โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน 165 โรงเรียนเชียงใหม่

วันที่ 15 มกราคม 2561 เวลา 13.30 น. นายสมพล แสนคำ เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานการประชุมคณะทำงานเตรียมการรับเสด็จฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินทรงงานในพื้นที่โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน จำนวน 6 แห่งในอำเภอ อมก๋อย พร้าว แม่แจ่ม รวมถึงศูนย์อำนวยการโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ อำเภอสันป่าตอง ระหว่างวันที่ 22 – 25 มกราคม 2561

โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน เป็นโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กเล็ก และเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยทรงเล็งเห็นว่าการพัฒนาจะนำไปสู่การเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กทั้งร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์ได้อย่างเต็มศักยภาพ ทำให้เด็กเติบโตอย่างคนที่มีคุณภาพ เป็นกำลังที่จะช่วยพัฒนาชุมชน ของตนเองและประเทศชาติต่อไป ทรงเริ่มต้นการดำเนินงานในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนและขยายผลต่อไปยังโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน และโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม โดยมุ่งเน้นให้นักเรียน ครู และผู้ปกครอง ร่วมกันทำการเกษตรในโรงเรียนแล้วนำผลผลิตที่ได้มาประกอบเป็นอาหารกลางวัน ซึ่งนอกจากจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหารกลางวันแล้วยังทำให้นักเรียนได้รับความรู้ด้านโภชนาการและด้านการเกษตรแผนใหม่ที่สามารถนำไปใช้ประกอบ เป็นอาชีพต่อไป

โดยในพื้นที่ทรงงานตามโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ในส่วนกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้สนองงานนั้น มีพื้นที่รับผิดชอบดำเนินโครงการฯจำนวน 50 จังหวัดทั่วประเทศ โรงเรียน 733 โรงเรียน แบ่งเป็น
-โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จานวน 212 โรงเรียน
-โรงเรียนสังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) จานวน 192 โรงเรียน
-โรงเรียน กศน. จำนวน 280 โรงเรียน
-โรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม จำนวน 15 โรงเรียน
-โรงเรียนในสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต./อบจ.) จานวน 9 โรงเรียน
-โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร 25 โรงเรียน

จังหวัดเชียงใหม่นั้น มีกิจกรรมการดำเนินงานจำนวน 165 โรงเรียน โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารมีอาหารบริโภคเพียงพอกับความต้องการของนักเรียน
2. นักเรียนมีความรู้และมีทักษะทางด้านการเกษตร สามารถพึ่งพาตนเองและนาไปพัฒนาท้องถิ่นได้
3. โรงเรียนเป็นจุดเรียนรู้และขยายผลสู่ชุมชน

โดยกิจกรรมที่ดำเนินงานนั้นทำงานแบบประสานความร่วมมือบูรณาการทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง มีทั้งกิจกรรมการอบรมครู และนักเรียนให้มีความรู้ทางด้านการเกษตรจากการสาธิต และปฏิบัติจริง จัดทำแปลงผลิตพืชในโรงเรียน ให้สอดคล้องกับการประกอบอาหารร่วมกับโรงเรียนและชุมชน ส่งเสริมอาชีพการเกษตรและเคหะกิจเกษตรในหมู่บ้านที่โรงเรียนตั้งอยู่ เพื่อให้ครูและนักเรียนตลอดจนถึงชุมชน สามารถวางแผนการผลิตให้ได้ครบเพียงพอตามหลักโภชนาการ ตลอดจนถึงเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชนพัฒนาจนสามารถเป็นต้นแบบให้เกษตรกรเข้ามาเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาการเกษตรใน ถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสืบไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น