ทุ่งหญ้าหน้าฝนปางอุ๋ง ไปหน้าหนาวก็ฟินได้เหมือนกัน

คำแรกที่ได้ยิน “ปางอุ๋ง” ทำให้คิดถึง “ปางอุ๋ง” ที่แม่ฮ่องสอน แต่ “ปางอุ๋ง”
คำนี้คือ “ปางอุ๋ง” ที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีชื่อเหมือนกัน

แต่ทว่ามีแตกต่างกันด้วยบริบทความหลากหลายของในพื้นที่
ปางอุ๋งแม่แจ่มมียอดเขาที่สูงที่สุดดอยพะติโด่
วิถีชาวม้งและชาวปกาเกอญอที่มีความผูกพันกับการเลี้ยงช้างที่สนใจของชาวต่าง
ประเทศที่อยากมาศึกษา
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ได้จัดกิจกรรมFAM
TRIPแนะนำแหล่งท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่โครงการหลวงให้แก่สื่อมวลชนในทริปโ
ปรแกรม “ปางอุ๋ง ทุ่งหญ้าหน้าฝน” ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปางอุ๋ง
บ้านปางอุ๋ง ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
จากเชียงใหม่ไปตามถนนสายเชียงใหม่-หางดง ทางหลวงหมายเลข 108
พอถึงอำเภอจอมทองแล้วเลี้ยวขวาขึ้นดอยอินทนนท์ เส้นทางหมายเลข 1009
พอถึงจุดตรวจที่ 2 เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางหมายเลข 1192 57
อำเภอแม่แจ่มไปตามเส้นทางหมายเลข 1088 ถึงบ้านแม่นาจร
เลี้ยวซ้ายตรงไปตามเส้นทางหมายเลข 1263 ตรงไปประมาณ 30 กิโลเมตร
ถึงหมู่บ้านห้วยผักกูด เดินทางต่อไปอีก 10 กิโลเมตรถึง
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปางอุ๋ง

จุดหมายแรกเราคือ “ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปางอุ๋ง” ตำบลแม่ศึก
อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2522 เพื่อลดการปลูกฝิ่น
การตัดไม้ทำลายป่าและการทำไร่เลื่อนลอย
โดยเน้นผลไม้เมืองหนาวเพื่อสร้างรายได้แทนการปลูกฝิ่น โดยมาเจ้าหน้าที่
คุณอำพร จันทร์ตา เป็นไกด์นำเที่ยวชมแปลงสาธิตภายในศูนย์ฯมีไผ่
อะโวคะโดพันธุ์แฮส ต้นตองก้อ
จากนั้นไปชมสวนองุ่นไร้เมล็ดพันธุ์FAMของคุณบรรญวิชญ์ วงศ์ศรีเกษตร
บนพื้นที่ขนาด 1 ไร่ โรงเรือนควบคลุมดูแลปลูกองุ่นอย่างดี องุ่นจำนวน 100 ต้น
ที่กำลังติดผลสวยให้รสหวานกรอบอร่อยที่ให้ได้ชิมลอง
แล้วมาเปลี่ยนรถเป็นรถ 4Wที่จะพาลุยนำคณะเรามุ่งสู่ “ดอยพะติโด่”
ในภาษาปกาเกญอคำว่า “พะติ” แปลว่า ลุง ส่วนคำว่า “โด่”แปลว่า สูง
ซึ่งพอรวมกันแล้วแปลว่า ดอยที่สูงใหญ่ เทือกเขานี้มีพื้นที่ครอบคลุมถึง 2 อำเภอ
คือ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน
มีความสูงจากระดับน้ำทะเลที่ 1,800 เมตร

สายหมอกขาวที่ลอยปกคลุมดอยสูงทำให้หลายคนที่ถอนใจขอรอชมอยู่เบื้องล่าง
เส้นเดินขึ้นดอยเป็นเส้นรอบวงกลมผ่านดงกุหลาบพันปีกว่า 70 ต้น เป็นสกุล
“กุหลาบพันปีคำแดง(Rhododendron arboretum)”จะออกดอกในช่วงเดือนมกราคม
ไปจนถึงกุมภาพันธ์ที่เราจะสามารถมาชมกันได้
แล้วสายลมก็พัดสายหมอกเปิดให้เราได้ชมความมหัศจรรย์ของขุนเขา
แล้วลงจากดอยพะติโด่เดินทางไปยัง
“โฮมสเตย์คนเลี้ยงช้างบ้านห้วยผักกูด” ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม
จังหวัดเชียงใหม่

จากคำบอกเล่าของพ่อหลวงมานิต เจริญบรรพต เล่าถึง
“บ้านห้วยผักกูด” เมื่อก่อนเรียกว่า ห้วยพระกูด
เพราะว่าได้พบพระพุทธรูปในลำห้วย ไม่มีใครกล้าไปรบกวนทิ้งไว้อยู่ที่ลำห้วย
จนกระทั่งปัจจุบันได้เพี้ยนมาเป็น “บ้านห้วยผักกูด”
จนเป็นที่มาของซึ่งผักกูดก็เป็นผักน้ำชนิดหนึ่งที่ขึ้นมากในลำห้วยสามารถนำมารับ
ประทานได้
อาหารค่ำจากแต่ละบ้านก็มารวมที่บ้านพ่อหลวง
ด้วยเมนูพื้นบ้านปกาเกอะญอให้หลายคนร่วมรับทานอย่าง อะเล็ดอร่อย
หลังอาหารค่ำชมการแสดงราวกระทบไม้ปกาเกอญอ ไม้ไผ่ยาว 6 คู่ ผู้เคาะ 12 คน
เคาะจังหวะกระทบไม้…ชิด…ชิด…แยก…ให้เราลงเท้าก้าวข้ามที่จะไม่ถูกโดนไม้ห
นีบขาเราที่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาร่วมเล่นให้ความสนุกสานาแล้วกลับบ้าน
ที่พักโฮมสเตย์
บ้านเรือนที่ปลูกกระจายตามเชิงเขาโอบล้อมป่าผืนใหญ่
อากาศยามเช้าที่สดชื่นเย็นสบายมีสายฝนโปรยปรายเล็กน้อย
เช้านี้คณะเราเดินทางชมวิถีชีวิตการเลี้ยงช้างของชาวปกาเกอะญอ
รถนำออกจากหมู่บ้านมาส่งยังบริเวณป่าเชิงเขาแล้วเดินเท้ากันต่อผ่านป่าชุมชน
แล้วมาพบมีช้าง 3 เชือก ประกอบด้วย แม่ทองดี แม่สัจจะ และมานะ
แต่ละเชือกกำลังอร่อยอยู่กับใบไผ่ โดยมีควาญดูแลอย่างใกล้ชิด
และชาวต่างชาติสนใจติดตามศึกษา
จุดที่เลี้ยงช้างจะเปลี่ยนไปตามแหล่งอาหารต่างๆซึ่งในพื้นที่ป่าของชุมชน แล้วFAM
TRIP ก็สิ้นสุดลงพร้อมกับเดินทางกลับ

ร่วมแสดงความคิดเห็น