มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภูมิใจ แก้ไขป้ายมหาวิทยาลัยฯ เรียบร้อยแล้ว

หลังจากที่มหาวิทลัยเชียงใหม่ ได้ทำการปรับภูมิทัศน์บริเวณประตู ปตท.เดิม และได้มีได้มีการสร้างป้ายประตูเข้าใหม่ พร้อมตัวอักษรธรรมล้านนาและภาษาอังกฤษ ซึ่งในครั้งแรกได้เกิดความผิดพลาดต่อการสะกด จนผู้รู้หลายท่านได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ การสะกดคำของป้ายดังกล่าว ในโลกโซเชียล ซึ่งขณะนี้ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก้ไขข้อความอักษรธรรมล้านนา และภาษาอังกฤษบนป้ายมหาวิทยา ลัยดังกล่าวแล้ว
ตามที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อนิภา คาสึยะ เตชะวิทยโยธิน ได้โพสต์ขอบคุณและได้อธิบายที่มาของฟร้อนอักษรธรรมล้านนานี้ ข้อความว่า “สวย สง่า สมเป็นมหาวิทยาลัยล้านนา ขอขอบคุณพลังของนักศึกษา อาจารย์ บุคลากร ผู้บริหาร ปราชญ์ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน ที่ผลักดันให้เกิดการแก้ไขป้ายมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เขียนด้วยอักษรธรรมล้านนาให้ถูกต้องอย่างสง่างามด้วยฟร้อน LN Tilok ที่ประดิษฐ์และเผยแพร่โดย สำนักส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เอง ฟร้อนนี้ตั้งชื่อตามพระนามกษัตริย์ล้านนาที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง คือ พระเจ้าติโลกราช ผู้ทำสงครามมหากาพย์กับพระบรมไตรโลกนาถแห่งอยุธยา จนก่อให้เกิดการแต่งลิลิตยวน(โยนก)พ่าย และอยุธยาเกรงกลัวจนต้องย้ายเมืองหลวงไปอยู่พิษณุโลกและเรียกสรรพนามในเอกสารต่าง ๆ แทนพระเจ้าติโลกราชว่า ‘มหาราช’ หรือ ‘มหาราชพระญาเชียงใหม่’
ในเอกสารล้านนามีบันทึกเรื่องราวในรัชกาลของพระองค์ไว้มากมาย ตั้งแต่การขึ้นสู่ราชบัลลังก์ ราชการสงครามตีเมืองแพร่เมืองน่าน เพื่อรวมล้านนาให้เป็นปึกแผ่นและป้องกันพระราชอาณาจักรจากการรุกรานของอยุธยาและเวียดนาม การบำรุงศาสนา การสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ 8 ของโลก ณ เมืองเชียง ใหม่ เอกสารตำนานต่าง ๆ ในรัฐฉาน ประเทศพม่า หลายฉบับแทนพระองค์เป็นพระเจ้าอโศกมหาราช และเอกสารของเชียงใหม่อ้างว่าจักรพรรดิจีน(วันออกหมอกขาว) ได้ยกพระองค์เทียบจักรพรรดิ์แห่งดินแดนตะวันตก(วันตกนกนอน) นอกจากนี้ยังมีบันทึกบทบาทของพระมารดาของพระองค์ จนทำให้คนรุ่นหลังตระหนักของบทบาทสตรีในสังคมล้านนา แต่ประวัติศาสตร์ส่วนกลางทำให้เราลืมกษัตริย์ล้านนาพระองค์นี้
การเผยแพร่ฟร้อนและระบบพิมพ์ที่ใช้กับ MS Word ทำให้เกิดการพัฒนาระบบการพิมพ์ด้วยอักษรธรรมล้านนา เข้าถึงผู้ใช้ได้อย่างเป็นมิตร ก่อให้เกิดการพิมพ์หนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์อักษรธรรมล้านนามีจำนวนมากขึ้นมหาศาล รักษาการรองอธิการบดีและผู้บริหาร ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะแก้ไขป้ายมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ที่ผิด และออกหนังสือให้แต่ละส่วนงาน เขียนชื่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ด้วยอักษรธรรมล้านนาอย่างถูกต้องและเป็นไปในทางเดียวกัน ตามจดหมายที่เคยแชร์ให้ดูก่อนหน้านี้ แสดงถึงความเอาใจใส่เสียงร้องเรียนของประชาชน นักศึกษา และผู้มีความรู้ด้านการเขียนอักษรธรรมล้านนาอย่างดีมาก ขอขอบพระ คุณมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นอย่างสูง
ด้วยจิตคารวะ
นิภา เตชะวิทยโยธิน และ ยุวสามี
ขอบคุณภาพถ่ายสวย ๆ จาก คุณอัษฎาวุธ วรรณะ ค่ะ”
นอกจากนี้ผู้ใช้เฟซบุ๊กดังกล่าว ยังได้อธิบายที่มาของรูปแบบอักษรธรรมล้านนา ซึ่งได้ออกแบบและประดิษฐ์โดยสำนักส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งใช้ชื่อว่า LN Tilok ซึ่งเป็นชื่อของพระเจ้าติโลกราช ผู้ทำสงครามมหากาพย์กับพระบรมไตรโลกนาถแห่งอยุธยา กษัตริย์พระองค์หนึ่งของอาณาจักรล้านนา

ร่วมแสดงความคิดเห็น