จากใบเมี่ยง มาเป็นใบชาตุณภาพดี สมพล.ลุยสวนชาเอง

นายสมพล แสนคำ เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมประชุมกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับพื้นที่ ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่โครงการความร่วมมือในการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการปลูกชา ในพื้นที่โครงการพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “จากเมี่ยงสู่ชาคุณภาพที่ปางมะโอเชียงใหม่”

“ชา “หลายคนจะนึกถึงสวนชาอู่หลง และไร่ชาที่มีชื่อเสียงในจังหวัดเชียงราย แต่วันนี้เราจะมาทำความรู้จักพื้นที่การผลิตชาแห่งหนึ่งที่อยู่ในโครงการสืบเนื่องมาจากพระราชดำริฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เพื่อพัฒนาและส่งเสริมอาชีพปลูกชาโครงการพระราชดำริฯ ตลอดจนการแปรรูป และพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาอัสสัม ในพื้นที่ม. 9 ปางมะโอ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

ซึ่งเป็นพื้นที่อยู่ในเขตอำเภอเชียงดาว เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร อยู่ที่ความสูงกว่าระดับน้ำทะเลกว่า1,000-1,500เมตร แต่เดิมเกษตรกรส่วนใหญ่ในพื้นที่บ้านปางมะโอประกอบอาชีพทำสวนเมี่ยง ” เมี่ยง”ซึ่งเป็นชื่อเรียกท้องถิ่นทางคนภาคเหนือ ซึ่งคนทั่วไปจะรู้จักกันในชื่อต้นชาอัสสัมเป็นไม้ยืนต้น ใช้ส่วนของใบ มาประกอบอาหารเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับคนภาคเหนือซึ่งเป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมการบริโภค ที่นำใบไปนึ่งรับประทานกับเกลือคล้ายหมาก หรือแม้กระทั่งปรุงอาหาร อาทิเช่นยำใบเมี่ยง น้ำเมี่ยง ยาเมี่ยง เป็นต้น

นายสมพล แสนคำ เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ แท้จริงแล้วนั้น สวนเมี่ยงที่กล่าวถึงก็คือการทำสวนชาอัสสัม ที่เกษตรกรในชุมชนผลิตกันอยู่แล้วแต่เป็นการผลิตแบบดั้งเดิมโดยไม่มีการตัดแต่งกิ่ง หรือการแปรรูปหรือแม้กระทั่งการดูแลที่ถูกต้อง จนในปีพ.ศ. 2553 กรมส่งเสริมการเกษตรได้ มีโอกาสสนองงานตามแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพปลูกชาตามพระราชดำริ ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ บ้านปางมะโอ ต.เมืองนะ จ.เชียงใหม่

มีพื้นที่ปลูกชาอัสสัมทั้งหมดประมาณ 1,700 ไร่ เกษตรกรกว่า60 ครัวเรือน โดนมีลักษณะการส่งเสริมการปลูกชาแบบวนเกษตร( Agro-foresty) เพราะชาอัสสัมหรือชาเมี่ยงสามารถเจริญอยู่ได้ใต้ร่มเงาไม้ป่า อาศัยความชุ่มชื้นในระบบนิเวศน์ธรรมชาติ ใช้ประโยชน์ที่ดินบนพื้นที่สูง ที่เหมาะกับการอนุรักษ์ดินและน้ำ ตามวิถีชีวิตของคนในชุมชนที่อาศัยป่า กว่า9,100ไร่ในการดำรงค์ชีวิต โดยรูปแบบการผลิตไม่รบกวนระบบนิเวศ โดยไม่ใช้สารเคมีใดๆ มีระเบียบข้อบังคับกลุ่มที่ชัดเจน

ส่วนในการเก็บชาเมี่ยงของเกษตรกรพื้นที่บ้านปางมะโอนั้นนายวิทวัส จิโน ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้ข้อมูลว่าจะเริ่มเก็บชาตั้งแต่เดือนเมษายน ถึงเดือนธัวาคมเฉลี่ยเดือนละ6,000กิโลกรัม โดยการจำหน่าย นั้นเกษตรกร จะจำหน่ายเป็นเมี่ยงสด ราคากิโลกรัมละ20-30บาทต่อกิโลกรัม และแปรรูปเป็นชาเมี่ยงจำหน่ายกิโลกรัมละ 150 บาทขึ้นสร้างมูลค่าให้กับชุมชนปีละล้านกว่าบาท ทำให้ชุมชนและคนในชุมชนสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดี เกิดความมั่นคงด้านอาชีพสามารถพึ่งตนเองได้บนพื้นฐานความพอเพียง รักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อมใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งทางภาครัฐและเอกชน นำไปสู่การพัฒนาของชุมชน….ที่เปี่ยมด้วยความรับผิดชอบของคนต้นน้ำสู่คนปล่ายน้ำโดยวิถีการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่เรียกว่าการเกษตรทียั่งยืน

ท.ลุงเกษตร

ร่วมแสดงความคิดเห็น