วัยรุ่นไทยกว่าครึ่ง เสื่ยงเชื้อเอชไอวีจากเซ็กซ์ครั้งแรก

มูลนิธิเอดส์แห่งประเทศไทย ดึงพลังวัยรุ่นกลุ่มรักษ์ไทยพาวเวอร์ทีน และผู้หญิงที่อยู่ร่วมกับเอชไอวี ลงพื้นที่ชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ รณรงค์ให้ความรู้ เตือนวัยรุ่นรู้จักรักให้ปลอดเอดส์ หลังพบสถิติน่าเป็นห่วง วัยรุ่นกว่าครึ่งมีรักครั้งแรกแบบไม่ป้องกัน และวัยรุ่นน้อยกว่าครึ่งมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการแพร่เชื้อ เอชไอวี และร้อยละ 70 ของการติดต่อทางเพศสัมพันธ์เกิดขึ้นในหมู่เยาวชนอายุ 15-24 ปี (จาก รายงานสถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 องค์การยูนิเซฟประเทศไทย)

ในความพยายามยุติการแพร่ระบาดของ การติดเชื้อเอชไอวี และการทำความเข้าใจที่ถูกต้อง ให้กับผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี อาการป่วยโรคเอดส์ และสังคมที่ตีตราผู้ติดเชื้อ ซึ่งเป็นปัญหาระดับนานาชาติ มูลนิธิเอดส์แห่งประเทศไทย ลงพื้นที่ทำงานในระดับชุมชนภาคเหนือ โดยร่วมกับภาคี เครือข่ายต่าง ๆ ทั้งที่ทำงานอยู่กับกลุ่มวัยรุ่นอย่าง กลุ่มรักษ์ไทยพาวเวอร์ทีน และกลุ่มผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากเอชไอวี โดย มูลนิธิผู้หญิงอยู่ร่วมกับเอดส์ ซึ่งปัญหาหลัก ๆ ที่พบก็คือการขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องทั้งในเรื่อง การติดเชื้อ การรักษา สิทธิในการเข้าถึงการรักษา การถูกตีตราและเลือกปฏิบัติจากสังคม

ปัจจุบันประเทศไทยมีวัยรุ่น (10-19 ปี) ประมาณ 8.7 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 13 ของประชากร ทั้งหมด จากการศึกษา และรายงานหลายฉบับระบุปัญหาเอดส์ในวัยรุ่นน่าวิตก มีเด็กอายุ 0-14 ปี 120,000 คน เสียชีวิตด้วยสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับเอดส์ ในขณะที่ทั่วโลกมีคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีเชื้อเอชไอวี 1.4 ล้านคน มีเด็ก ผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ทั่วโลก 160,000 คน (จาก 2017 UNICEF Statistical Update on Children and AIDS)

นายนพรุจ หมื่นแก้ว ประธานกลุ่มรักษ์ไทยเพาเวอร์ทีน กล่าวว่า จากการลงพื้นที่รณรงค์ให้ความรู้ด้านเพศศึกษา อนามัยการเจริญพันธุ์ และเอชไอวี/เอดส์ มาตลอด 12 ปี พบปัญหาวัยรุ่นติดเชื้อเอชไอวีส่วนใหญ่มาจากการไม่เข้าถึงข้อมูลเรื่องเพศที่ถูกต้องทำให้ขาดความตระหนักในการป้องกันตนเองดังนั้นเราจึงพยายามให้ความรู้เพื่อลดปัญหาการติดเชื้อเพิ่มถึงแม้ว่าจะมีการรณรงค์โดยหน่วยงานและมูลนิธิต่าง ๆ มากมาย ในเรื่องสาเหตุของการติดเชื้อที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกัน แต่ด้วยวัยและวุฒิภาวะ และบางทีก็คิดไปเองว่าคู่ของเรารักเราคนเดียวไม่มีคนอื่นคงไม่มีโรคใดๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าคู่ของเรานั้นผ่านประสบการณ์ใดมาบ้าง เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีอยู่หรือไม่

