สนง.พัฒนาฝีมือแรงงานลำพูน สร้างเครือข่าย ในการขับเคลื่อนการ เพิ่มผลิตภาพแรงงาน สู่ SME 4.0

สนง.พัฒนาฝีมือแรงงานลำพูน สร้างเครือข่าย ในการขับเคลื่อนการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน สู่ SME 4.0 บูรณาการหน่วยงานเครือข่าย ผู้ประกอบกิจการ วิสาหกิจชุมชน หน่วยงานภาครัฐและภาคการศึกษา เพื่อให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยให้ความสำคัญในการใช้เทคโนโลยี และการตลาดดิจิตอล เพิ่มศักยภาพให้แก่ธุรกิจ

วันที่ 9 มี.ค.2561 ที่ จ.ลำพูน นายธวัช เบญจาทิกุล รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิด และสร้างความเข้าใจในการดำเนินงาน ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ณ กัซซัน พาโนรามา กอล์ฟ คลับ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน นอกจากนี้ยังได้มีการรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าฝึกอบรม โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบธุรกิจ วิสาหกิจชุมชน และประชาชนที่สนใจ ในหลักสูตร “Digital Marketing” (18 ชั่วโมง) เพื่อศึกษาเครื่องมือ และช่องทางการตลาดออนไลน์ และ หลักสูตร “Product Design” (18 ชั่วโมง) เพื่อศึกษาการแปลงแนวคิด สู่ผลิตภัณฑ์ การถ่ายภาพและการแต่งรูปสินค้า รับผู้เข้าฝึกอบรมรุ่นละ 20 คน

นายธวัช เบญจาทิกุล รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวว่า ผลิตภาพแรงงานของประเทศไทย ขยายตัวอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำและมีแนวโน้มลดลง สะท้อนว่าประเทศไทยมุ่งเน้นปัจจัยด้านเงินทุน และปริมาณแรงงานมากกว่าการพัฒนาคุณภาพแรงงาน สืบเนื่องจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ ทำให้ไม่สามารถพัฒนาไปสู่การใช้เทค โนโลยีขั้นสูง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตได้ ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มศักยภาพ และความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จึงควรมีแนวทางในการพัฒนาผลิตภาพแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจในการขับเคลื่อนผู้ประกอบการและแรงงานให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน จึงได้จัดทำ “โครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน” ขึ้น

“โครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานมีเป้าหมายในการ Re-skill แรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง ได้มาตรฐานฝีมือแรงงาน โดยเน้นการประยุกต์ใช้ความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม คณิต ศาสตร์ (STEM Workforce) โดยเฉพาะระบบการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบให้กับพนักงาน รวมทั้งผู้ประกอบกิจ การที่จะต้องปรับทัศนคติในการดำเนินกิจการ จากการบริหารในระบบครอบครัว มาเป็นการบริหารแบบมืออาชีพ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม ในการก้าวข้ามไปสู่ประเทศไทย 4.0

รวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำ เชิงลึกแก่สถานประกอบกิจการและพนักงานในสถานประกอบกิจการ ในการสร้างจิตสำนึกให้รู้คุณค่าของทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด และใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เข้าใจถึงความสูญเสียที่แฝงอยู่ในกระบวน การทำงานและดำเนินการแก้ไข ปรับปรุงได้อย่างเป็นระบบ ผ่านกระบวนการพัฒนาบุคลากรภายในสถานประกอบกิจ การ” รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าว

ร่วมแสดงความคิดเห็น