หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม ที่มาของอาการปวดหลัง !!!

อาการปวดหลังที่คนเฒ่า คนแก่ มักเจอกันบ่อยๆ อาจมาจากหลายสาเหตุ แต่หนึ่งในสาเหตุหลักๆ มักมาจาก “หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม”กระดูกสันหลังเสื่อมถ้าเปรียบเทียบง่ายๆ มันเหมือนกับรถยนต์ เราใช้ร่างกายเรามา 30-40 ปี แน่นอนว่าส่วนของเครื่องยนต์ ส่วนของน็อตมันก็มีการหลวมไปบ้าง มันก็เหมือนกับกระดูกสันหลังของเราที่มีอาการเสื่อม เสื่อมคือเหมือนน็อตเริ่มหลวม พอน็อตเริ่มหลวมปุ๊บ มันก็มีการขยับเล็กๆน้อยๆ ของกระดูกสันหลัง นั่นนำมาซึ่งคล้ายกับกระดูกสันหลังมันไม่มั่นคง อันนั้นคือกระดูกสันหลังเสื่อม
วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับโรคกระดูกสันหลังเสื่อม และโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้ การตรวจวินิจฉัย และวิธีการรักษา หรือป้องกันโรคหมอนรองกระดูกหลังเสื่อม จาก นพ.เดชวัศวร์ ศิวัชพันธุ์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านกระดูกและข้อ ศูนย์โรคปวดหลัง โรงพยาบาลลานนา จะมาให้ความรู้กันครับ
หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมคือ หมอนรองกระดูกสันหลังจริงๆแล้ว ปกติแล้วมันจะต้องมีน้ำอยู่ข้างใน เป็นเหมือนคล้ายๆกับเป็นเยลลี่อยู่ข้างใน พอมันมีน้ำอยู่ข้างในปุ๊บ มันก็เหมือนกับชุ่มชื้น ดูแข็งแรง แต่เวลาที่เราใช้งานมันไปเยอะๆ เวลาที่น้ำหนักตัวเราลงไปที่หมอนรองกระดูก เกิดการใช้งานขึ้น ตัวหมอนรองกระดูกมันก็ต้องใช้รับการใช้งานไปเรื่อยๆ พอมันเริ่มเสื่อมก็คือไอตัวเจลมันค่อยๆแห้งลง จากการที่เจลมันชุ่มชื้นอยู่ หมอนรองกระดูกมันก็จะค่อยๆแห้งลงเรื่อยๆ พอแห้งลงเรื่อยๆปุ๊บ มันก็เริ่มรับน้ำหนักตัวเราไม่ไหว พอมันเริ่มรับน้ำหนักตัวเราไม่ไหว มันก็เกิดการทรุดตัวลงหรือมีรอยฉีก รอยขาด เกิดขึ้นกับหมอนรองกระดูก พออย่างนั้น มันก็มีความสุ่มเสี่ยงในการที่หมอนรองกระดูกมันจะเกิดการปลิ้นไปทับเส้นประสาทหรือทำให้เกิดช่องไขสันหลังตีบตามมาได้

ปัจจัยเสี่ยงก็คือเรื่องของอายุอันดับแรกเลย อายุยิ่งมากขึ้น โอกาสที่จะเสื่อมก็มากขึ้น ถ้าสมมุติเราอายุแค่ 30-40 เราอาจจะไม่ได้เสื่อมเท่าไหร่ ถ้าสมมุติว่า 50-60 ยังไง ๆ ถ้าเอกซเรย์ก็ต้องเจอกระดูกสันหลังเสื่อมแน่นอน หมอนรองกระดูกก็ต้องเสื่อมแน่ๆ แต่จะเสื่อมมากเสื่อมน้อยก็ว่ากัน อันดับต่อมาก็คือ การปฏิบัติตัวของเราในชีวิตประจำวัน เช่น ทำงานก้มๆ เงยๆ ต้องยกของหนักหรือเปล่า ต้องนั่งอยู่ท่าๆ เดิมเป็นเวลานานๆ หรือเปล่า อันนี้เป็นพฤติกรรมของเราในช่วงประจำวันที่เกิดขึ้น อันดับสุดท้าย ก็คือพันธุกรรม พันธุกรรมส่งผลค่อนข้างน้อย แต่จริง ๆ ก็มีบ้างเหมือนกันว่า ตัวหมอนรองกระดูกอาจจะอ่อนแอกว่าปกติ ทำให้เวลาที่เกิดแรงที่มากระทำกับหมอนรองกระดูกสามารถปลิ้นได้ง่ายขึ้นอาการเสื่อมจะเจอได้ในคนไข้อายุมากๆ มากกว่าคนไข้อายุน้อยๆ โดยธรรมชาติแล้ว ตัวกระดูกสันหลังของเรามันจะเริ่มเสื่อมตั้งแต่อายุ 35 เป็นต้นไป ก็มีความเสี่ยงเรื่องของการเสื่อมของหมอนรองกระดูกและตัวกระดูกสันหลังได้มากขึ้นเท่านั้น ส่วนเรื่องของเพศ ทั้งเพศหญิงเพศชายใกล้เคียงกัน ไม่ได้ต่างกันมาก

