54 ปี เขื่อนภูมิพล เขื่อนที่หล่อเลี้ยงคนไทย ให้ไฟฟ้า ให้น้ำ ให้ชีวิต

ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำของประเทศไทย จึงส่งผลให้เกิดโครงการเกี่ยวกับน้ำขึ้นมากมาย และทำให้ประเทศไทยบรรเทาปัญหาภัยพิบัติทางน้ำ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อยู่หลายครั้ง
“เขื่อนกักเก็บน้ำ” เป็นหนึ่งในโครงการเกี่ยวเนื่องกับน้ำที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงให้ความสนพระทัยเป็นอย่างมาก เนื่องจากช่วยแก้ไขปัญหาน้ำด้านการอุปโภค บริโภค การ เกษตร รวมถึงปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งได้ นอกจากนี้ยังสามารถเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำสร้างแสงสว่างให้คนไทยทั้งประเทศได้อีกด้วย
ความตอนหนึ่งในพระราชดำรัส ณ สวนจิตรลดา เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2529 ว่า “…หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้…”
เขื่อนภูมิพล ถือกำเนิดขึ้นจากการมีพระราชดำรัสเห็นชอบ กับทางรัฐบาลในสมัยนั้นว่า ควรมีเขื่อน เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้และเพื่อทำการผลิตกระแสไฟฟ้าให้เพียงพอ ต่อความต้องการของประชาชน
เขื่อนภูมิพลเป็นเขื่อนคอนกรีตโค้ง และเป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของประเทศไทย เดิมชื่อเขื่อนยันฮี ต่อมาเมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม 2500 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทาน พระปรมาภิไธย ให้เป็นชื่อเขื่อนว่า เขื่อนภูมิพล ลักษณะของเขื่อน เป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย และเอเชียอาคเนย์ และเป็นอันดับ 8 ของโลก สร้างปิดกั้น ลำน้ำปิง ที่บริเวณเขาแก้ว อ.สามเงา จ.ตาก อ่างเก็บน้ำสามารถรองรับน้ำได้สูงสุด 13,462 ล้าน ลบ.ม.
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์การก่อสร้าง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2504 การก่อสร้างในระยะแรกประกอบด้วยงานก่อสร้างตัวเขื่อน ระบบส่งไฟฟ้า และอาคารโรงไฟฟ้า ซึ่งได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ 1-2 กำลังผลิตเครื่องละ 70,000 กิโลวัตต์ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม และ 15 มิถุนายน 2507 ตามลำดับ
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2507 และได้มีการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ 3-6 กำลังผลิตเครื่องละ 70,000 กิโลวัตต์ และเครื่องที่ 7 กำลังผลิต 115,000 กิโลวัตต์ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ใน วันที่ 11 พฤษภา คม, วันที่ 9 สิงหาคม 2510 ,วันที่ 25 ตุลาคม วันที่ 19 สิงหาคม 2512 และวันที่ 18 ตุลาคม 2525 ตามลำดับ
เพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าออกไป ในปี พ.ศ.2531 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจึงได้ทำการปรับปรุงเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องที่ 1-2 ทำให้มีพลังการผลิตเพิ่มขึ้นอีกเครื่องละ 6,300 กิโลวัตต์ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2535 และ พฤศจิกายน 2536 ตามลำดับส่วนการปรับปรุงเครื่องเครื่องที่ 3-4 มีการปรับปรุงกำลัง ผลิตเท่ากันกับเครื่อง ที่ 1-2 แล้วเสร็จสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ และสิงหาคม 2540 ตามลำดับ
นอกจากนี้ ในปี 2534 กฟผ.ได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ 8 แบบสูบกลับ ขนาดกำลังผลิต 171, 000 กิโลวัตต์ และก่อสร้างเขื่อนแม่ปิงตอนล่าง สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในเดือน มกราคม 2539 ทำให้โรงไฟฟ้าพลังน้ำ เขื่อนภูมิพลมีกำลังการผลิตติดตั้งทั้งสิ้น 779.2 เมกกะวัตต์ เมื่อวันที่ 17 พฤษภา คม 2545 สามารถ และให้ประโยชน์ในด้านชลประทานแก่พื้นที่ถึง 10 ล้านไร่ ต่อปี อ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนจุน้ำได้ 13,462 ล้าน ลบ.ม. เนื้อที่ผิวน้ำประมาณ 300 ตร.ม. ความยาวของลำน้ำจากเขื่อนถึง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ เป็นระยะทาง 207 กม. นอกจากประโยชน์ทางด้านพลังงานไฟฟ้าและชลประทานแล้ว เขื่อนภูมิพลยังเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืด
ประโยชน์ ของการระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพล เขื่อนภูมิพลมีภารกิจหลัก คือ ระบายน้ำ ผลิตไฟฟ้า ให้ตรงตามแผนที่ กรมชลประทานกำหนดมาให้ โดยปริมาณน้ำที่ระบายออกไปจากเขื่อน จะถูกนำไปใช้ ประ โยชน์หลายด้าน ทั้งด้านการเกษตร อุปโภค-บริโภค คมนาคม ท่องเที่ยว รวมทั้งผลักดันลำน้ำเดิม จ. กำแพงเพชร และ จ.นครสวรรค์ สนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกได้ถึง 9.5 ล้านไร่ ในพื้นที่ จ.ตาก

ที่มา : bhumiboldam

ร่วมแสดงความคิดเห็น