อบรมสุขาภิบาลอาหารสำหรับโรงเรียนฯ

กลุ่มงานอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ร่วมกับโครงการส่งเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อนอาหารเพื่อสุขภาพในเด็กเล็กเอกชน โดยการสนับสนุนของ สสส. จัดอบรมสุขาภิบาลอาหารสำหรับโรงเรียน ศูนย์เด็กเอกชนจังหวัดเชียงใหม่และมอบป้ายมาตรฐานอาหารปลอดภัย โดยมี นางศรีเกษ ธัญญาวินิชกุล รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดอบรมและมอบป้าย ณโรงแรมเมอร์เคียว เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2560ที่ผ่านมา

นางศรีเกษ ธัญญาวินิชกุล รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า สถานการณ์การบริโภคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย นอกจากการมีผู้บริโภคเพิ่มขึ้น กระแสความต้องการอาหารเพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่หลากหลายของผู้บริโภค มีการแบ่งแยกการบริโภคการแยกสินค้าให้ตรงกับกลุ่มผู้บริโภค เช่น แบ่งตามเพศ ชาย หญิง และแบ่งสินค้าบริโภคตามวัยหรือกลุ่มอายุ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อการผลิต การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากขึ้น การเพิ่มสารเคมีในสัตว์เลี้ยงที่เป็นอาหาร เช่น หมู่ เนื้อ ไก่ ไข่ ปลา ส่งผลต่อการดื้อยาของจุลินทรีย์ก่อโรคการกลายพันธุ์ของเชื้อโรค การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะผู้บริโภคในกลุ่มเด็กเล็ก ที่ไม่สามารถเลือกอาหารสะอาดปลอดภัย ให้เหมาะกับพัฒนาการทางด้านร่างกายและสมองได้

จากการสำรวจศูนย์เด็กเล็กที่อยู่ในความดูแลของภาคเอกชน จำนวน 165 แห่งในจังหวัดเชียงใหม่ ในปี 2559 ของโครงการส่งเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อนอาหารเพื่อสุขภาวะในศูนย์เด็กเอกชน ร่วมกับกลุ่มงานอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ด้านการดูแลการเจริญเติบโตสมวัยตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กคุณภาพของกรมอานามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่า เด็กเล็กที่อยู่ในศูนย์เด็กเอกชน ร้อยละ 90 ขาดโอกาสในการเข้าถึงการสร้างเสริมสุขภาพที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย จิตใจ และสมองจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

ร้อยละ 85 ผู้ประกอบการศูนย์เด็กเล็กเป็นผู้ดูแลจัดการอาหารกลางวัน อาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มเอง,ร้อยละ 16 ผู้ประกอบการจ้างแม่บ้านเป็นคนปรุงประกอบอาหาร ซึ่งร้อยละ 100 ของผุ้ปรุงอาหารไม่ผ่านการอบรมการสุขาภิบาลอาหารหรือการโภชนาการ,ร้อยละ 98 ผู้ประกอบการซื้อ ผัก ผลไม้ในตลาดสด ใกล้สถานประกอบการดูแลเด็ก ร้อยละ 2 สิ่งซื้อจากพ่อค้าคนกลางจัดส่งให้กับศูนย์เด็ก นอกจากนั้นยังพบว่าร้อยละ 95 ของศูนย์เด็กเล็กขาดอุปกรณ์ส่งเสริมพัฒนาการตามวัยของเด็ก ร้อยละ 29 สภาพอากาศในห้องนอน ห้องเรียน ห้องพัก ไม่เหมาะสม อากาศถ่ายเทได้น้อย แสงสว่างไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน

กลุ่มงานอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย จึงร่วมกับโครงการส่งเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อนอาหารเพื่อสุขภาพในเด็กเล็กเอกชน โดยการสนับสนุนของ สสส. จัดอบรมสุขาภิบาลอาหารในศูนย์เด็กเล็กขึ้น เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดอาหารในศูนย์เด็กเล็กของภาคเอกชน สามารถจัดการและให้บริการอาหารที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตทางกาย ใจ สังคม และสมอง ของเด็กเล็ก

ภายใต้การดูและของศูนย์เด็กเล็กทุกศูนย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป พร้อมทั้งสามารถพัฒนาเป็นต้นแบบของศูนย์เด็กเล็กเอกชนของจังหวัดเชียงใหม่ และในวันนี้ได้มีการมอบป้ายมาตรฐานการจำหน่ายอาหารปลอดภัยแก่ร้านอาหารที่เลือกพืชอาหารไร้สารเคมีปรุงประกอบอาหารจำหน่ายแก้ผู้บริโภค โดยผ่านการตรวจประเมินคุณค่าสารอาหารต่างๆ คำนวณจากโปรแกรม The NutriServey ของสำนักโภชนาการ กรมอนามัยและคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล โดยคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้เป็นตัวอย่างแก่ร้านอาหาร โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็กต่อไป

การจัดอบรมในครั้งนี้มีผู้เข้ารับการอบรมเป็นผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการอาหารในศูนย์เด็กเล็กเอกชน จาก อำเภอเมือง สันทราย สันกำแพง แม่ริม หางดง สันป่าตอง รวม 23 แห่ง จำนวน 70 คนและได้รับการสนับสนุนวิทยากรจากศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่,โรงพยาบาลนครพิงค์ เทศบาลนครเชียงใหม่ เทศบาลเมืองแม่เหียะ ผู้แทนจากกลุ่มกรีนดอยหล่อ กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มงานอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนังกานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่

ร่วมแสดงความคิดเห็น