ทุ่มสุดตัว!! รัฐ – ภาคการศึกษา จัดหอการค้าแฟร์ 2018 กระตุ้นเศรษฐกิจเชียงใหม่ ตั้งเป้าเงินสะพัด 50 ล้านบาท

หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ จัดงานหอการค้าแฟร์ 2018 ภายใต้งาน Lanna Expo 2018 วันที่ 22 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2561 ในเชิงการบูรณาการภาครัฐ ภาคการศึกษาแบบครบวงจร เพื่อสร้างรายได้ และการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบยั่งยืนในพื้นที่ คาดสร้างรายได้หมุนเวียนมาก กว่า 50 ล้านบาท ทั้งยังต่อยอดโดยการจับคู่ค้าระหว่างผู้ประกอบการ ไทยกับจีน และเมียนมา เพื่อเริ่มต้นยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ก้าวสู่สากล
นางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ จะจัดงาน ‘หอการค้าแฟร์ 2018’ Chiang Mai Chamber of Commerce Fair 2018 ซึ่งจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ภายในงาน Lanna Expo 2018 ระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2561 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จ.เชียงใหม่ โดยกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ได้แก่ ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน โดยเป็นเชียงใหม่ที่สนับสนุนพื้นที่จัดงาน เพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้า ขยายช่องทางทางการตลาดของผู้ประกอบการ พร้อมกับส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการ และกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ และภาคเหนือ คาดว่าจะมีผู้ร่วมชมงานมากกว่า 250,000 คน ตลอด 10 วัน และจะสร้างรายได้หมุนเวียนมากกว่า 50 ล้านบาท ซึ่งจะเพิ่มขึ้นกว่าการจัดงานในสองปีที่ผ่านมาที่มีมูลค่าราว 30 ล้านบาท และ 20 ล้านบาท ตามลำดับ ในส่วนของหอการค้าแฟร์ 2018 ได้จัดบูธจําหน่ายสินค้า และแสดงศักยภาพเศรษฐกิจของเชียงใหม่ทั้ง หมด 125 บูธ แบ่งเป็นโซนสินค้าฮาลาล ฮาลาลสตรีท โซนนิทรรศการฮาลาล โซน Wellness โซนผู้ประกอบการจากโครงการ Cosmetic Valley โซนตลาดผลไม้ เป็นต้น “โดยเฉพาะโซนตลาดผลไม้ จะจัดภายใต้แนวคิดสุดยอดผลไม้ไทย ตามยุทธศาสตร์ชาติที่ผลักดันให้ประเทศไทย เป็นมหานครผลไม้เมืองร้อนของโลก ซึ่ง จ.เชียงใหม่ โดดเด่นด้านการท่องเที่ยวจึงมีความเป็นไปได้สูง สำหรับการเป็นศูนย์รวมตลาด (market place) แหล่งรวมผู้ซื้อ – ผู้ขาย ทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ของไทย ภายในงานนี้จะมีผลไม้ที่ถูกคัดสรรด้วยคุณภาพสูง เช่น ทุเรียน มังคุด สับปะรด มะม่วง ลำไย เพื่อตั้งใจมอบเป็นของขวัญให้กับชาวเชียงใหม่ ที่มางานแล้วได้รับประทานผลไม้ ที่รสชาติอร่อย และสด เหมือนกับรับประทานที่สวน”
ประธานหอการค้าฯ กล่าวอีกว่า หอการค้าแฟร์ 2018 นับเป็นกิจกรรมครั้งใหญ่ สําคัญอีกครั้งหนึ่ง ที่หอ การค้าจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับการสนับสนุนและใกล้ชิดกับภาครัฐ ภาคการศึกษา ตลอดจนหน่วยงานที่สําคัญในการผลักดันโครงการเชิงยุทธศาสตร์ ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ผ่านการพัฒนาผู้ประกอบการอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมเชิงบูรณาการ โครงการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่แบบครบวงจร เช่น ยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ก้าวสู่สากล โดยการบุกตลาดจีน และเมียนมา เพราะในขั้นตอนส่วนการคัดเลือกผู้ประกอบการกว่า 100 ผลิตภัณฑ์ จะมีตัวแทนจากบริษัทจีน และเมียนมา เข้าร่วมฟังบรรยายด้วย ทำให้เกิดความสนใจร่วมลงทุน ในเบื้องต้นจากจีน 20 บริษัท และเมียนมา 8 บริษัท
ดร.ณพศิษฐ์ จักรพิทักษ์ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) กล่าวว่า การดําเนิน โครงการในปีนี้ถือเป็นการบูรณาการอย่างใกล้ชิด ระหว่างสถาบันการศึกษากับหอการค้าฯ ที่ได้ดําเนินโครงการร่วมกันหลายโครงการ เช่น โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการดิจิทัล ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ให้ก้าวสู่ Super Cluster ด้านดิจิทัล Thailand 4.0 โครงการหน้าต่างการท่องเที่ยวสู่ล้านนา (Lanna Tourism Enclave) ที่ได้ดําเนินการผ่านศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว สถาบันวิจัยสังคม มช. ดําเนินกิจกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Tourism) ในเชียงใหม่ และกิจกรรมการอบรมผู้ประกอบการล้านนาลองสเตย์
โครงการ “พัฒนาความสามารถทางนวัตกรรมของผู้ประกอบการใหม่ภาคเหนือ รุ่นที่ 2 – Northern Innovative Startup Thailand (NIST) : Batch 2” ของอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มช. (STeP) และสํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ดําเนิน เพื่อสร้างผู้ประกอบการ Startup อย่างต่อเนื่อง
ดร.ภราดร สุรีย์พงค์ ผู้ช่วยศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าในปีนี้ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล ร่วมมือกับหอการค้าฯ เป็นปีที่ 3 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการรับรองฮาลาลว่าไม่ใช่การพัฒนามาตรฐานสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่ต้องสนับสนุนการขายของผู้ประกอบการและกระตุ้นการเปิดตลาดใหม่ ที่จะทำให้ตลาดฮาลาลจะใหญ่ขึ้น รวมทั้งต้องการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการรับ รองฮาลาลและการอบรม สาธิตเรื่องที่เกี่ยวข้อง ที่เรียกว่า ดิจิทัลฮาลาลศาสตร์ คาดหวังว่าการร่วมงานครั้งนี้จะเป็นช่องทาง ที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการในบ้านเราอีกครั้ง เพิ่มยอดการส่งออกไปสู่นานาประเทศ อาจจะเริ่มจากตลาดในประเทศอาเซียน ซึ่งหากประสบความสําเร็จ ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะขยายตลาดต่อไปได้ถึงระดับโลก รวมถึงทางโซนตะวันออกลางและยุโรปด้วย เนื่องจากขณะนี้มีการขยายตัวของนักท่องเที่ยวมุสลิม เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง

ร่วมแสดงความคิดเห็น