“ปัญหาอีกส่วนหนึ่ง คือมีวัยรุ่นตั้งครรภ์ และเด็กทารกเกิดใหม่ติดเชื้อเอชไอวีเกิดขึ้นในปัจจุบัน สาเหตุมาจากไม่ตรวจหาเชื้อเอชไอวีอย่างต่อเนื่องการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน การที่ผู้ติดเชื้อตั้งครรภ์ไม่ทานยาต้านไวรัสเอชไอวีรวมถึงการถูกล่วงละเมิดปัญหาต่อมาคือวัยรุ่นตั้งครรภ์ขาดความรู้และเข้าใจเมื่อเป็นผู้ติดเชื้อไม่เข้ารับการรักษา ทำให้เด็กที่เกิดมาได้รับการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี ซึ่งเป็นปัญหาทั้งทางด้านความเป็นอยู่ การใช้ชีวิตและปัญหาด้านจิตใจของแม่และเด็ก

กลุ่มรักษ์ไทยพาวเวอร์ทีน เดิมเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของสมาชิกในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อเอชไอวีจากการมีสมาชิกครอบครัวที่ติดเชื้อเอชไอวีโดยมีเด็กบางคนได้รับเชื้อเอชไอวีตั้งแต่แรกเกิดและเด็กอีกหลายคนที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวีสำหรับเด็กที่ได้รับเชื้อเอชไอวีจะเข้าสู่กระบวนการรักษาได้รับยาต้าน ไวรัส ได้รับความรู้อย่างถูกต้องนำมาสู่การตั้งกลุ่มรักษ์ไทยพาวเวอร์ทีน รณรงค์ช่วยเหลือในเบื้องต้นด้านการให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคการดูแลตัวเอง และการเข้ารับการรักษาพยายามหาองค์กรเข้ามาช่วยเหลือหลังจากนั้นเป็นเรื่องของการเยียวยาจิตใจโดยให้เข้าร่วมกลุ่มเพื่อพูดคุยปรึกษา สร้างกำลังใจให้กันและกันไม่ให้ผู้ติดเชื้อรู้สึกแปลกแยก สร้างแรงบันดาลใจให้เขาอยากดำเนินชีวิตและพึ่งตัวเองได้

“ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงการรักษาได้แต่อยู่ที่ว่าเขาตัดสินใจซึ่งคนที่เลือกไม่เข้ารับการรักษามักจะเป็นคนที่ถูกตีตราจากสังคมส่งผลให้เขาตีตราตัวเอง เขาจึงไม่มีกำลังใจที่จะดำเนินชีวิตกลุ่มของเราอยากให้ความรู้กับสังคมในเรื่องนี้เราเชื่อว่าถ้าสังคมเข้าใจก็จะไม่ตีตราและไม่เลือกปฏิบัติกับผู้ติดเชื้อซึ่งต้องใช้ความร่วมมือกับทั้งภาครัฐและประชาชน” นายนพรุจอธิบายกรณีดังกล่าวนี้

น.ส. ชูใจ(นามสมมติ)ในฐานะที่ตนเองติดเชื้อเอชไอวีตั้งแต่เกิด เริ่มเข้าสู่วัยรุ่น เริ่มมีแฟน และเมื่อทราบว่าตนตั้งครรภ์ก็รีบไปพบแพทย์ เริ่มกังวลว่าลูกจะติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ การดูแลอนาคตลูกจะเป็นอย่างไรให้ปลอดภัยที่สุด แต่สุดท้ายโชคดีครอบครัวมีความเข้าใจ คุณหมอให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด รวมถึงได้เป็นแกนนำของรักษ์ไทยพาว์เวอร์ทีนทำให้เห็นคุณค่าในตนเองมีความรู้ความเข้าใจการป้องกันตนเอง แฟน และลูก

