุมชน และต้องทําให้ชุมชนร่วมดําเนินการและมีความเป็นเจ้าของในการดําเนินการระบบ บริการสุขภาพชุมชนการบริการจะอยู่ที่ชุมชนต้องอาศัยการเชื่อมต่อระบบสุขภาพชุมชน เชื่อมโยงกันแบบ บูรณาการควรอาศัยพื้นที่เป็นตัวตั้ง ไม่แยกส่วนหน่วยงาน บุคคลในกลุ่มพึ่งพาไม่ควรถูกทอดทิ้ง (ประเวศ วะสี, 2554) โดยเชื่อมโยงกันกับปัญหาในพื้นที่ จากโครงสร้างประชากรของประเทศไทยพบว่าประชากรผู้สูงอายุ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สถานการณ์คนพิการก็ยังเป็นปัญหาสําคัญของประเทศ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน รัฐบาลได้ให้ความสําคัญในการให้สิทธิคนพิการได้รับการบริการ จัดสิ่งอํานวยความสะดวกทั้งผู้พิการหรือ ทุพพลภาพ และคนชรา ตลอดจนให้ความสําคัญการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กในชุมชน จากวิฤตการสถานการณ์ สังคมผู้สูงอายุในประเทศไทยส่งผลให้ ผู้ศึกษาวิจัยทําการศึกษาวิจัยการให้บริการสุขภาพชุมชนในกลมุ่ ผู้สูงอายุ และนํามาประยุกต์ใช้ร่วมกับบุคคลในกลุ่มพึ่งพาในชุมชนไปพร้อม ๆ กันในการศึกษาครั้งนี้
โดยระบบบริการสุขภาพชุมชนเป็นการให้บริการระดับปฐมภูมิในระดับชุมชน ในการศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นไป ที่บุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ประกอบไปด้วย ผู้สูงอายุที่มีภาวะทุพพลภาพ หรือผู้พิการและเด็ก เนื่องจาก ระบบสุขภาพในชุมชนยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร ประกอบกับเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ ปฐมภูมิมีความซับซ้อน การบูรณาการบริการด้านสุขภาพและสังคมของประเทศไทย ยังปรากฏรูปแบบไม่ ชัดเจนนัก หน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่หลักในการให้บริการสุขภาพ คือ กระทรวงสาธารณสุข จึงจําเป็นต้อง อาศัยการบรูณาการร่วมกัน
ระบบฐานข้อมูลสุขภาวะชุมชน (Connunity Health) ประกอบด้วยส่วนการใช้งานด้านต่างๆ อาทิทะเบียนบุคคล: รายชื่อบุคคลและรายละเอียดส่วนบุคคลที่อยู่ในระบบฐานข้อมูลทั้งหมด เป็นต้น
การบรูณาการระบบสุขภชุมชน เพื่อผู้สูงอายุ ผู้พิการ และเด็ก เป็นนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพชุมชนท้องถิ่น และเครือข่ายปฐมภูมิ ให้มีการพัฒนาระบบสุขภาพร่วมกัน ภายใต้ความร่วมมือระหว่างเครือข่ายภาคสาธารณสุข และเครือข่ายจากภาคปกครองในหมู่บ้านต้นแบบด้านการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพโดยรวมาของประชาชนา ในการได้รับบริการทางสุขภาพในชุมชนต่อไป
ภายในงานได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตร์จารย์ ศศิธร สังข์อู๋ เป็นพิธีกรดำเนินรายการ ผศ.ดร. สุภาวดี พุฒิหน่อย และผศ.ดร. สุจิตรพร เลอศิลป์ อาจารย์ประจำภาควิชากิจกรรมบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วยแกนนำทางด้านสุขภาพทั้งหมด 3 ชุมชน อาทิ อ.สันผักหวาน, อ.สันนาเม็ง, อ.สารภี เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย

ร่วมแสดงความคิดเห็น