มาทำความรู้จักกับ “โรคสมาธิสั้น” กัน

สามารถเป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่

#อาการที่พบในเด็ก
– ไม่ตั้งใจฟัง ไม่สนใจในขณะที่มีคนพูดด้วย
ไม่ทำอะไรไปตามขั้นตอน ชอบทำอะไรง่าย ๆ รวบรัด
– ไม่ชอบทำอะไรเป็นเวลานานๆ มักเปลี่ยนไปทำกิจกรรมอย่างอื่นแทน
– ไม่ชอบเรียนรู้เรื่องที่ต้องใช้เวลา เช่น การอ่านเรื่องยาว ๆ
– มองข้ามเรื่องสำคัญ ไม่ใส่ใจรายละเอียด จนเกิดความผิดพลาดบ่อย ๆ
– มักลืมอุปกรณ์เครื่องใช้หรือสิ่งของจำเป็น เช่น ลืมดินสอ ยางลบ ปากกา หนังสือ ตอนมาโรงเรียน
– มักลืมสิ่งที่ต้องทำหรือที่ได้รับมอบหมาย เช่น ลืมทำการบ้าน ลืมการนัดหมาย
– วอกแวกง่ายเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น หรือมีความคิดอื่นมากระตุ้นในขณะทำกิจกรรมใด ๆ อยู่
– จัดลำดับความสำคัญไม่เป็น เรียงลำดับสิ่งที่ควรทำไม่ได้
– บริหารจัดการเวลาได้ไม่ดี ไม่สามารถทำงานเสร็จตามกำหนดการ
– หลีกเลี่ยงและไม่ชอบงานที่ต้องใช้ความพยายามมากๆ อย่างการทำการบ้าน การเขียนรายงานหรือเรียงความ
– มีปัญหากับการทำงานตามกำหนด หรือการเรียน การเล่น กิจกรรมอะไรก็ตามที่ต้องทำตามกฎระเบียบหรือกรอบคำสั่ง
– พูดมาก พูดไม่หยุด
– นั่งนิ่งอยู่กับที่นาน ๆ ไม่ได้ โดยเฉพาะเมื่อต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบ
– ว่องไว เคลื่อนไหวรวดเร็ว ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา
– มีปัญหาเกี่ยวกับการรอ ไม่ชอบการรอคอย
– ลุกออกจากที่นั่งบ่อยๆ ในสถานการณ์ที่ควรนั่ง เช่น ขณะกำลังอยู่ในชั้นเรียน ขณะอยู่ที่ทำงาน
– ลุกลี้ลุกลน กระสับกระส่าย จนมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อสถานการณ์
ไม่สามารถทำกิจกรรมหรืองานอดิเรกได้เงียบๆ ตามลำพัง
– พูดโต้ตอบสวนขึ้นมาในขณะที่อีกฝ่ายยังพูดหรือถามไม่จบ ไม่รอให้ผู้อื่นพูดจบแล้วค่อยพูด
– พูดแทรกหรือรบกวนในขณะที่ผู้อื่นกำลังพูดหรือทำกิจกรรมใดๆ อยู่

#อาการที่พบในผู้ใหญ่

– ประมาทเลินเล่อ ขาดความใส่ใจในรายละเอียด
– ขี้หลงขี้ลืม
– ร้อนรน กระสับกระส่าย อยู่ไม่สุข
– อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
– ใจร้อน ไม่มีความอดทน
– ใช้ชีวิตบนความเสี่ยง ประมาท ขับรถเร็ว
– ไม่สามารถจัดการกับความเครียดได้ หรือจัดการได้ไม่ดี
– ชอบพูดโพล่งออกมา ไม่ชอบการทนอยู่เงียบๆ
– พูดแทรก ไม่รอให้ถึงจังหวะหรือลำดับของตนเอง
– มักทำงานผิดพลาดอยู่เสมอ
– มีปัญหาเรื่องการจัดการ การจัดลำดับความสำคัญ และการบริหารเวลา
– มักเริ่มทำงานใหม่โดยที่ยังไม่ได้ทำงานเดิมให้สำเร็จลุล่วง
– ใจลอย วอกแวก ขาดสมาธิในการจดจ่อสนใจ

#การรักษา
สามารถบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม โดยนักบำบัดจะพูดคุยให้ผู้ป่วยทำความเข้าใจถึงโรคและอาการที่เผชิญอยู่ แล้วร่วมวางแผนหาทางแก้ไขรับมือกับอาการที่เกิดขึ้น เพื่อปรับมุมมองความคิดที่จะแสดงความรู้สึกต่อสถานการณ์ต่างๆ ให้เหมาะสม และลดพฤติกรรมที่สร้างปัญหาลง

ร่วมแสดงความคิดเห็น