ด่วน! สุดยอดอัจฉริยะ “สตีเฟน ฮอว์คิง” เสียชีวิตอย่างสงบ ที่บ้านพักในเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ด้วยวัย 76 ปี

สำหรับประวัติโดยย่อ ของสุดยอดอัจฉริยะผู้นี้ ที่ได้การขนานนามในช่วงที่ผ่านมาก่อนจะเสียชีวิตว่า เป็น”อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ที่ยังมีชีวิต” สตีเฟน วิลเลียม ฮอว์คิง (Stephen William Hawking) เกิดเมื่อวันที่ 8 ม.ค.พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นวันรำลึกครบรอบ 300 ปีการตายของกาลิเลโอ นักคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ชาวอิตาเลียน ฮอว์คิงเกิดในเมืองออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ โดยปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์วิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ และฟิสิกส์ทฤษฎี ที่มหา วิทยาลัยแคมบริดจ์ อีกทั้งยังได้เป็น “Lucasian Professor of Mathematics” ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกันกับที่ไอแซค นิวตัน เคยได้รับ

ฮอว์คิงได้รับการยกย่องจากบรรดานักวิทยาศาสตร์ด้วยกันว่า เป็นนักฟิสิกส์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คนหนึ่งของโลก ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์บางคนเทิดทูนฮอว์คิง ว่าเป็นผู้ที่ฉลาดปราดเปรื่องต่อจากไอน์สไตน์ เลยทีเดียว ผลงานค้นคว้าที่สร้างชื่อเสียงให้กับฮอว์คิงมากที่สุดก็คือ ทฤษฎีหลุมดำ (black hole) และทฤษฎีที่ว่าด้วยกำเนิดและจุดจบของ จักรวาล
ในสายตาของคนทั่วไป ที่มิใช่นักวิทยาศาสตร์ เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์อัจฉริยะที่พิการ จะเดินเหินไปไหนมาไหนก็ไม่ได้ จะพูดจาปราศรัยกับใคร ก็ไม่ได้ แม้แต่จะเขียนหนังสือ แต่งตัว หรือกินอาหารด้วยตัวเองก็ไม่ได้ เพราะฮอว์คิงป่วยเป็นโรคทางประสาทที่เรียกว่า Amyotrophic Lateral Sclerosis (ALS) ตั้งแต่อายุ 21 ปี ซึ่งโรคนี้ ทำให้ระบบประสาทส่วนกลางของเขา ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่ได้เลย แต่อวัยวะหนึ่งเดียวของเขาที่ทำงานคือ “สมอง” โดยเขาต้องอยู่บนรถเข็นตลอดเวลา

และที่ร้ายยิ่งกว่านั้นเอ็นหลอดเสียงของเขา ก็ใช้ไม่ได้ตั้งแต่ปี 2528 เป็นต้นมา โดยต้องสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์และเครื่องเลียนเสียงพูด เวลาเขาต้องการจะสนทนาติดต่อกับโลกภายนอก เขาจะใช้เครื่องพูดโดยใช้นิ้วกดปุ่มของตัวอัก ษรต่างๆ ประกอบ เป็นคำที่เขาต้องการแล้วจึงกดเครื่องออกเสียง ดังนั้นเมื่อมีคนถามคำถามหนึ่งคำถาม เขาจะใช้เวลานาน 10-15 นาที ในการตอบ


ฮอว์คิงมักถูกนำไปเทียบกับไอน์สไตน์และนิวตันอยู่เสมอ หรืออาจจะเรียกได้ว่าทั้ง 3 เป็นอัจฉริยะของแต่ละยุค
ฮอว์คิงวิจัยทฤษฎีของจักรวาล โดยใช้พลังงานความคิดทางสมองเท่านั้น เขามีสัญชาตญาณวิเศษที่สามารถหา คำตอบของสมการฟิสิกส์ที่ยากๆ ได้ โดยไม่ต้องใช้ปากกาขีดเขียน เปรียบเสมือนกับการที่ บีโธเฟนแต่งซิมโฟนีสำเร็จโดยไม่ต้องเขียนโน้ตลงบนกระดาษแม้สักตัวเดียว

ในปี พ.ศ. 2515 เขาได้ทำให้คนทั่วโลกตกตะลึง เมื่อเขาพบว่าหลุมดำที่ใครๆ เคยคิดว่าจะดึงดูดสรรพสิ่งทุกอย่างเข้าสู่ตัวมันนั้น จริงๆ แล้วสามารถแผ่รังสี และปลดปล่อยอนุภาคต่างๆ ออกมาได้ ฮอว์คิงได้พบว่าขณะจักรวาลระเบิด ใหม่ๆ แรงระเบิดที่มหาศาล ได้ทำให้เกิดหลุมดำขนาดเล็กมากมาย และเมื่อเขาพิจารณาคุณสมบัติด้านควอนตัมของ หลุมดำเล็กๆ เหล่านี้ เขาก็พบว่าหลุมดำเล็กๆ สามารถสูญเสียพลังงานไปได้เรื่อยๆ โดยการระเบิดให้ตัวมันเองหายวับ ไปกับตาในที่สุด

