ตำนานสายพันธุ์ปลากว่า 2,000 ปี แห่งศาสตร์และศิลป์ ปลาอมรินทร์

เรื่อง และภาพ / ทับทิม มั่นมาก ผู้ช่วยช่างภาพ / ปวริศร์ ไชยบุตร

ปลาคาร์พเป็นปลาน้ำจืดที่มีแหล่งดั้งเดิมอยู่ในบริเวณประเทศอิหร่าน ในปัจจุบันเป็นปลาที่สามารถปรับตัวดำรงชีวิตอยู่ในแหล่งน้ำจืดที่มีอุณหภูมิที่แตกต่างกันได้มาก แม้ในสภาพอากาศที่หนาวเย็นถึงขนาดมีหิมะปกคลุมหรือสภาพอากาศร้อนปลาชนิดนี้ก็าสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศได้ จึงแพร่ขยายพันธุ์ออกไปได้ทั่วโลก

ในยุคต้นๆชาวจีนนับเป็นชนชาติแรกที่รู้จักปลาไนซึ่งเป็นต้นตระักูลของปลาแฟนซีคาร์พมาเลี้ยงไว้เพื่อบริโภคเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 2,000 ปีล่วงมาแล้ว โดยชาวจีนเรียกปลาไนว่า หลีจื้อ หรือ หลีโกวง ปลาไนน่าจะมีอิทธิพลต่อชาวจีนเป็นอันมาก ซึ่งจะพบหลักฐานอันเก่าแก่ที่สุดของปลาไนปรากฏในภาพเขียนของจีนสมัยราชวงศ์์โจว
เดิมทีปลาไนตามแหล่งน้ำธรรมชาติจะมีเพียงสีดำ สีเทาดำ หรือสีน้ำตาลดำเท่านั้นเมื่อราวปี พ.ศ. 808 -859 ปรากฏว่ามีปลาไนบางตัวกลายพันธุ์เป็นสีส้ม ชาวจีนจึงนิยมนำมาเลี้ยง เพื่อความเป็นสิริมงคลและเพื่อชมความสวยงามจนเป็นที่แพร่หลายต่อมาราวศตวรรษที่ 18 ที่เมืองโอจิยา(Ojiya) ซึ่งอยู่ในจังหวัดนิกาตะ(Neigate) ในปัจจุบันชาวญี่ปุ่นในเมืองนี้ได้นำปลาไนมาเลี้ยงไว้ในบ้านเพื่อประกอบเป็นอาหาร เนื่องจากชาวญุ่ปุ่นกลุ่มหนึ่ง ที่มีอาชีพทำนาตามภูเขาสูงในชนบท ซึ่งมีการคมนาคมที่ไม่สะดวกในยามที่มีหิมะตกชาวญี่ปุ่นไม่สามารถเดินทางออกนอกบ้านไปทำมาหากินได้ หลังจากที่มีการเพาะขยายพันธุ์มาหลายชั่วอายุุปลาจึงทำให้เกิดการผ่าเหล่า(Mutation) กลายพันธุ์เป็นปลาไนสีแดง ทำให้ชาวญี่ปุ่นในเมืองนี้สนใจปลาชนิดนี้มากยิ่งขึ้น ค่อยๆขยายตัวแพร่หลายเพิ่มมากขึ้น
สำหรับประเทศไทยได้เริ่มนำเข้าปลาคาร์ฟเมื่อปี พ.ศ.2493 โดยการนำมาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีการซื้อขายในราคาที่ค่อนข้างสูง ในปี พ.ศ.2498 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ทรง สั่งปลาชนิดนี้มาจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อนำมาเลี้ยงเป็นพ่อแม่พันธุ์และตั้งชื่อปลาแฟนซีคาร์ฟนี้ว่า ปลาอมรินทร์ หรือบางทีก็เรียกว่า ปลาไนทรงเครื่อง ซึ่งชาวญี่ปุ่นเรียกกันว่า นิชิกิกอย (Nichikigoi)

สำหรับปลาคาร์พในเชียงใหม่มีผู้สนใจเลี้ยงมากมาย เราขอนำมารู้จักกับผู้สนใจเลี้ยงปลาคาร์พอีกท่านหนึ่ง คุณสินใจ วงศ์ทันใจ หรือ คุณเอ๋ แห่ง CHIANGMAI Koi BY AE
จุดเริ่มต้นที่เริ่มชอบปลาคาร์พและต้องมาเลี้ยงปลาคาร์พย้อนไปเมื่อประมาณ 9 ปีที่แล้ว มีเจ้าของฟาร์ม TNFF นำปลาคาร์พประมาณขนาด 8 เข้ามาที่เชียงใหม่ ซึ่งตอนนั้นได้เจอปลาคราฟแล้วรู้สึกว่า สีสันสวยงาม เชื่อง และได้ให้อาหารกับมือ จึงรู้สึกชื่นชอบ ด้วยลักษณะเด่นของปลาคราฟที่มีลวดลาย มีสีสัน และมีรูปร่างที่น่ารัก ไม่ว่าจะเป็นการว่ายน้ำ การกินอาหาร การสัมผัส หรือการเล่นกับปลาคราฟ เชื่อว่าถ้าใครได้มองเห็นปลาคราฟก็คงจะชื่นชอบเช่นเดียวกัน

