หลายหน่วยงานร่วมถอดบทเรียน เหตุการณ์ถ้ำหลวง หาแนวทางป้องกัน รับมือในอนาคต

เวลา 09.00น.วันที่ 8 ส.ค.61 ที่ห้องประชุม โรงแรมโพธิ์วดล ต.ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย พล.ต.สา ยัณห์ เมืองศรี ผบ.มทบ.34 พล.ต.บลัญชา ดุริยพันธ์ ผบ.มทบ.37 นายกอบชัยน บุญอรณะ รองอธิบดีกรมปภ. นายภาสกร บุญญลักษม์ รอง ผวจ.เชียงราย นายกมลไชย คชชา ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรกัษ์ที่ 15 นายธเนศ วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ร่วมกันเสวนาการถอดบทเรียน ภายหลังการปฏิบัติงาน การค้นหา กู้ภัย และช่วยเหลือ ผู้สูญหายบริเวณ วนอุยานถ้ำหลวง – ขุน น้ำนางนอน โดยมีผู้ปฏิบัติงาน สื่อมวลชนที่ร่วมทำข่าวในพื้นที่ และประชาชนที่สนใจ เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก โดยการถอดบทเรียนครั้งนี้จัดขึ้น 2 วัน คือวันที่ 8 – 9 ส.ค. เพื่อหารือและแบ่งกลุ่มในการถอดบทเรียนให้ได้ประโยชน์สูงสุด
นายภาสกร กล่าวหลังจากปฏิบัติการครั้งนี้แล้ว เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายก็แทบจะไม่ได้พบกันพร้อมหน้าเช่นนี้อีก จึงถือเป็นโอกาสสำคัญในการจะร่วมกันถอดบทเรียน สำหรับเหตุการณ์ดังกล่าว ถือเป็นภัยพิบัติระดับ 2 ที่จังหวัดสามารถดำเนินการได้ โดยระดับ 1 คือระดับอำเภอ ระดับ 2 คือระดับจังหวัด ระดับ 3 ระดับกระทรวงมหาดไทย และระดับ 4 รัฐบาลนำโดย นายกรัฐมนตรี จะบัญชาการเอง แต่เนื่องจากภัยครั้งนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และมีผู้ระดมกำลังเข้าสนับสนุนภารกิจจำนวนมาก จึงต้องจัดตั้งศูนย์บัญชาการสั่งการ จ.เชียงราย แบ่งภารกิจ จัดระเบียบ จึงทำให้ภารกิจบรรลุเป้าหมายมาได้ ดังนั้นจึงถึงเวลาต้องถอดบทเรียน เพราะคนทั้งโลกต้องการรู้ว่าประเทศไทย เราบริหารเหตุการณ์นี้อย่างไร

ซึ่งการถอดบทเรียนครั้งนี้ เพื่อเป็นการทบทวน เพื่อวิเคราะห์ ผลที่ได้หลังจากการปฏิบัติงาน ว่าสาเหตุของการเกิดเหตุคืออะไร ในระหว่างเกิดเหตุมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง มีการปฏิบัติงานในด้านใดบ้าง และหากเกิดเหตุในกรณีลักษณะเดียวกันอีกครั้ง จะสามารถดำเนินการให้ดีกว่าเดิมได้อย่งไร โดยเอาข้อมูลการปฏิบัติงานทั้งที่สำเร็จและล้มเหลว รวมถึงสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น ที่ได้เรียนรู้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาระดมสมองร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ กับเหตุการณ์ที่ผ่านมา ว่ามีหน้าที่ ภารกิจในการปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อนำมาซึ่งการการพัฒนาต่อยอด หรือปรับปรุง ในการปฏิบัติงานในอนาคต เพื่อให้เกิดความมีส่วนร่วมในบททบทวนสิ่งที่เกิดขึ้น
โดยเป้าหมายของการถอดบทเรียนในครั้งนี้ เพื่อเป็นการประมวลองค์ความรู้เทคนิค วิทยาการสมัยใหม่ จากหน่วยงาน องค์กรทั้งใน และต่างประเทศ ที่นำมาใช้หรือประยุกต์ใชในเหตุการณ์ การนำข้อมูลที่ได้รับมาประมวลผลวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบ โครงสร้างแนวทางการจัดการเหตุ การณ์ที่ดีขึ้นกว่าเดิม สามารถพัฒนาระบบที่ทำให้หน่วยงาน มีการปฏิบัติร่วมกันได้อย่างราบรื่น สามารถลำดับเหตุการณ์ และพัฒนาการของเหตุการณ์ หน่วยงานที่จะเข้ามาฏิบัติงาน แผนเผชิญเหตุ การแก้ไขปัญหา กระบวนการตัดสินใจที่สำคัญต่อความสำเร็จของเหตุการณ์ ให้เป็นข้อมูลที่สามาราถนำไปศึกษาค้นกคว้า ได้ในอนาคต
นายกมลไชย กล่าวว่ากรมอุทยานแห่งชาติฯ มีกำหนดจะปิดถ้ำ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.เพราะเข้าสู่ฤดูฝนแต่เด็กๆ ทั้ง 13 คน เข้าไปก่อนล่วงหน้าเพียง 7 วัน ขณะที่ถ้ำหลวงไม่เคยมีการสำรวรจทางวิชาการอย่างเป็นทางการมาก่อน ที่ผ่านมาแผนที่ภายในได้จากคำบอกเล่า หรือนักสำรวจทั้งชาวไทยและต่างประเทศที่เคยเข้าไปแล้วเขียนแผนผังคร่าวๆ ว่ามีห้องโถง มีช่องต่างๆ อย่างไร ส่วนโพรงหรือปล่องด้านบนก็ล้วนมาจากเรื่องเล่าจากชาวบ้านทั้งสิ้น โดยส่วนตัวผมเคยเข้าไปลึก ประมาณ 700-800 เมตร ก็รีบออกมาเพราะอากาศภายในมีน้อย

