6 ประเทศถกจัดการน้ำโขง จีนเริ่มรับฟังปัญหาพร้อมวางแผนแก้ไขให้ประเทศลุ่มน้ำ

6 ประเทศถกจัดการน้ำโขง จีนเริ่มรับฟังปัญหาพร้อมวางแผนแก้ไขให้ประเทศลุ่มน้ำ
เมื่อวันที่ผ่านมา ที่โรงแรมดุสิตไอส์แลนด์รีสอร์ทจังหวัดเชียงราย ได้มีการประชุมคณะทำงานร่วมสาขาทรัพยากรน้ำครั้งที่ 2 โดยมีการประชุมวิชาการนานาชาติในหัวข้อ “ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำข้ามพรมแดนและทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง” (Transboundary Water Resources and Related Resources) โดยมีนายวรศาสน์ อภัยพงษ์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ คณะทำงานพร้อมด้วยผู้แทนจากสำนักปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศกระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติกรมทรัพยากรน้ำร่วมเป็นคณะทำงาน

ซึ่งจากการประชุมระดับผู้นำกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง – ล้านช้าง ครั้งที่ 1 ที่เมือง ซานย่า สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ผ่านมา สมาชิก 6 ประเทศได้แก่ กัมพูชา จีน ลาว เมียนมา ไทย และเวียดนาม เข้าร่วมประชุมและได้ลงนามรับรองปฏิญญาซานย่า พ.ศ.2559 พร้อมจัดตั้ง กรอบความร่วมมือ แม่โขง-ล้านช้าง (Meakong-Lanchang Cooperation: MLC) Longdo เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในกลุ่มอนุภาคแม่น้ำโขงลดความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาและส่งเสริมกระบวนการพัฒนาประชาคมอาเซียน โดยแลกเปลี่ยนความร่วมมือ ใน 3ประเด็นหลักคือ
1.การเมืองและความสั่นคง 2.เศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืน 3.การแลก
เปลี่ยนทางสังคม วัฒนธรรม และปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชน ภายใต้ ประเด็นดังกล่าวมีเขามีเกียรติงานดำเนินงานเฉพาะด้าน 6 สาขาได้แก่สาขาทรัพยากรน้ำ สาขาความเชื่อมโยงสาขาอุตสาหกรรม เศรษฐกิจข้ามพรมแดน สาขาเกษตรกรรมและการลดความยากจน ซึ่งความร่วมมือ แม่โขง-ล้านช่างจะดำเนินงานภายใต้การขับเคลื่อนในระดับผู้นำ ระดับรัฐมนตรี ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับคณะทำงาน

นายวรศาสน์ อภัยพงษ์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ กล่าวว่า สำหรับ ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยกรมทรัพยากรน้ำ ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานในการทำงานของคณะทำงานฝ่ายไทย โดยได้มีการประชุมครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 ที่กรุงปักกิ่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งที่ประชุม ได้เห็นชอบเอกสารแนวคิดระบบกลไกการดำเนินงานของคณะทำงานร่วมฯ และการหมุนเวียนเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ตามความพร้อม ของประเทศสมาชิกทั้ง 6 ประเทศ โดยมีประเด็นที่สำคัญที่จะร่วมกันพิจารณาและหารือในหลายประเด็น อาทิ ความก้าวหน้าของการดำเนินงานภายหลังการประชุมคณะทำงานร่วมฯ ครั้งที่ 1 การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ กรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง ที่เพิ่งเสร็จสิ้นเมื่อเดือน มกราคม 2561 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา การดำเนินงาน ศูนย์ความร่วมมือด้านทรัพยากรการดำเนินการโครงการกลไกความร่วมมือข้ามพรมแดนเพื่อปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำและแผนปฏิบัติการ 5 ปี สาขาทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561-2565

จากการจัดประชุมในครั้งนี้จะเป็นโอกาสอันดีที่ไทย จะได้ผลักดันข้อเสนอด้านความร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการระหว่างประเทศสมาชิก โดยเฉพาะข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำกับจีนตลอดจนการวิจัยร่วมกันช่วยเหลือด้านการจัดการสภาวะวิกฤตด้านน้ำท่วมและน้ำแล้ง ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมและพัฒนาด้านว่าพอเพียงสามารถให้กับบุคลากรของประเทศภาคีให้มีผลงานเป็นรูปประธรรมและความเข้มแข็งให้กลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ในส่วนของการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงจะส่งผลกระทบซึ่งจะมีทั้งผลบวกและผลลบ ซึ่งในปัจจุบันจีนก็ได้สร้างเขื่อนในพื้นที่ของเขา ซึ่งมีการพัฒนาในพื้นที่ต้นน้ำให้มีพื้นที่ทกักเก็บน้ำให้มีความมั่นคง ซึ่งข้อมูลพบว่า
ในจีนมีการสร้างเขื่อนขึ้นมา มีปริมาณ 22,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมากว่า เขื่อนภูมิพล รวมกับเขื่อนสิริกิติ์ สำหรับในประเทศไทยหากจะมีการปล่อยน้ำจากเขื่อนก็จะมีแผนในการปล่อยน้ำเพื่อใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งในแต่ละประเทศการปล่อยน้ำจากเขื่อนมีหลายปัจจัยซึ่งเป็นไปตามภูมิประเทศ เช่นของจีน พื้นที่เพาะปลูกมีน้อย จึงเน้นไฮโดรเพาเวอร์ หรือการปั่นไฟ สิ่งสำคัญก็คือปริมาณน้ำที่ปล่อยออกมา