การตรวจวินิจฉัยข้อแรกสุดที่สำคัญมากๆ คือการตรวจร่างกายกับการซักประวัติ มันมีอาการร้าวลงขาหรือเปล่า มันมีอาการชาหรือเปล่า อ่อนแรงไหม เดินเป็นยังไง หรือว่าการตรวจร่างกายว่าเจอสัญญาณบางอย่างที่บ่งบอกว่า เป็นโรคทางกระดูกสันหลัง ก็นำมาซึ่งการวินิจฉัยขั้นต่อไปก็คือการเอ็กซเรย์กับการทำ MRI ในกรณีของการเอ็กซเรย์ จะสามารถให้คนไข้ก้มกับเงยได้ เวลาที่เราก้มกับเงย ถ้ามันมีการเคลื่อนตัวมากผิดปกติ มันก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังจากตัวกระดูกสันหลังที่ไม่มั่นคงได้ ส่วนเรื่องของ MRI เรานอนทำ เราไม่สามารถที่จะก้มหรือเงยได้ มันจะมีประโยชน์ในเรื่องของการดูว่า ตัวหมอนรองกระดูกสันหลัง สภาพเป็นยังไงบ้าง ปลิ้นมาเยอะขนาดไหน ตำแหน่งอยู่ตรงไหนบ้าง เราจะเห็นตัวหมอนรองกระดูกสันหลังได้ชัดเจนกว่า เราจะเห็นตัวเส้นประสาทได้ชัดเจนกว่า เราจะดูว่าตรงไหนที่ถูกกดมาก เพื่อที่เราสามารถใช้ MRI กับตัวเอ็กซเรย์ประกอบกันในการที่จะตัดสินใจรักษาว่า เราจะใช้วิธีรักษาแบบไหน

การป้องกันของตัวโรคของหมอนรองกระดูกเสื่อม จริงๆแล้วก็คือเรื่องของการดูแลตัวเองมากกว่า เพราะว่าเรื่องของอายุกับเรื่องของพันธุกรรมเราไม่สามารถไปปรับเปลี่ยนได้ เรื่องของการดูแลตัวเองก็คือเรื่องของการออกกำลังกาย เพื่อควบคุมน้ำหนักของเราให้มากจนเกินไป และก็เรื่องการออกกำลังกายกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวให้แข็งแรงเพื่อช่วยซับพอร์ตตัวหมอนรองกระดูกและตัวกระดูกสันหลังเองไม่ให้เสื่อมเร็ว ยังไงมันก็เสื่อมแต่มันก็จะเสื่อมช้าลงหน่อย

อย่างไรก็ตาม ท่านใดที่มีอาการปวดหลังบ่อยๆ ปวดเรื้อรัง พยายามอย่าปล่อยละเลย เพราะคิดว่านอนพักเดี๋ยวก็หาย แต่อาการปวดหลังที่นำมา อาจเป้นอาการเริ่มต้นที่ยังพอรักษาได้ ให้พึงระวังเสมอไว้ว่า โรคปวดหลัง หากรักษา หรือปรับพฤติกรรมแต่เนิ่นๆ ก็ช่วยชะลอ และป้องกันกระเสื่อมของกระดูกสันหลัง และหมอนรองกระดูกสันหลังได้ ก่อนที่จะต้องรักษาด้วยการผ่าตัดในที่สุด

ร่วมแสดงความคิดเห็น