“ผลสรุปพบว่ามีปล่องด้านบนถ้ำนับ 100 ปล่อง แต่ที่เป็นไปได้มีจำนวน 24 ปล่อง และลึกที่สุดคือประ มาณ 400 เมตร ทีมค้นหารังนกที่เข้าไปสนับสนุนภารกิจได้โรยตัวลงไปได้ จากนั้นก็มีช่องคดเคี้ยวต่อไปได้อีกแต่ก็ตันไม่สามารถไปถึงช่องถ้ำได้โดยใช้เครื่องมือจีพีเอสตรวจพบว่า ต้องขุดเจาะอีก 800 เมตรซึ่งเป็นไปไม่ได้ จึงได้ยกเลิกภารกิจการเจาะไป นอกจากนี้ผลการตรวจด้านบนยังพบห้วยน้ำกั้น ห้วยมะกอก ซึ่งบางจุดมีช่องหินที่น้ำกว่า 50% ที่ไหลลำห้วยได้หายไปในช่องหินแล้วมุ่งตรงไปยังโพรงถ้ำด้านใน จึงเกิดปฏิบัติการทำท่อน้ำให้ไหลพ้นช่องดังกล่าว เพื่อพร่องน้ำภายในถ้ำ” นายกมลไชย กล่าว
พล.ต.สายัณห์ กล่าวว่าจุดที่เด็กๆ ติดอยู่ในถ้ำลึกจากด้านบนกว่า 1,300 เมตร หรือ 1 ไมล์ กว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคือไม่สามารถเชื่อมปล่องด้านบนกับช่องถ้ำที่ลึกดังกล่าวได้ ขณะที่ปริมาณน้ำช่วงระหว่างวันที่ 19-21 มิ.ย.พบว่ามีปริมาณ 90 มิลลิเมตร รวมกันแล้วมีมวลน้ำกว่า 270,000 ลบ.ม.ทะลักเข้าไปในถ้ำก่อนเด็กๆ จะเข้าไป และจากการสแกนจากด้านบนพบว่าลึกลงไปประมาณ 100 เมตร ก็เต็มไปด้วยโพรงน้ำและน้ำที่ไหลผ่านไปถึงปลายเขาเหลือแค่ 10% ที่เหลือไหลลงโพรงเหล่านี้มุ่งตรงไปยังถ้ำ จนกระทั่งวันที่ 25-27 มิ.ย.พบว่าปริมาณฝนมากถึง 119 มิลลิเมตร ทำให้ปริมาณน้ำเพิ่มเป็น 320,000 ลบ.ม. ทำให้เด็กๆ ติดอยู่ในถ้ำออกมาไม่ได้ และหน่วยที่ดำน้ำเข้าไปค้นหา ก็ต้องถอนกำลังออกเพราะปริมาณน้ำดังกล่าวทะลักท่วมออกมาถึงปากถ้ำ

การเสวนาครั้งนี้ ได้หยิบยกประเด็นกรณีเด็กๆ ภายในถ้ำได้ยินเสียงสุนัขและไก่ขันช่วงที่ติดอยู่ที่เนินนม สาว ห่างจากปากถ้ำกว่า 3.7 กม. ซึ่งยังไม่สามารถสรุปให้ชัดเจน โดยทางจังหวัดระบุว่าภายหลังได้รับแจ้งก็ให้ทางองค์กรส่วนท้องถิ่น ทดลองเปิดเสียงเพลงภายนอก เป็นเพลงแตกต่างกันในจุดที่แตกต่างกัน เพื่อจะได้สอบถามเด็กๆ ว่าได้ยินเสียงเพลงดังกล่าวจากจุดใด แต่ปรากฎว่าไม่มีใครได้ยินเสียง แต่เมื่อสามารถช่วยเด็กๆ ออกมาได้แล้วสอบถามก็ทราบว่า กลับได้ยินนกหวีดและเสียงคนพูดคุยกัน ทั้งนี้ทางเจ้าหน้าที่จะได้สรุปข้อมูลทั้งหมดให้แล้วเสร็จในเดือน ส.ค.นี้ และจัดทำเป็นรูปเล่มที่สมบูรณ์ภายในวันที่ 1-30 ก.ย.นี้ต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น