ตามรอยครูบาศรีวิชัย นมัสการพระที่วัดศรีโสดา

วัดศรีโสดา มีความผูกพันธ์กับการสร้างถนน ขึ้นบนพระธาตุดอยสุเทพ พ.ศ.2477 หลวงศรีประกาศ นายก ทน.เชียงใหม่ และผู้แทนราษฎร จ.เชียงใหม่ มีความคิดที่จะนำไฟฟ้าขึ้นไปติดตั้งบนดอยสุเทพ แต่ไม่มีงบประมาณ จึงได้ขอพึ่งบุญบารมีครูบาศรีวิชัย ท่านเห็นด้วยแต่ขออธิษฐานดูก่อนว่าเป็นไปได้หรือไม่ ท่านอธิษฐานถึง 2 ครั้ง ปรากฏว่าเป็นไปได้ยากแต่การสร้างถนนขึ้นไปนั้น จะเสร็จเร็วกว่าจึงตกลงที่จะ สร้างถนนขึ้นไปยังพระธาตุดอยสุเทพ โดยมีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เป็นผู้ลงจอบแรกเป็นปฐมฤกษ์ วันที่ 9 พ.ย.2477ระหว่างการสร้างถนน ครูบาศรีวิชัยได้สร้างวัดขึ้นควบคู่กันไป 4 วัด โดยตั้งชื่อให้มีความหมายเกี่ยวโยงถึงขั้นคุณภาพที่ผู้ปฏิบัติธรรมพึงบรรลุ ได้คือมรรค ผล นิพพาน เทียบพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา 4 ชั้น วัดแรกที่สร้างคือ วัดโสดาบัน ต่อไปอีก 4 กม. สร้างวัดสกิทาคามี ถัดไปอีก เรียกว่า วัดอนาคามี ลำ ดับสุดท้ายบนยอดดอยสร้างอีกวัดหนึ่งเรียกว่า วัดอรหันต์วัดโสดาบัน ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น วัดศรีโสดา ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานว่าเปลี่ยนในสมัยใด น่าจะอยู่ในช่วง พ.ศ.2479- 2509 สมัย ครูบาเสาร์ นารโท เป็นเจ้าอาวาส สาเหตุที่เติมคำว่า ศรี เข้าใจว่ามาจากชื่อครูบาศรีวิชัย เพื่อเป็นอนุสรณีย์ ยกย่องเชิดชู น้อมรำลึกคุณูปการที่ท่านสร้างวัดนี้ขึ้นมา
ลักษณะเด่นของวัด คือ เป็นวัดที่มีพระภิกษุสามเณรชาวเขาอาศัยอยู่มากที่สุด เพราะมีโครงการพระธรรมจาริกส่วนภูมิภาคตั้งอยู่ เปิดการเรียนการสอนภายในวัดประกอบด้วย วิหารครูบาศรีวิชัย วิหารหลังเดิม
สร้างขึ้นสมัยครูบาศรีวิชัย พ.ศ.2477 แล้วเสร็จสมบูรณ์ พ.ศ.2478 ได้เสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา ต่อมาได้ทำการรื้อถอนก่อสร้างขึ้นใหม่ ลักษณะคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ทรงล้านนา พ.ศ.2535 แล้วเสร็จปี พ.ศ.2539 ชื่อว่า “วิหารครูบาศรีวิชัย” สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำ เนินยกช่อฟ้า วันศุกร์ที่ 10 พ.ค. 2539
ศาลา ส.ว. สมเด็จพระบรมราชชนนี วันที่ 20 พ.ย.2515 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จพระราชดำเนินยพร้อมด้วยพระเจ้าพี่นางเธอเจ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชครินทร์ วางศิลาฤกษ์อาคารเรียน ศูนย์อบรมพระพุทธศาสนาแก่ชาวเขา และถวายผ้ากฐิน วันพฤหัสบดีที่ 12 มิ.ย.2529 เวลา 15.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงประกอบพิธีเปิดป้าย ณ ศูนย์อบรมพระพุทธศาสนา แก่พระภิกษุสามเณรชาวเขา วัดศรีโสดา จ.เชียง ใหม่ ในการนี้ได้พระราชทาน พระพุทธรูปจำลอง พระกริ่งจำลอง และเหรียญรูปทรงดอกบัวจารึกพระนาม “ศาลา ส.ว. สมเด็จพระบรมราชชนนี”“สังวาลย์” ฝีพระหัตถ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มอบให้กับประชาชนเป็นที่ระลึก และสักการะบูชาด้วยอาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์
อาคารเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม บาลี และสามัญศึกษา สำหรับเยาวชนชาวเขาเผ่าต่างๆ บรรพชาอุปสมบทศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ณ วัดศรีโสดา ปีละ 300 – 500 คน โดยคณะสงฆ์ คณะศรัทธา ได้รื้อถอนกุฏิเพื่อทำการก่อสร้างขึ้นใหม่ พ.ศ. 2543 พสกนิกรชาวไทย จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ “ครบรอบ 100 ปีคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี” คณะพระธรรมจาริก มูลนิธิเผยแผ่พระพุทธศสานาแก่ชนถิ่นทุรกันดาร วัดศรีโสดา มีฉันทามติถวายเป็นราชสักการะ แด่สมเด็จย่า ที่ทรงมีพระเมตตาต่อโครงการพระธรรมจาริก และพสกนิกรชาวไทยภูเขาเป็นล้นพ้น
สำนักราชเลขาธิการ พระบรมมหาราชวัง กทม. มีหนังสือที่ รล 00/18543 ลงวันที่ 8 ต.ค. 2543 ให้ใช้ชื่ออาคารนี้ว่า “อาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์” อนุญาตเชิญอักษรพระนามาภิไธย “ส.ว.” ประดิษฐานที่หน้าบันของอาคาร เพื่อเฉลิมพระเกียตริครบรอบ 100 ปี ด้วย นอกจากนี้ บทบาทหน้าที่ของวัดศรีโสดา ยังเป็น
1. เป็นที่ตั้ง สำนักงานบริหารงาน โครงการพระธรรมจาริกส่วนภูมิภาค
2. เป็นที่ตั้ง สำนักงานมูลนิธิวัดศรีโสดา
3. เป็นที่ตั้ง ศูนย์อบรมพระพุทธศาสนา แก่พระภิกษุสามเณรชาวเขา
4. เป็นที่ตั้ง สำนักศาสนศึกษาวัดศรีโสดา (แผนกธรรม – บาลี )
5. เป็นที่ตั้ง โรงเรียนสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (พระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา)
6. เป็นห้องเรียนคณะสังคมศาสตร์(สาขาวิชาการสังคมสงเคราะห์) มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่
7. เป็นสถานที่ให้การสงเคราะห์ และอนุเคราะห์ชาวเขาผู้ยากไร้
8. เป็นสถานที่บำเพ็ญกุศล ในเทศกาลและพิธีกรรมต่างๆ สำหรับพุทธศาสนิกชนทั่วไป
9. เป็นสถานที่ประชุมของข้าราชการ และ จนท.ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา ทั่วภาคเหนือ ในวันศุกร์สุดท้ายของเดือน

ร่วมแสดงความคิดเห็น