พ่อเมืองเชียงใหม่ ประชุมติดตามผลการร่วมป้องกัน และลดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2561

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 4 ม.ค.61 ที่ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการศาลากลาง จ.เชียงใหม่ นายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผวจ.เชียงใหม่ เป็นประธานในการปิดศูนย์ปฏิบัติการร่วมป้องกัน และลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 61 ระหว่างวันที่ 28 ธ.ค.60 – 3 ม.ค.61 โดยมี หน.ส่วนราช การ และ จนท.เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม เพื่อรับฟังรายงานของผลการดำเนินงานตลอดของการเฝ้าระวัง ซึ่งในปีนี้ จ.เชียงใหม่ มีจำนวนครั้งอุบัติเหตุสะสม เกิดอุบัติเหตุ 7 วันระวังอันตราย รวม 127 ครั้ง
ส่งผลทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ จำนวน 135 คน และเสียชีวิต 10 คน สำหรับสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุพบว่า ส่วนใหญ่เกิดจากการขับขี่ด้วยรถ จ.ย.ย. ทั้งผู้ขับขี่และผู้ซ้อนท้ายที่ไม่สวมหมวกนิรภัย ผู้ขับขี่ดื่มสุรา ขับรถผิดกฏจราจร หลับใน ตัดหน้ากระชั้นชิด ไม่คาดเข็ม  ขัดนิรภัย ขับรถเร็วเกินกำหนด และทัศนวิสัยไม่ดี

จากผลการดำเนินการของศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 61 หรือช่วงเฝ้าระวัง 7 วันอันตราย ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 28 ธ.ค.60 มาจนถึงวันที่ 3 ม.ค.61 พบว่าสถิติการเกิดอุบัติเหตุ รวมทั้งสถิติผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตของ จ.เชียงใหม่ เมื่อเปรียบเทียบโดยค่าเฉลี่ยแล้ว ถือว่าลดลงในทุกด้าน โดยสถิติอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในห้วงดังกล่าวมีทั้งสิ้น 127 ครั้ง ซึ่งลดลงร้อยละ 9.93 จากค่าเฉลี่ยทั้ง 3 ปี และในส่วนของผู้บาดเจ็บมีจำนวนทั้งสิ้น 135 คน ซึ่งลดลงไปจากสถิติเดิมร้อยละ 6.25 และสถิติผู้เสียชีวิตมี 10 ราย ลดลงไปร้อยละ 16.67 ซึ่งเป็นความสำเร็จในการปฏิบัติงานของ จนท.ทุกฝ่าย

โดยเฉพาะในเรื่องของการใช้มาตรการในการเฝ้าระวัง ตรวจจับ จากผลการดำเนินการในครั้งนี้ มีการตรวจจับผู้กระทำความผิดได้ทั้งหมด 77,770 คัน และมีการปรับดำเนินคดีถึง 25,129 คัน โดยความผิดที่พบมากที่สุดคือไม่มีใบอนุญาตขับขี่ และการไม่สวมหมวกนิรภัย และนอกจากนี้หากมาทบทวนการเกิดอุบัติเหตุจะพบว่า สาเหตุที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากการขับขี่รถขณะเมาสุรา การขับรถเร็วเกินกำหนด สวนใหญ่เกิดจากรถ จ.ย.ย.เป็นส่วนใหญ่

ขณะเดียวกันสิ่งที่ จ.เชียงใหม่ มีความห่วงใยคือ เรื่องของการเกิดอุบัติเหตุใหญ่ หรืออุบัติเหตุหมู่ถึง 3 ครั้ง โดยครั้งแรกที่ อ.ฮอด ครั้งที่สองที่ อ.ฝาง และครั้งที่สามท่ อ.พร้าว ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องมีการวิเคราะห์อย่างเช่น กรณีการเกิดอุบัติเหตุที่ อ.ฮอด ที่ผู้เดินทางมากันแบบครอบครัว ขับขี่รถโดยไม่รู้หรือไม่ชินเส้นทางเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น จึงต้องวิเคราะห์ว่าเส้นทางหลักนั้น มีป้ายเตือนเพียงพอหรือไม่ ส่วนที่กรณีการเกิดอุบัติเหตุของ อ.ฝาง นั้น ก็มีด้วยกันสองกรณีคือ ผู้เช่าได้เช่ารถที่ไม่ถูกต้อง และผู้ขับขี่ที่ทำไม่ถูกต้อง เนื่องจากไม่ใช่รถสาธารณะหรือรถรับจ้าง ที่มีประสบการณ์ในการพารถพาคนเดินทางไป

ส่วนของกรณี อ.พร้าว นั้น เป็นเรื่องที่เกิดจากความประมาทของครอบครัว ซึ่งตรงจุดนี้จะต้องมีการมุ่งเน้นในการดำ เนินการต่อไป โดยอย่างแรกคือการสร้างจิดสำนึกให้มากขึ้น โดยเฉพาะการใช้กลไกของหมู่บ้าน ของชุมชน ในการเข้าไปดูแลให้คำแนะนำ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และสามารถป้องกันได้ด้วยความไม่ประมาท โดยสวมหมวกนิรภัย และการคาดเข็มขัดนิรภัย เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุอีกทางหนึ่ง

นอกจากนี้จะต้องเน้นในมาตรการการควบคุมการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ที่หลายที่เกิดเหตุมีเยาวชนอายุแค่ 17 ปี เสียชีวิต ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบว่า ร้านค้าได้มีการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้กับผู้เสียชีวิตในวันเกิดเหตุจริงหรือไม่ เพื่อจะใช้ดำเนินการตามคำสั่งของ คสช.ต่อไป

ซึ่งในการจำหน่ายสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ไม่มีใบอนุญาต ก็จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย รวมไปถึงการควบคุมจุดเสี่ยงทั้งจุดเสี่ยงทางหลวง และทางชุมชน โดยต้องมีการดูแลควบคู่กันทั้งทางราชการ และชุมชน ในการช่วยกันลดจุดเสี่ยง โดยคาดหวังว่าการณรรงค์ที่ดำเนินการ จะช่วยให้ประชาชนและนักท่องเที่ยว รวมทั้งคนในจังหวัดเกิดความตระหนักและความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

ร่วมแสดงความคิดเห็น