ยุวเกษตรกร 1 ใน 9 ระดับประเทศ ในวันเด็กปี 61 เชียงใหม่

“ยุวเกษตรกร 1 ใน 9 ระดับประเทศ ในวันเด็กปี 61 เชียงใหม่”
วันที่ 9 ม.ค.61 เวลา 09.00 น. นายสมพล แสนคำ เกษตร จ.เชียงใหม่ พร้อมหน่วยงานราชการในพื้นที่ นำโดยนายอรุณ ศรีใส นอภ.ดอยหล่อ ให้การต้อนรับคณะกรรมการในการประกวด สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรดีเด่น ระดับประเทศ ปี 2561 ที่โรงเรียนสันติสุข อ.ดอยหล่อ “รู้คิด รู้เท่าทัน สร้างสรรค์ เทคโนโลยี”
จากคำขวัญวันเด็กปี 61 ของนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ให้ไว้เป็นแนวทางการปฎิบัติ เพื่อประสงค์ให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียน และนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
กรมส่งเสริมการเกษตร โดยสำนักงานเกษตร จ.เชียงใหม่ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทเยาวชนชาวไทย ในการพัฒนาประเทศ เพราะเด็กวันนี้จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า และจะกลายเป็นแรง เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ จึงนับว่าเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาเริ่มจากโรงเรียน ครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติ ด้วยงานยุวเกษตรกรที่ จ.เชียงใหม่ มึถึง 125 กลุ่มแบ่งเป็นในระบบการศึกษา123 กลุ่ม นอกระบบการศึก ษา 1 กลุ่ม และสุดท้ายระบบอุดมศึกษาแห่งแรกในประเทศไทย ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้อีก 1 กลุ่ม จำนวนสมาชิกทั้งหมด 2,500 คน
ดังตัวอย่างยุวเกษตรกรดีเด่น น.ส.จิต นำไพร ที่เป็นตัวอย่างเด็กดีเด็กเก่ง ที่สามารถดำรงชีวิตด้วยเจตนคติมุ่งมั่นในการเรียน และการศึกษาเพื่อการประกอบอาชีพ ด้วยพื้นฐานทางภูมิสังคม ครอบครัวที่เป็นชาติพันธุ์ ประ กอบอาชีพเกษตร บนที่สูงถือเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร บนยอดดอยที่มีชื่อเสียงของ จ.เชียงใหม่ ที่รู้จักกันดีคือดอยอินทนนท์ ซึ่งครอบครัวและชุมชนนั้นประกอบอาชีพเกษตรกรรมปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ภายใต้โครงการหลวง
ซึ่งผลิตตามระบบGAP อยู่แล้ว พืชที่ปลูกได้แก่ พืชผักเมืองหนาว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มะเขือเทศที่ประสบปัญ หาโรค อย่างโรคโคนเน่า โรคเหี่ยว ที่ทำให้ผลผลิตเสียหาย จึงได้นำความรู้ด้านการใช้สารชีวภัณฑ์ ในการป้อง กันโรค แมลงศัตรูพืช เชื้อราไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย โดยรับการถ่ายทอดจากสำนักงานเกษตร อ.ดอยหล่อ ปฎิบัติในแปลงที่โรงเรียนสันติสุข โดยและรับการสนับสนุนจาก นายณรงค์ศักดิ์ จำรูญหิน ผู้อำนวยการฯ ในโครง การอาหารกลางวันของโรงเรียนฯ เห็นว่าใช้ได้ผลดี ก่อเกิดรายได้ในรูปแบบสหกรณ์ ไม่เป็นพิษ หรือตก ค้างในร่างกาย รวมถึงสิ่งแวดล้อม เป็นการลดต้นทุนการผลิต จึงตั้งใจขยายสู่ครอบครัว และชุมชน
โดยใช้กระบวนการกลุ่มที่ได้เรียนรู้จากกลุ่มยุวเกษตรกร จนทำให้ชุมชนเกิดการยอมรับในเทคโนโลยี นำไปใช้ในชุมชน และยังได้รับรับเชิญเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ ที่เกิดจากการปฏิบัติจริงในการใช้สารชีวภัณฑ์ ให้กับเกษตรกรครอบครัวอื่นๆในชุมชนและประเทศชาติ ทำให้ผลงานเป็นที่ประจักษ์จนเป็น 1 ใน 9 กลุ่มระดับประเทศและเป็นตัวอย่าง เป็นแรงบันดาลใจ แก่เยาวชนในยุคไทยแลนด์ 4.0 ต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น