ที่ปรึกษา รมช.ติดตามผลการดําเนินงาน ศูนย์NEC ภาคเหนือตอนบน วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่

วันที่ 18 มิถุนายน 2561 เวลา 9.00 น.ณ อาคาร NEC วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษา รมช.กระทรวงศึกษาธิการ ให้เกียรติมาเป็นประธานการประชุมและมอบนโยบาย การดำเนินงานศูนย์ประสานงานการผลิต และพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาภาคเหนือ วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ พร้อมเปิดศูนย์อย่างเป็นทางการ
พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษา รมช.กระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า การจัดตั้งศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาภาคตะวันออก (EEC) ศูนย์ประสานงานฯภาคใต้(SEC) ศูนย์ประสานงานฯภาคกลาง(CEC) ศูนย์ประสานงานฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(NEEC) ได้เป็นต้นแบบให้กับศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนา กำลังคนอาชีวศึกษา ภาคเหนือตอนบน จ.เชียงใหม่(NEC) ซึ่งเป็นนโยบายรัฐบาล และกระทรวงศึกษาธิการ
ในการขับเคลื่อนการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เพื่อตอบสนองภาคการผลิตอุตสาหกรรม และบริการสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และประเทศไทย 4.0 ประกอบการขับเคลื่อนมีแนวคิดในการคิดวิเคราะห์สภาพปัญหาความต้องการ ของสถานประกอบการกับการขับเคลื่อน มีแนวคิดในการคิดวิเคราะห์ สภาพปัญหาความต้องการ ของสถานประกอบการ
การวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคน ให้ตอบสนองความต้องการ การจัดการอาชีวศึกษาแบบมีส่วนร่วม ใช้กลไกมาตรฐานอาชีพ เพื่อกำกับคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา โดยมอบหมายให้ สนง.คณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดำเนินการขับเคลื่อนนโยบาย กระทรวงศึกษาธิการ และได้มีการประกาศจัดต้ังศูนย์ประ สานงานการผลิตและพัฒนากำลังคน อาชีวศึกษา ทั่วทุกภูมิภาค
ต้องขอขอบคุณ สนง.คณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่ช่วยกันขับเคลื่อนโยบายสำคัญนี้ ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศชาติ ขอขอบคุณ ผู้ประกอบการ หัวหน้าหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ที่สนับสนุนศูนย์ประสานงานการผลิต และพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ภาคเหนือ จ.เชียง ใหม่ นับว่าท่านทั้งหลายได้มีส่วนร่วม และได้ช่วยกันในการพัฒนาประเทศ
นายศรีชัย พรประชาธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า ตามนโยบายของ รมช. กระทรวงศึกษาธิการ (พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์) ให้ สนง.คณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดทำยุทธ ศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลังคนกำลังคน อาชีวศึกษาในระดับภูมิภาค
สนง.คณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานดังกล่าว โดยแบ่งเขตจัดตั้งศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนกำลังคนอาชีวศึกษาในระดับภูมิภาค ตามการแบ่งเขต การพัฒนาภาคในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 12 ของ สนง.พัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ซึ่งได้ จัดตั้งศูนย์ฯ จำนวน 17 ศูนย์ ประกอบด้วย ภาคกลาง 3 ศูนย์ ภาคเหนือ 3 ศูนย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 ศูนย์ ภาคตะวันออก 3 ศูนย์ และภาคใต้ 3 ศูนย์ ทั้งนี้ได้มีพิธีเปิด และตรวจเยี่ยมศูนย์แล้ว จำนวน 7 แห่ง คือ ภาคตะวันออก ที่วิทยาลัยสัตหีบ วิทยาลัยเทคนิคระยอง และวิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรา ภาคใต้ที่วิทยาลัยกาญจนาภิเษกปัตตานี ภาคกลางและปริมณฑลที่วิทยาลัยเทคนิคสมุทร ปราการ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด

รวมทั้งได้จัดประชุมปฏิบัติการ จัดทำฐานข้อมูลกำลังคนอาชีวศึกษา Big Data system ให้กับครูและ จนท.ผู้ไปปฏิบัติงานประจำศูนย์ฯ ในทุกภูมิภาค จำนวน 7 ครั้ง ซึ่งได้ ดำเนินการไปแล้ว 5 ครั้ง ใน จ. ราชบุรี สมุทรปราการ เชียงใหม่ พิษณุโลก และ ร้อยเอ็ด สำหรับการดำเนินงานในภาคเหนือ ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานหลักใน จ.เชียงใหม่ พิษณุโลก และ นครสวรรค์
ซึ่งศูนย์ประสานงาน จ.เชียงใหม่ แห่งนี้ มีจังหวัดที่อยู่ภาคใต้กำกับดูแลประกอบด้วย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน มีสถานศึกษาทั้งสิ้น 69 แห่ง (ภาครัฐ 44 แห่ง เอกชน 25 แห่ง) ซึ่งขณะนี้มีความพร้อมเปิดทำการแล้ว

สำหรับการประชุมในวันนี้ ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ผู้บริหารของ สนง.คณะกรรมการการ อาชีวศึกษา หน.ส่วนราชการ ผู้ประกอบการ และหน.องค์กรต่างๆ ใน จ.เชียงใหม่
นายไพบูลย์ วงศ์ยิ้มย่อง ผอ.วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ /ประธานอาชีวศึกษา จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า จากนโยบาย รมช.กระทรวงศึกษาธิการ (พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์)ได้มอบหมายให้ สนง.คณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคน ในเขตพื้นที่ภาคเหนือ โดยให้นำศูนย์ประสานงานการผลิต และพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(EEC) มาเป็นต้นแบบในการจัดตั้งศูนย์

โดย ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ภาคเหนือ ประกอบด้วย 3 ศูนย์ แบ่งตามยุทธศาสตร์ กลุ่มจังหวัด 1. ศูนย์ จ.เชียงใหม่ 2.ศูนย์ จ.พิษณุโลก ผู้รับผิดชอบ 3. ศูนย์ จ.นครสวรรค์ โดยมีศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา จ.เชียงใหม่ วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ รับผิดชอบ พื้นที่ภาคเหนือตอนบน 1 และ 2 ประกอบด้วย 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน เป้าหมายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาในเขตภาคเหนือ ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลรองรับ ความต้องการกำลังคนในอุตสาหกรรม 4.0 และภาคบริการ โดยดำเนินการภายใต้ความร่วมมือ กับสถานประกอบการและหน่วยงานในพื้นที่ทุกภาคส่วน เพื่อผลิตกำลังคนที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของ สถานประกอบการในทุกภูมิภาคต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น