ชา 1,000 ปี ในวิถีอาข่าบ้านดอยงาม

มีใครพอทราบไหม? ว่าชาที่ดีที่สุดนั้นอยู่ที่ไหน แต่จะมีใครทราบไหมว่า ชาที่ดีที่สุดนั้นอยู่ที่ “บ้านดอยงาม” เชียงราย ประเทศไทยเรานี่เอง ซึ่งได้รับรางวัลการันตีจากเวทีประกวดชา ในประเทศญี่ปุ่น ทำให้เราได้ออกเดินทางค้นหา ชาในวิถีวัฒนธรรมอาข่ากัน

นายธีรพล เมอแล ผญบ.บ้านดอยงาม ต.ท่าก๊อ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย กล่าวว่า ชาป่า ชาธรรมชาติ ต้นชาป่าที่พบเป็นชาอัสสัม (Assam tea) จากภูมิปัญาญาดั่งเดิม ถือเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง ชานี้ยังอยู่ในวิถีประกอบพิธีกรรมบรรพบุรุษสมัยดั่งเดิม ในพิธีกรรมใดๆของชนเผ่าอาข่า จะมีชาเป็นส่วนประกอบของพิธีกรรมด้วย ชาที่นี่ยังได้รับการส่งเสริมจากโครงการหลวงที่บ้านดอยงาม ยังคงรักษารูปแบบการแปลรูปชาแบบดั่งเดิม การคั่วแบบดั่งเดิม

ชาที่บ้านดอยงาม เป็นชาป่ามีมาตั้งแต่ก่อนที่หมู่บ้านจะก่อตั้งหมู่บ้าน ถือว่าเป็นชาที่ดีที่สุดในปัจจุบัน เป็นชาที่ได้รับความนิยมในประเทศจีนมาก จากลูกค้าได้นำชาบ้านดอยงามไปเข้าประกวดที่เวทีชา ประเทศญี่ปุ่น ในครั้งนี้มีแต่ละประเทศร่วม ส่งชาเข้าประกวด 127 ประเทศ ผลการประกวดออกมา ได้อันดับที่ 2 ของโลก เป็นรางวัลกำลังใจแรงผลักดัน ให้ชุมชนบ้านดอยงาม ได้ตระหนักดูแลชาที่จะอยู่ร่วมกับป่า และสิ่งแวดล้อม โดยนำเมล็ดชาไปขยายพันธุ์เพาะปลูกเพิ่มพื้นที่ขึ้น

ในพื้นที่บ้านดอยงามมีชา 1,000 ปี ที่มีอายุ 700 ถึง 800 ปี ที่นักท่องเที่ยวจะได้เรียนรู้ในกระบวนการ ตั้งแต่การเก็บใบชา การคั่ว การนวด จนมาแปรรูปในการตากแห้ง จากหมู่บ้านชาวอาข่าโอบล้อมด้วยทะเลขุนเขา เราออกเดินทางไปยังไร่ชา สัมผัสอากาศหนาวเย็นอากาศบริสุทธิ์ ไร่ชาเก่าแก่มีต้นชาน้อยใหญ่กระจายตามเนินเขา ช่วงนี้ต้นบ๊วยกำลังออกดอกสีขาวสวย ใต้ร่มไม้ล้อมวงสนทนา แล้วใบชาได้นำออกมาชงกับน้ำร้อน ด้วยความร้อนของน้ำและชาระยะเวลาที่ชาให้รสชาติความอร่อย แก้วไม้ไผ่ขนาดพอดีให้ความหอมของชา และกลิ่นไม้ไผ่

ศาสตร์ศิลปะของคนชงชาโดย“นายนาวา โว่ยยื้อ” รสละมุนละมัยของชาที่ยังชงต่อได้นับ 10 ครั้ง รสชาติก็ยังไม่เปลี่ยนหมวกกันแดด ตะกร้า ออกไปเก็บใบชา ซึ่งใบชาที่จะเก็บกัน 1 2 3 ใบ สุดยอด 3 ใบ แล้วเด็ดของใส่ในตะกร้า ทำให้เราทราบว่าชาต้นมักจะไม่สูงนัก ที่ต้องใช้ความสามารถในการเก็บในพื้นที่ลาดเขาสูงชัน คงเพราะจะถูกเก็บใบอยู่ตลอดทั้งปี ต้นชาจึงไม่สูงเท่าไร

ในกระบวนต่อไปเข้าสู่กระบวน “การคั่วชา” ที่บ้านนายไพรวรรณ เป็นรูปแบบการคั่วแบบโบราณ ที่เราจะนำใบชาที่เก็บได้มาคั่ว บนกะทะใบบัวที่เกิดจากภูมิปัญญา เป็นบ่อเอียงกะทะเอียง 45 องศา โดยมีช่องใส่ไฟด้านหลังที่คอยคุมความร้อนอีกคน ส่วนอีกคนจะเป็นคั่วที่คอยตรวจดูว่าจะได้หรือยัง กลิ่นหอมชาที่ค่อยๆหอมขึ้น เป็นความสามารถเฉพาะของแต่ละคนกันจริงๆ จากนั้นนำออกจากกะทะนวดอีก เพื่อให้รสชาติของชาออก กว่าจะเราจะชามาชิมนั้นต้องใช้เวลาความเพียรพยายามกันเป็นวัน

วันนี้เป็นฤกษ์ยามดีอีกวัน ที่หมู่บ้านมีงานแต่งงานของ”นุช และ แซม” มีสีสันสวยงามของเสื้อผ้าชาวอาข่าที่ไปร่วมงานกัน แต่คนต่างสวยงามตกแต่งด้วยเครื่องเงิน และได้ร่วมรับประทานอาหารพื้นบ้านวัฒนธรรมอาข่าอีกด้วย ก่อนเดินทางกลับ ความสุนทรีย์ในความเรียบง่าย การรวมเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติด้วยจิตใจที่นิ่งสงบ และในการชิมชา มีความสงบ และสง่างาม สมดั่ง “ ชาพันปี…บ้านดอยงาม”

ร่วมแสดงความคิดเห็น