ม.แม่โจ้สร้างฝายมีชีวิต ประสบผลสำเร็จเกินคาด

ฝาย มีชีวิต ม.แม่โจ้ สร้างขึ้นมาได้ผลเกินคาด กว่า 10 ปีมานี้ประเทศไทยและทั่วโลกประสบปัญหาความเดือดร้อนห่างจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก เอลนิโน่ (El Nina) และ ลานิญ่า (La Nina) และการที่มนุษย์เราเองใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลืองส่งผลอย่างรุนแรงต่อสภาพแวดล้อมป่าไม้ถูกทำลายความแห้งแล้ง น้ำท่วม น้ำหลาก โคลนถล่มโดยเฉพาะน้ำ น้ำเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นต่อวิถีชีวิตภาคการเกษตร

ฝายมีชีวิต เป็นกระบวนการบรรเทาปัญหา น้ำท่วม น้ำหลาก ปัญหาน้ำแล้ง ปัญหาน้ำใต้ดิน ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ปัญหาเศรษฐกิจชุมชน ปัญหาสังคมเมือง โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านผสมผสานกับแนวคิดการจัดการตนเองของชุมชน กล่าวคือฝายมีชีวิตเป็นกระบวนการให้ชุมชนลุกขึ้นมาเรียนรู้ข้อมูลน้ำของชุมชน โดยชุมชน จนชุมชนสามารถจัดการน้ำได้เอง มีกระบวนการจัดการอย่างเป็นระบบ ดังนั้นฝ่ายมีชีวิตไม่เพียงเป็นการจัดการน้ำเท่านั้นแต่ยังเป็นการจัดการความรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กลับคืนมาเป็นการจัดการระบบนิเวศให้อยู่คู่กับสังคม บนหลักเรียนรู้ คือต้องมีข้อมูลเชิงนิเวศของสายน้ำ ลำห้วยก่อสร้างจนถึงปัจจุบัน ว่ามีพืชมีสัตว์อะไรอยู่บ้าง แต่ละอย่างมีความสำคัญมีประโยชน์ต่อชีวิตและธรรมชาติอย่างไร และถ้าจะฟื้นสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาจะต้องทำอย่างไร การจัดทำฝาย มีชีวิตเริ่มต้นเกิดจากการป้องกัน และแก้ปัญหาน้ำท่วมเมืองนครศรีธรรมราชที่เป็นบ้านนบเตียน แต่ ความรู้นี้ได้นำไปสู่การแก้ปัญหาน้ำแล้ง ในรูปการจัดการระบบนิเวศทางระบบลุ่มน้ำ จึงเกิดฝายมีชีวิตเพิ่มขึ้น ในนครศรีธรรมราชจำนวนมากปัจจุบันได้มีการนำไปขยายผลไปสร้างยังแหล่งน้ำป่าทั่วประเทศกว่า 500 ฝาย โดยมีพี่เลี้ยงจากเครือข่ายฝายมีชีวิตแห่งประเทศไทย ประโยชน์ของฝายมีชีวิต

 

 

1. ในช่วงหน้าน้ำหลากฝายมีชีวิตชะลอกักเก็บน้ำไม่ให้ปริมาณน้ำไปท่วมในพื้นที่เกษตรและชุมชนเมืองแต่ในขณะเดียวกันปริมาณน้ำของฝายมีชีวิตจะซึมไปสองข้างฝายเพื่อช่วยให้ระบบนิเวศในพื้นที่รอบๆมีความชุ่มชื้นตลอดเวลา

2. ในช่วงหน้าแล้งฝายมีชีวิตจะช่วยระบายน้ำและความชุ่มชื้นออกมาให้ชาวเมืองชาวบ้านได้ใช้ตลอดช่วงหน้าแล้ง

3. เป็นวัสดุธรรมชาติเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ไม่ใช้โครงสร้างแข็งที่เป็นสิ่งแปลกปลอมทางธรรมชาติเช่นปูนเหล็กตะปูลวด

4. ตัวฝายเป็นตัวกั้นน้ำดินเป็นตัวเก็บน้ำพืชทั้งสองฝั่งคลองเป็นตัวเก็บน้ำและให้น้ำ 5. มีระบบนิเวศวิทยาสมบูรณ์ทั้งพืชและสัตว์

ส่วนประกอบของฝาย

1. บันไดนิเวศน์ เป็นขั้นบันได 3-4 ขั้น ทั้งหน้า และหลังตัวฝายเพื่อช่วยในการและระบายน้ำ เพื่อไม่ให้ตะกอนดินที่ไหลมากับน้ำทับถม และยังทำให้สัตว์น้ำปลาต่างๆว่ายทวนน้ำไปวางไข่ได้ตลอดสาย

2. หูช้างและข้าวเหนียวปิ้ง เป็นโครงสร้างด้านข้างที่ยึดระหว่างตลิ่งเดิมกับตัวไฟล์ให้เกิดความแข็งแรงใช้ไม้ไผ่ที่สามารถแตกหน่อเติบโตได้ ปักเป็นแนวใช้ไม้ไผ่หรือไม้อย่างอื่นผูกด้วยเชือกเป็นหูช้างก่อนที่จะใช้กระสอบที่บรรจุทรายวางทับเป็นชั้นๆ หลายแห่งใช้ดินผสมขี้วัวเพื่อปลูกต้นไทร ซึ่งเมื่อต้นไทรโตขึ้นรากของมันจะชอนไชสานตัวเขื่อน ให้มีความมั่นคงแข็งแรงมากยิ่งขึ้น

3. ตัวฝาย สำหรับกั้นน้ำอยู่ส่วนกลางฝายใช้ ไม้ไผ่ ตัดตามขนาดผูกด้วยเชือกและใช้กระสอบทรายวางเรียง

4. ต้นไม้บนหูช้างโดยใช้ไม้ชนิดที่มีรากยึดดินได้ดี เช่น ต้นไทร

ฝายมีชีวิตจำนวนสองฝายของ ม.แม่โจ้ ได้ขึ้นทะเบียนเครือข่ายฝายมีชีวิตแห่งประเทศไทยได้ลำดับที่ 499 และ 500 ใช้ชื่อฝายว่า ม.แม่โจ้ (ห้วยโจ้1 และ ห้วยโจ้ 2) ซึ่งฝายตัวที่ 1 มีขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 9 เมตร และสูง 1.20 เมตร ส่วนฝายตัวที่ 2 ซึ่งอยู่ ณ ครัวอิ่มอุ่นพี่เพื่อน้อง มีขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 6 เมตร และสูง 1 เมตร

มหาวิทยาลัยแม่โจ้สร้างฝายห้วยโจ้ 1 และห้วยโจ้ 2 เป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่2 ของประเทศไทยที่ฟื้นฟูแหล่งน้ำ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้ทั้งด้านวิชาการและเชื่อมโยงบูรณาการกับการเรียนการสอน การศึกษา การวิจัย แก่คณาจารย์และนักศึกษาตามศาสตร์แห่งพระราชา ทั้งยังเป็นวัฒนธรรมองค์กร เรียนรู้ด้านการเกษตรอย่างยั่งยืนสนองยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ด้านการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว และมหาวิทยาลัยแห่งชีวิต ได้อย่างชัดเจนการสร้างฝายมีชีวิตนี้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2560 เป็นต้นมาถึงวันนี้โดยได้รับการสนับสนุนนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ หลายสาขาวิชา อาสามาช่วยจัดจนเกือบเสร็จสมบูรณ์ ปัจจุบันมีน้ำขึ้นมาเยอะมาก ได้ผลเกินคาด

 

 

ร่วมแสดงความคิดเห็น