ตราบเท่าทุกวันนี้ยังไม่มีนักวิทยาศาสตร์คนใด เห็นการระเบิดของหลุมดำในลักษณะที่ว่านี้เลย แต่หากมีใครเห็นนั่นก็ หมายความว่ารางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ สำหรับปีนั้นก็จะเป็นของฮอว์คิงทันที

เมื่อปี พ.ศ. 2531 เขาได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ “ประวัติย่อของกาลเวลา” หรือ A brief History of Time หนังสือเล่มนี้ ได้ติดอันดับหนังสือที่ขายดีที่สุดในโลกเล่มหนึ่ง โดยมียอดจำหน่ายกว่า 1 ล้านเล่ม และนั่นก็หมาย ความว่าคนทุก 1,000 คนในโลก จะมีหนังสือเล่มนี้ไว้ครอบครอง 1 เล่ม ภาษาที่เขาใช้ในการสื่อสารในหนังสือนั้นเรียบง่ายและทั้งเล่มมีสมการ อยู่เพียงสมการเดียวคือ E=mc2

ฮอว์คิงได้เขียนไว้ว่า เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างมีการเกิด “เวลา” ก็มีกำเนิดเหมือนกัน ปัจจุบันเรารู้ว่า จักรวาลของเรานั้นเกิดจากการระเบิดของสสารครั้งใหญ่ เมื่อประมาณ 15,000 ล้านปีมาแล้ว คำถาม ที่ใครๆ ก็มักจะถามคือ ก่อนนั้นจักรวาลมีสภาพเป็นอย่างไร ฮอว์คิงตอบว่าก่อนนั้นเวลาก็ไม่มี ดังนั้นการถามหาสิ่งที่ ไม่มีจึงเป็นคำถามที่ไม่มีความหมาย
ทั้งนี้ เป้าหมายสูงสุดของฮอว์คิง (และนักวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ทั้งหลาย) ก็คือการรวมทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปและทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัมเข้าด้วยกัน เป็นทฤษฎีแรงโน้มถ่วงแบบควอนตัม ซึ่งถ้าทำสำเร็จก็จะกลายเป็นสุดยอดทฤษฎี หรือทฤษฎีสรรพสิ่ง (the theory of everything) ซึ่งจะสามารถอธิบายทุกสรรพสิ่งในเอกภพ โดยฮอว์คิงเชื่อว่าอีกไม่เกิน 20 จะมีการค้นพบทฤษฎีสรรพสิ่งนี้

อย่างไรก็ดี ฮอว์คิงได้เขียนไว้ในประวัติย่อของกาลเวลาว่า ถ้าหากมีสุดยอดทฤษฎีเช่นนี้อยู่จริง ทฤษฎีนั้นคงจะกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ด้วย รวมทั้งกำหนดด้วยว่าจะหาทฤษฎีพบหรือไม่ และถ้าเป็นเช่นนั้นบางทีทฤษฎีดังกล่าว อาจกำหนดให้ฮอว์คิงมีสภาพเป็นอย่างที่เขาเป็นอยู่ เพื่อแสดงให้มนุษย์ได้เห็นว่า ไม่มีอะไรที่จะขัดขวางพลังสติปัญญา และการติดตามค้นหาเป้าหมายสูงสุดของมนุษยชาติได้

สำหรับชีวิตส่วนตัว บิดาของฮอว์คิง ชื่อ แฟรงค์ เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคเขตร้อน และมารดาของเขาชื่ออิโซเบล ซึ่งเป็นลูกสาวของนายแพทย์ชาวสก๊อต ฮอว์คิงเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่บิดาเคยศึก ษาอยู่ โดยเลือกเรียนทางด้านฟิสิกส์ เพราะชอบวิชาคำนวณ และยังได้รับเกียรตินิยมอันดับ 1 ในสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ จากนั้นก็เข้าสู่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ศึกษาในระดับปริญญาเอก และทำวิจัยด้านจักรวาลวิทยา (Cosmology) และในช่วงนี้ที่แพทย์พบว่าเขาป่วยเป็นโรค ALS และกำลังจะตายภายใน 2 ปี ซึ่งในช่วงนี้ทำให้เขาได้พบกับ “เจน ไวลด์” ภรรยาคนปัจจุบัน ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมโรงเรียนสมัยมัธยม และได้ให้กำลังใจเขาขณะต้องเผชิญโรคร้าย ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 3 คน

ฮอว์คิงทุ่มชีวิตลงไปกับการศึกษาค้นคว้ากาล-อวกาศ และสภาวะ singularities ที่จุดเริ่มต้นของกาลเวลา โดยเมื่ออายุ 32 ปีเขาได้เข้าเป็นสมาชิกของรอยัล โซไซตี (Royal Society) และได้รับรางวัลอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein Award) ซึ่งเป็นรางวัลที่ทรงเกียรติที่สุดสำหรับนักทฤษฏีฟิสิกส์ นอกจากนี้ยังได้รับปริญญาดุษฎีกิตติม ศักดิ์ เหรียญตราและเครื่องราชอิสราภรณ์มากมาย

ร่วมแสดงความคิดเห็น