เชียงใหม่คอย บาย เอ๋ มีปลาคาร์พหลากหลายสายพันธุ์ให้ได้ชม และได้คัดสรร ได้แก่ โคกุ ซันเก้ โชวา ชิโร คาราชิ และคุซากุ รวมทั้งโทไซ ที่มีอายุ 6 เดือน และนิไซ อายุ 1 ปีครึ่ง ซึ่งแต่ละขนาดก็จะแตกต่างกันไป และปลาคราฟแต่ละสายพันธุ์มีลักษณะดังนี้
สายพันธุ์โคกุ มีลักษณะเป็นสีขาวแดง ลวดลายก็จะแตกต่างกันไป มีทั้งสองตอน สามตอน ลวดลาย ลายเลื้อย หรือ “อินาสึมะ” สายพันธุ์ “ซันเก้” สายพันธุ์นี้จะมี 3 สี คือ แดง ขาว และดำ ลักษณะเด่นของสายพันธุ์นี้ ได้แก่ สีดำ จะเป็นจุดๆก้อนๆ และครีบจะมีลักษณะเป็นสีดำแบบเส้นๆ สายพันธุ์ “โชวา” สายพันธุ์นี้ก็จะมีลักษณะเป็นสีขาว แดง และดำ ซึ่งลักษณะของสายพันธุ์โชวากับซันเก้จะคล้ายๆกัน แต่ดำของสายพันธุ์โชวาจะมีสีดำเป็นปืดๆ ส่วนลักษณะครีบจะมีสีดำเป็นแผ่นๆ
สายพันธุ์ชิโร่ จะมีลักษณะเป็นขาวดำ โดยลำตัวเป็นสีดำ และพื้นเป็นสีขาว สายพันธุ์คาราชิ จะมีลำตัวเป็นสีเหลืองทองทั้งตัว เป็นสายพันธุ์ที่กินเก่ง อ้วนเร็ว ซึ่งในเมืองไทยปลาคราฟสายพันธุ์นี้โตได้ถึงประมาณเมตรสิบถึงเมตรสิบห้าเซน

สำหรับวันนี้เชียงใหม่คอย บาย เอ๋ ได้นำปลาสายพันธุ์หลักที่เป็นที่ต้องการของตลาดมาเปิดที่เชียงใหม่ มุ่งเน้นให้คนที่เลี้ยงปลาคราฟได้ออกมาสัมผัส ซึ่งคาดคาดว่าอาจจะมีกิจกรรมดีๆสำหรับคนที่เลี้ยงปลาคราฟ ให้ออกมาประกวด ออกมาโชว์ปลา หรือออกมามีตติ้งกัน และสำหรับท่านใดที่สนใจอยากจะเลี้ยงปลาคราฟก็อยากจะเชิญชวน
สำหรับเชียงใหม่คอย by เอ๋ มีบ่อปลาทั้งหมด 4 บ่อ ขนาด 30 ตันต่อบ่อ มีปลาเล็ก 2 บ่อ และปลาใหญ่นิไซ 2 บ่อ โดยปลาเล็กจะมีหลากหลายสายพันธุ์ และจะมีเข้ามาเพิ่มเติมเรื่อยๆ สามารถมาเลือกชม หรือคัดเป็นลายตัว ได้ที่เชียงใหม่คอย บาย เอ๋
สำหรับหลายๆคนอาจจะมีคำถามว่า “เลี้ยงปลาคาร์พแล้วได้อะไร” เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา แต่ลองมองภาพกลับกัน “ปลาคราฟ” ก็คืองานอดิเรกอย่างหนึ่ง ที่เหมือนการเลี้ยงน้องหมา น้องแมว หรือการเลี้ยงสัตว์ทุกอย่าง แต่ปลาคาร์พเลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลิน เพราะว่า “ในมุมมองคิดว่า ปลาคาร์พน่ารัก ดูแล้วสามารถสื่อสารกับเราได้ถ้าเกิดใส่ใจจริงๆ สามารถเทรนได้ถ้าเราให้อาหารกับมือ สามารถเรียกขึ้นมาหรือสัมผัสได้ อันนี้คือมุมมองที่เอ๋มองนะคะ การเลี้ยงปลาคาร์พอาจจะมีกลุ่มๆหนึ่งที่เป็นกลุ่มสมาชิกกันอยู่แล้วพบปะพูดคุยกันเป็นการเรียกแลกเปลี่ยนความรู้กัน อย่างเช่นว่า เลี้ยงปลาคาร์พไม่มีวันสิ้นสุด อย่างเช่น สายพันธุ์นี้ อย่างเลี้ยงไปมีการเปลี่ยนแปลงของตัวเอง หรือสายพันธุ์นี้เลี้ยงมาโตเป็นเมตร สายพันธุ์นี้เลี้ยงมาไม่โตอะไรประมาณนี้ค่ะ มันจะเป็นความรู้ที่สามารถเรียนรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด”
ด้วยเสน่ห์แห่งสายพันธุ์ปลาเก่าแก่กว่า 2,000 ปี ที่ได้มอบความสุนทรียะให้แก่ผู้เลี้ยงและผู้พบเห็น ปลาอมรินทร์ หรือ ปลาคาร์พ

ร่วมแสดงความคิดเห็น