ดีป้าร่วมกับธนาคารโลก ประกาศความร่วมมือสองสถาบัน ภายใต้ชื่อ “The Internet of Things: The New Government-to-Business Platform”

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) และธนาคารโลก ตกลงร่วมมือกันดำเนินกิจกรรม เพื่อส่งเสริมการตระหนักรู้ เรื่องอินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง (IoT) ในประเทศไทย และนำการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัล ให้แก่ภาครัฐ-ภาคเอกชน

การประกาศความร่วมมือ ระหว่างสองสถาบันมีขึ้นในงานสัมมนา เปิดตัวรายงานล่าสุดของธนาคารโลก ภายใต้ชื่อ “The Internet of Things: The New Government-to-Business Platform” ซึ่งมีผู้เข้าร่วมงานทั้งจากภาครัฐ องค์กรระหว่างประเทศ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชนกว่า 150 คน

“อินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง (IoT) มีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวันของเราทุกคน กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมตระหนักถึงความสำคัญของ IoT ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัล ซึ่งจะกระตุ้นผลิตภาพและปรับปรุงชีวิตของประชาชนทุกคน เราจึงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการพัฒนา IoT ในประเทศไทย ผ่านโครงการริเริ่มที่หลากหลาย” ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รมว.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าว

“อินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง (IoT) ไม่ได้เป็นแค่เพียงเรื่องที่อยู่ในกระแสความสนใจเท่านั้น เราเล็งเห็นว่า IoT เป็นเทคโนโลยีที่น่าตื่นเต้นที่สุดในทศวรรษนี้ ซึ่งจะช่วยเร่งในเกิดการเปลี่ยนผ่านให้ภาครัฐ-ภาคเอกชน ของไทยก้าวไปสู่ยุคดิจิทัล ดังนั้น เราจึงต้องการสร้างการตระหนักรู้ในเรื่องของ IoT แก่ทุกภาคส่วน โดยการสร้างเครือข่ายเวทีสนทนา ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถพบปะและอภิปรายถึงโอกาสต่าง ๆ ผ่านการใช้เทคโนโลยีนี้ อีกทั้งยังเป็นหนทางให้นำ IoT มาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่คนไทยด้วย” ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผอ.สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) กล่าว

depa เป็นหน่วยปฏิบัติภายใต้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาห กรรมดิจิทัลและนวัตกรรม รวมถึงการนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ในทุกภาคส่วนของประเทศไทย ในการนี้ DEPA ได้รับมอบหมายให้จัดตั้ง สถาบัน IoT เพื่อช่วยสร้างสรรค์ระบบนิเวศทาง IoT ที่เข้มแข็งแก่ประเทศไทย ดังนั้น สถาบันนี้จึงได้เริ่มบทบาทในการส่งเสริมการพัฒนา และนำเทคโนโลยีที่น่าตื่นเต้นนี้เป็นครั้งแรก จากการสัมมนาในครั้งนี้

“ธนาคารโลกมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่จะได้ร่วมมือกับประเทศไทย เพื่อทำให้เทคโนโลยีดิจิทัลและอินเทอร์เน็ต เพื่อสรรพสิ่ง (IoT) เกิดประโยชน์กับคนไทยทุกคน” นายชาบีห์ อาลี โมฮิบ ผู้นำกลุ่มงานด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง การเงิน และสถาบัน ธนาคารโลก สำนักงานประเทศไทยกล่าว

“อินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง (IoT) มีศักยภาพสูงมาก อย่างไรก็ตามภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมจำเป็นต้องมีการทำงานที่เป็นระบบและสื่อสารกันอย่างใกล้ชิด ผมหวังว่าผลการศึกษาจากรายงานนี้จะช่วยตรวจสอบความก้าวหน้าในการดำเนินงานของประเทศไทยในเรื่องนี้ และส่งเสริมความมีส่วนร่วมในการคิดและอภิปรายร่วมกัน ระหว่างผู้กำหนดนโยบายและภาคเอกชนต่อไป ในเรื่องผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมของการนำ IoT ไปใช้งานในด้านต่างๆ” นายปราศสานา ลาล ดาส ผู้เขียนหลักของรายงาน กล่าว

IoT คือระบบดิจิทัลที่มีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ มีการรับส่งรวบรวมข้อมูลผ่านระบบเซ็นเซอร์ (sensors) และส่งสัญญาณเชื่อมโยงเครือข่าย IoT ถูกนำมาใช้คิดวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ หรือในบางกรณีสามารถปรับการทำงานและการตอบสนองได้ตามปัจจัยแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น อุปกรณ์จีพีเอส หรือ Global Positioning System (GPS) ที่เรานำมาใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ระบบเซ็นเซอร์ที่สามารถนำไปติดตั้งไว้กับเสาไฟเพื่อตรวจจับค่าฝุ่นละอองและมลพิษได้ หรือเครื่องปรับอุณหภูมิอัตโนมัติ ที่เรานำมาใข้ตามบ้านเพื่อประหยัดการใช้พลังงาน และลดค่าใช้ไฟฟ้าของแต่ละครัวเรือน

ผลการศึกษาจากรายงานนี้ เรื่องความก้าวหน้าของการดำเนินงานภาครัฐ ในการนำอินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง (IoT) พบว่ารัฐบาลในประเทศต่างๆ ล้วนมีความกระตือรือร้นที่จะนำ IoT มาใช้งานเพื่ออำนวยความสะดวกประชาชน แม้ว่าจะมีอุปสรรคในระยะนำร่องไปแล้วก็ตาม รูปแบบของธุรกิจที่จะช่วยสร้างความยั่งยืน ให้กับโครงสร้างพื้นฐานของ IoT นั้นต้องมีการพัฒนาต่อไปอีกในอนาคต รวมถึงการปรับปรุงนโยบายภาพรวมดังต่อไปนี้

• ปรับปรุงความรู้และความเข้าใจในเรื่อง IoT และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในหน่วยงานภาครัฐอย่างเร่งด่วน
• เปลี่ยน “กระแสความสนใจไปสู่การปฏิบัติจริง” และเตรียม “คู่มือ” ในการดำเนินความริเริ่มนี้ซึ่งมีเรื่อง IoT เป็นองค์ประกอบ

การเผยแพร่ “บทเรียน” จากประเทศอื่น ๆ เนื่องจากมีหลายหน่วยงานที่สนใจ จะเรียนรู้ประสบการณ์ในเรื่องนี้จากประเทศอื่น ๆ และอะไรที่ทำแล้วสำเร็จและไม่สำเร็จ

นอกจากนี้ช่วงบ่ายดีป้า ยังได้หารือร่วมกันกับทางเวิร์ดแบงค์ โดยสรุปความร่วมมือระหว่างการหารือดังกล่าวได้ 3 ประเด็นคือ 1) smart city จะเชิญ world bank experts มาเป็น international advisory committee ของ depa 2) IoT Institute ให้ world bank ช่วยคิดโมเดล (เข่น business model) และ 3) digital density indicators/ index

ร่วมแสดงความคิดเห็น