เพื่อพัฒนาด้วยวัตถุประสงค์ของเขื่อนที่ต่างกันทำให้ประเทศท้ายน้ำได้รับผลกระทบ ซึ่งก็มีผลกระทบทั้งทางบวก และทางลบ ฉะนั้นการที่เราเป็นประเทศลุ่มน้ำโขงด้วยกันก็ได้มีการเจรจากันโดยมีการ่วมมือกัน 6 ประเทศ โดยได้นำเรื่องการใช้ประโยชน์ร่วมกันมาหารือให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่นการเดินเรือ การปล่อยนำไม่ให้กระทบซึ่งกันและกัน ซึ่งในวันนี้ก็ได้มีการกำหนด 6 แนวทาง เช่นการกำหนดแนวทางของการแชร์ข้อมูล เส้นทางของข้อมูล การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นการร่วมมือในมิติที่กว้าง โดยไม่เอามิติที่ขัดแย้งใส่เข้าไป

จะเห็นได้ว่าการมีเขื่อน ทำให้เห็นว่าเขื่อนสามารถเก็บกักน้ำไว้เพื่อความมั่นคงส่วนใหญ่ผลทมี่ออกมาก็มีผลกระทบในเชิงบวก แต่ผลกระทบในเชิงลบก็มี เช่นการกำหนดปริมาณน้ำไม่เป็นไปตามฤดูกาล ตามที่เคยเป็นมาสมัยอดีต ทำให้ในช่วงฤดูแล้งที่ประชาชนใช้ประโยชน์จากหาดทรายในการปลูกพืชผลทางการเกษตรก็ไม่สามารถปลูกได้ หรือเมื่อปลูกไปแล้วเกิดมีการปล่อยน้ำมาทำให้ผลผลิตเสียนหาย ซึ่งในส่วนนี้เองหากมีการเรียนรู้ที่จะเข้าใจและสามารถทราบถึงเวลาการปล่อยน้ำในช่วงเวลาใดก็จะทำให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งในการประชุมในวันนี้ถึงการแจ้งการปล่อยน้ำจากเขื่อนต้นน้ำ

ในส่วนของประเทศไทย ได้นำเสนอเกี่ยวกับการจัดการน้ำในเขื่อน ต้นน้ำ เช่นการปล่อยน้ำ การได้รับผลกระทบต่อทรัพยากรน้ำ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งก็ได้มีการเสนอและเจราจาในการบริหารร่วมกัน ซึ่งเราไม่อาจห้ามไม่ให้ทางจีนทสร้างเขื่อนภายในประเทศของตัวเองได้ แต่เราสามารถหารือเพื่อหาทางออกเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้โดยมีผลกระทบทางด้านลบให้น้อยที่สุด โดยไทยเองมีผลกระทบ 8 จังหวัดที่ติดแม่น้ำโขง ก็ควรจะทราบถึงปริมาณน้ำ ซึ่งในภาพรวม การเดินเรือตั้งแต่เชียงแสนไปถึงจีน ซึ่งการเจรจาคร้ังนี้ก็จะส่งผลให้สามารถคลี่คลายปัญหาต่างๆให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งดีกว่าไม่คุยกันเลย ซึ่งที่ผ่านมาจีนไม่ได้มีบทบาทในการเข้ามาคุยเพื่อหารือเต็มที่แต่ปัจจุบันมีเวทีเสวนาเพื่อหาทางออกให้กับประเทศลุ่มน้ำโขงทำให้ได้เริ่มมีการรวบรวมข้อมูลปัญหาต่างๆ จากแต่ละประเทศเพื่อให้เกิดผลลบน้อยที่สุดกับแต่ละประเทศ

ด้าน น.ส.ผกามาศ เวียร์รา ประธานสมาคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจไทย-พม่า จังหวัดเชียงราย – ประธานหอการค้าอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และผู้ประกอบการธุกิจเรือท่องเที่ยวในแม่น้ำโขง กล่าวว่า การจัดประชุมครั้งนี้คาดหวังว่าจะมีการแก้ปัญหาร่วมกันในแม่น้ำโขงตอนบน จากจีนตอนใต้ ไปจนถึงหลวงพระบาง ซึ่งปัญหาที่คาดว่าจะได้รับการแก้ไขจากการประชุมร่วมกันในครั้งนี้ก็คือ 1 การรักษาระดับน้ำในแม่น้ำโขงการให้ข้อมูลข่าวสารที่ต่อเนื่อง เพื่อที่ผู้อยู่ใต้น้ำจะได้มีแนวทางในการตจัดสินใจในแต่ละช่วง 2 ในส่วนของด้านการท่องเที่ยวเรื่องของการเปิดด่านทางจีน โดยเฉพาะจิ่งหง ที่ท่าเรือกวนเหล่ย ซึ่งการที่จะทำให้เรือโดยสารสามารถเข้าไปถึงท่าเรือได้ทันก่อนที่จะปิดด่าน ซึ่งหากมีการแก้ไขในด้านนี้ก็จะทำให้การท่องเที่ยวในเส้นทางในแม่น้ำโขงดีขึ้นรวมไปถึงการมีวีซ่าหน้าด่าน หรือ Visa On arrival เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาติต่างๆที่จะเดินทางไปยังประเทศจีน ซึ่งทำให้สะดวกต่อการเดินทางโดยไม่ต้องไปขอวีซ่าที่สถานกงสุลจีนในประเทศไทยก่อนที่จะเดินทางซึ่งใช้เวลามากขึ้น

ร่วมแสดงความคิดเห็น