และเล่าว่าในฐานะที่ตนเป็นอาสาสมัครของรักษ์ไทยพาว์เวอร์ทีน จากเคสที่พบวัยรุ่นกว่าครึ่งหนึ่งมีสาเหตุการติดเชื้อเอชไอวีโดยรับมาจากคู่รัก และบางส่วนถูกล่วงละเมิดทางเพศ การรู้สถานการณ์ทันเวลา การเข้าถึงสิทธิการรักษา จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้รักษาทั้งชีวิตและจิตใจกลุ่มคนเหล่านี้ได้ “วัยรุ่นที่มาปรึกษากลุ่มรักษ์ไทยพาวเวอร์ทีนส่วนใหญ่ ทันทีที่ทราบว่ามีโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อและตั้งครรภ์แล้วกลุ่มรักษ์ไทยพาวเวอร์ทีนจะให้คำปรึกษาเบื้องต้น แนะนำให้รีบไปพบแพทย์ส่งต่อให้ทางเลือกกับเพื่อน ติดตามเยาวชนตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีจะต้องไปพบคุณหมอทุกเดือน เพื่อรับยาต้านไวรัส ซึ่งไม่ต่างจากผู้ติดเชื้อทั่วไป แต่คุณหมอจะดูแลเป็นพิเศษมากกว่า ต้องคอยมาตรวจครรภ์ คอยดูแลเรื่องการปรับยาเพื่อไม่ให้ส่งผลกับทารก”

นอกจากนั้นกลุ่มรักษ์ไทยพาว์เวอร์ทีน จัดกิจกรรมพบปะพูดคุยและให้คำปรึกษาเสริมสร้างกำลังใจ ต่อกันติดตามเยี่ยมเยียนกันอย่างสม่ำเสมอ ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่ติดเชื้อในช่วงแรกจะมีสภาพจิตใจที่ไม่ดีนักการทำให้ไม่รู้สึกแปลกแยก เผชิญปัญหาลำพังจะช่วยให้สภาพจิตใจดีขึ้น ใครที่สภาพจิตใจแย่มากคุณหมอก็จะให้เข้าไปพบกับจิตแพทย์
นาง ศรัญญา บุญเพ็ง ประธานมูลนิธิผู้หญิงที่อยู่ร่วมกับเอชไอวี กล่าวถึง สถานการณ์ผู้หญิงที่อยู่กับเชื้อเอชไอวีว่า “จำนวนไม่ได้เพิ่มมากนัก เป็นกลุ่มเก่าที่กินยาต้านมานานแล้ว เพราะการเข้าถึงการรักษา จึงทำให้กลุ่มผู้ติดเชื้อมีอายุยืนยาวขึ้น ส่วนกลุ่มใหม่ที่เพิ่งติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 20 ปี โดยสาเหตุหลักมาจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน”

“เรามองว่าถ้าเราทำงานกับแค่ผู้หญิงที่ติดเชื้อเอชไอวี ไม่สามารถครอบคลุมปัญหาได้ การทำงานของมูลนิธิผู้หญิงที่อยู่ร่วมกับเอชไอวีกว่า 16 ปี เราได้ขยายการทำงานเพื่อผู้หญิงที่ติดเชื้อเอชไอวีและตั้งครรภ์โดยเข้าไปทำงานกับกลุ่มผู้หญิงที่เข้ามาฝากครรภ์ทั้งสี่ภาคเหนือ อีสาน กลาง และตะวันออกทีมอาสาสมัครของเราจะเข้าไปคุยกับผู้หญิงตั้งครรภ์และคู่ ในเรื่อง เอดส์ เรื่องเพศ อนามัยเจริญพันธุ์ในผู้หญิงตั้งครรภ์ ชวนวิเคราะห์ความเสี่ยง ถ้าคิดว่าเสี่ยงต้องทำยังไง ต้องตรวจเลือดที่ไหนทำไมต้องตรวจ และการวางแผนครอบครัวการคุมกำเนิดตลอดจนวางแผนการดูแลที่ครอบคลุมไปถึงการดูแลเด็กติดเชื้อหลังคลอด

