“วิจิตรศิลป์ มช.”สืบสาน ประเพณีล้านนาในพิธีแห่“สะเปาคำ”

อุทิศถวาย สะเปาคำ และสลากภัต น้อมเกล้าถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เวลา 08.30 น. คณะสงฆ์ ประชาชน สมาคมชาวอีสานเชียงใหม่ ภาครัฐ และเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมจัดพิธีถวายทานจอม หรือ ทานสะเปาคำ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล-อดุลยเดช เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นำไปเป็นพระราชพาหนะข้ามมหานที ศรีทันดร สู่สรวงสวรรค์ ซึ่งเป็นจารีตประเพณีที่พุทธศาสนิกชนชาวล้านนาที่ปฏิบัติสืบทอด กันมาแต่โบราณกาล โดยสะเปาคำ หรือ สำเภาทอง จะบรรทุกเครื่องอุปโภค บริโภค และ เครื่องสักการะชั้นสูง ได้แก่ หมากสุ่ม หมากเบ็ง ต้นผึ้ง ต้นเทียน ต้นดอก ต้นพลู และ ต้นเมี่ยง) เป็นต้น

สะเปาคำ เป็นชื่อของเรือชนิดหนึ่ง และมีชื่อเรียกว่า สำเภาบ้าง พาหนะข้ามน้ำ มหาสมุทรไปสู่อีกฝั่ง ในภาษาบาลีว่า สุวณณนาวา แปลว่า เรือทอง หรือ เรือทองคำ เพื่อยกย่องเทิดทูนบูชา สมพระเกียรติสมควรแก่การถวายพระราชกุศล

ขบวนแห่สะเปาคำจากคณะวิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าสู่วัดเจ็ดยอด พระอารามหลวง ประกอบด้วยสะเปาคำที่จัดสร้างขึ้นมี 4 ลำ
1.สะเปาคำ วัสดุทำด้วยเงิน กว้าง 19 ซม.ยาว 39 ซม. ลงรักปิดทองสร้างโดย คณะศรัทธา และ สมาคมชาวอีสานเชียงใหม่
2.สะเปาคำวัสดุทำด้วยไม้ไผ่สานแบบล้านนาดั้งเดิม ปิดทองกระดาษ กว้าง 1.50 x 2.5 เมตร สูง 3.40 เมตร สร้างโดย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3.สะเปาคำจากวัสดุไม้ไผ่ ลงรักปิดทอง ตรงกลางประดับซุ้มดอกไม้ และรายรดน้ำห้วท้ายสะเปาคำ กว้าง 29 ซม. ยาว 109 ซม. สูง 39 ซม.สร้างโดย คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4.สะเปาคำเครื่องสดสร้างโดยวัสดุไม้ไผ่ใบตอง ภายในเรือบรรจุเครื่องอุโภคบริโภค เป็นตัวแทนในการถวาย คล้ายสังฆทาน

เวลา 12.30 น.พิธีอุทิศถวาย“สะเปาคำ”และสลากภัต เพื่อเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ รศ.ดร.วรลักญจก์ บุณยสุรัตน์ คณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวรายงาน แก่ นายมนัส ขันใส ปลัดจังหวัดเชียงใหม่เป็นประธานในพิธี กล่าวเปิดงาน พิธีถวายสะเปาคำ และสลากภัต น้อมเกล้าถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ตามแบบล้านนา พิธีสลากภัต มีพระสงฆ์ร่วมพิธีจำนวน 194 รูป เส้นทั้งหมด 273 เส้น ถวายพระสงฆ์ 194 เส้น เหลือ 75 เส้น สลากโชค 26 เส้น ณ วัดเจ็ดยอด พระอารามหลวง ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่

ร่วมแสดงความคิดเห็น