มช.จัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “สมาคมวิจัยวัสดุแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1”

ศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ เตรียมจัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “สมาคมวิจัยวัสดุแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1” The First Materials Research Society of Thailand International Conference (1st MRS Thailand International Conference) ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม – 3 พฤศจิกายน 2560 ณ ศูนย์ประชุมดิเอ็มเพรสเชียงใหม่ โรงแรมดิเอ็มเพรส

รองศาสตราจารย์ ดร. สัมพันธ์ สิงหราชวราพันธ์ รักษาการรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่าสมาคมวิจัยวัสดุ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “สมาคมวิจัยวัสดุแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1” หรือ “The First Materials Research Society of Thailand International Conference (1st MRS Thailand InternationalConference)” ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม – 3 พฤศจิกายน 2560 ณ ศูนย์ประชุมดิเอ็มเพรสเชียงใหม่ โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ

ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยามหาวิทยาลัยนเรศวร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) และ บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด (เว็ปไซต์: http://www.mrs-thailand2017.science.cmu.ac.th/index.php)

การจัดการประชุมนี้มีเป้าหมายเพื่อเป็นเวทีให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้พบปะ แลกเปลี่ยนความรู้ และเทคโนโลยีใหม่ๆจากนักวิจัยที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านวัสดุทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความร่วมมือการวิจัยด้านวัสดุศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับสากล สนับสนุนการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการระดับนานาชาติและระดับชาติที่มี Peer Review เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ และสามารถต่อยอดงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้จริง นอกจากนี้เป็นการประชาสัมพันธ์ “สมาคมวิจัยวัสดุ” ให้เป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ

รวมทั้งเป็นศูนย์กลางความร่วมมือด้านวัสดุของประเทศไทยงานประชุมประกอบไปด้วย 20 Symposia ที่ครอบคลุมในทุกๆ ศาสตร์ของวัสดุและการประยุกต์ใช้ใหม่ๆ ที่ตอบสนองนโยบายThailand 4.0 ของรัฐบาล ทั้ง Old S-curve และ New S-curveการประชุมครั้งนี้เป็นการพบปะนักวิจัยที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวัสดุทั้งในและต่างประเทศกว่า 20 ประเทศ ทั้งทวีปอเมริกา ยุโรป เอเชีย และ ออสเตรเลีย ประมาณ 1,200 คน ประกอบด้วย

1) วิทยากรบรรยายรับเชิญทั้งหมดจาก 15 ประเทศคือ ไทย สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรีย ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เกาหลี สิงคโปร์ อินเดีย จีน ไต้หวัน มาเลเซีย อินโดนีเซียเวียดนาม และ ออสเตรเลีย จำนวน 107 คน

2) ผู้นำเสนอผลงานแบบปากเปล่าและโปสเตอร์ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน 750 คน

3) ผู้เข้าร่วมประชุม 100 คน (4) ผู้ติดตาม 12 คน (5) บุคลากรจากหน่วยงานร่วมจัดการประชุม ผู้สนับสนุนงบประมาณการประชุมคณะกรรมการจัดประชุม ประมาณ 250 คน

การประชุมวิชาการระดับนานาชาติสมาคมวิจัยวัสดุแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 นับว่ามีความสำคัญยิ่งต่อประเทศไทยเนื่องจากประเทศไทยมีความจำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีในสาขาวัสดุศาสตร์ ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ของสาขาเทคโนโลยีที่ได้รับการชี้บ่งว่าจะเป็นเทคโนโลยีหลักในการพัฒนาประเทศในระยะยาวและจำเป็นอย่างยิ่งในระยะ 20 ปีต่อจากนี้ เพื่อผลักดันโมเดลไทยแลนด์ 4.0 สำหรับ 5 อุตสาหกรรมใหม่หรืออุตสาหกรรมอนาคต (New S-curve) คืออุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (Robotics)อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals) อุตสาหกรรมดิจิตอล (Digital) และ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (New Growth Engines) ของประเทศ

ร่วมแสดงความคิดเห็น