นอกจากนี้เราก็ยังมีการออกไปให้ความรู้กับชุมชน คลีนิคฝากครรภ์ โรงพยาบาล และโรงเรียน โดยเราก็จะไปชวนทุกคนให้วิเคราะห์ความเสี่ยง เพราะทุกคนมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีมูลนิธิฯให้ความรู้ว่าจะตรวจสอบการติดเชื้อเอชไอวีได้ที่ไหน เพราะผู้หญิงมีความเปราะบาง ไม่มีอำนาจต่อรองกับคู่ เรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ทำให้ผู้หญิงมีความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี”

ปัญหาที่พบด้านการทำงานเช่น ผู้หญิงติดเชื้อเอชไอวีไม่กล้าบอกสามีแต่ถูกสามีบังคับให้มีลูก ทัศนคติที่ไม่ตรวจเอชไอวีก่อนการมีเพศสัมพันธ์หรือวางแผนมีบุตร รวมถึงแม่หยุดการรักษา มูลนิธิฯขาดงบประมาณและกำลังคน ส่วนปัญหาของผู้หญิงที่ติดเชื้อเอชไอวีเกี่ยวกับการสื่อสารกับคู่กับครอบครัว การโดนเลือกปฏิบัติ ไม่สามารถเข้ารับสิทธิ-สวัสดิการสังคมได้ พอเค้าดูใบรับรองแพทย์เห็นว่าเราเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี เราก็จะโดนเลือกปฏิบัติ กีดกันการเข้ารับสวัสดิการรวมทั้งเวลาผู้ติดเชื้อไปประกอบอาชีพ พอเค้ารู้ว่าเป็นผู้ติดเชื้อก็มักจะไม่รับ เราก็มักจะต้องเปลี่ยนงานบ่อย แม้แต่ในโรงพยาบาล เรามักได้รับบริการทีหลัง หรือเป็นระดับรองลงมา เช่น จะไปทำฟันก็จะโดนไปไว้คิวสุดท้าย บอกว่าต้องเตรียมห้องและอุปกรณ์เฉพาะ เวลานอนโรงพยาบาลห้องรวมก็มักจะถูกไปไว้ในโซนสุดท้ายหรือหน้าห้องน้ำ ผู้ติดเชื้อที่ตั้งครรภ์โดนบังคับทำหมันหลังคลอดโดยไม่ได้ยินยอม ทั้งที่ไม่ได้มีนโยบายหรือกฎหมายบังคับว่าผู้ที่ติดเชื้อต้องทำหมันทุกคน แต่เป็นทัศนคติของคนปฏิบัติ ที่ต้องให้ผู้ติดเชื้อทำหมันจึงจะปลอดภัย ศรัญญาตัวแทนเสียงสตรีกล่าวและอธิบายเพิ่มด้านการเข้าถึงสิทธิการรักษา

“ตามนโยบายทุกคนที่มีเลขสิบสามหลัก สามารถเข้าถึงสิทธิการเข้ารับการรักษาได้ แต่ในทางปฏิบัติมันขึ้นอยู่กับตัวผู้ติดเชื้อเองว่าเค้าพร้อมที่จะรับยาต้านหรือไม่ หรือผู้ให้บริการเห็นว่าผู้ติดเชื้อไม่สามารถรับยาได้ต่อเนื่อง อาจเกิดการดื้อยา เค้าก็อาจจะยังไม่ให้รับยาต้านก็ได้ ผู้ที่ปฏิเสธการรับยาต้านมีหลายกรณีบางคนต้องทานยาเยอะ เพราะนอกจากยาต้าน อาจจะต้องกินยาจิตเวชด้วย บ้างก็ขี้เกียจกิน บางคนก็ขอพักการกินยา แต่พอเมื่อหยุดยาแล้ว คนส่วนใหญ่ก็จะกลับมาเมื่อเกิดโรคฉวยโอกาส ซึ่งเราก็พยายามให้กำลังใจผู้ที่รับยา คอยกระตุ้นให้ตรวจ CD4 ทุกหกเดือน ควรกินยาต้านเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง หลายคนก็กลับเข้ามาสู่ระบบเหมือนเดิม แต่สำหรับคนที่หายไปเลยเราก็ไม่สามารถเข้าไปพูดคุยดึงเค้ากลับมาได้ แต่เกือบทั้งหมดก็จะป่วยกลับมาภายใน 3-5 ปีจากภาวะโรคฉวยโอกาส”

“ในฐานะที่เราเป็นหนึ่งในผู้ติดเชื้อ เราทำงานตรงนี้มาได้นานก็เพราะเรารู้สึกว่าตรงนี้ทำให้เรามีตัวตน มีคุณค่า คนที่ร่วมงานกันไม่ว่าจะเป็นหมอพยาบาล ไม่ได้แสดงท่าทางที่รังเกียจหรือกลัว เค้ามองเราว่าเป็นคนๆหนึ่งที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนโรงพยาบาลต่อการรักษาผู้ป่วย”

นายผดุง โผนเมืองหล้าปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลออนกลาง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ชี้ประเด็นภาคราชการกับการแก้ปัญหาเอชไอวีในชุมชนว่า เน้นแก้ทัศนคติผู้นำชุมชนภาคย่อยก่อน ซึ่งมีบทบาทในการช่วยลด หรือยุติปัญหาผู้ติดเชื้อเอชไอวี

“เริ่มจากการให้ความรู้ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้านก่อน ว่าการติดเชื้อเอชไอวีกับโรคเอดส์ต่างกันยังไง สาเหตุเกิดจากอะไร ป้องกันยังไง การติดต่อยากง่ายยังไง เพื่อเปลี่ยนทัศนคติของผู้นำชุมชนที่มีต่อเรื่องนี้ก่อน นอกจากนี้ก็มีการเดินรณรงค์ในชุมชนเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคตามเทศกาลและโอกาสสำคัญต่างๆ”

ปัจจุบันแม้ยังไม่ได้มีการวัดผลที่เป็นรูปธรรม แต่ใช้หลักการสังเกตว่าแต่ละชุมชนเปิดโอกาสให้ผู้ที่ติดเชื้อเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนมากขึ้น รวมทั้งให้ความรู้กับชาวบ้านว่าโรคนี้ไม่ได้น่ากลัว ซึ่งช่วยให้คนในชุมชนเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อผู้ติดเชื้อให้ดีขึ้น

“ในฐานะตัวแทนชุมชน อยากให้ทุกคนมองว่านี่เป็นปัญหาของสังคมที่ทุกคนต้องร่วมกันดูแล ต้องให้กำลังใจพวกเขาแทนการซ้ำเติม ไม่ใช่ว่าแค่สงสารแต่เปิดโอกาสให้เหมือนคนทั่วไป ให้เวทีและพื้นที่กับเขาทำสิ่งต่างๆ ไม่ให้เขารู้สึกแปลกแยกจากสังคม” นายผดุงเสริม

นางสาวเย็นจิต สมเพาะ ผู้อำนวยการมูลนิธิเอดส์แห่งประเทศไทย กล่าวถึงสถานการณ์ในประเทศว่า หากมองสถิติภาพใหญ่นานาชาติ ในปี 2558 องค์การสหประชาชาติ ได้ประมาณว่าทั่วโลก มีผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวีมีจำนวน 36.7 ล้านคน รวมทั้ง เด็กจำนวน 1.8 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้จำนวน 35 ล้านคน

ข้อมูลประเทศไทยจากแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ พ.ศ.2560-2573 โดย AIDS Epidemic Model (AEM) คาดประมาณว่า เมื่อสิ้นปีพ.ศ.2558 ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์สะสม จำนวน 1,526,028 คน มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 6,900 คน (เฉลี่ยติดเชื้อฯรายใหม่วันละ 19 คน) เสียชีวิตด้วยเอชไอวี 16,100 คน ผู้ติดเชื

ร่วมแสดงความคิดเห็น