“ยาบ้า” ยังคงเป็นกลุ่มใหญ่ ที่ผู้ติดสารเสพติด ในภูมิภาคอาเซียนนิยมใช้

ผลจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการ กับปัญหาการใช้แอมเฟตามีน ของประเทศ ในภูมิภาคอาเซียน พบว่า แอมเฟตามีน หรือ ยาบ้า ยังคงเป็นกลุ่มใหญ่ที่ผู้ติดสารเสพติดในภูมิ ภาคนี้นิยมใช้ ในขณะที่ด้านการดูแลรักษา มีความพยายามดำเนินงานที่ตรงกันในหลายประ เทศ คือ การให้ชุมชนเข้ามามีบทบาท ในดูแลผู้ป่วยติดยาเสพติดให้มากขึ้น
น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การดูแลจัดการปัญหาการใช้ แอมเฟตามีน (amphetamine) ของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน ในเวทีการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ประจำปี 2561 มีการศึกษาที่บ่งชี้ และยืนยันว่าการใช้สารเสพติดมีผลต่ออัตราการเกิดปัญหาทางด้านจิตเวช และการใช้สารเสพติดส่งผลกระทบต่อเศรษฐานะทางสังคม และมีคนจำนวนมากที่ยังต้องการความช่วยเหลือ มีข้อมูลตรงกันว่า 70-80% ของผู้ติดยาเสพติด ในประเทศแถบนี้ ติดยาเสพติดประเภท แอมเฟตามีน หรือ ยาบ้า บางประเทศยังคงมีปัญหารุนแรงในเรื่องการติดเชื้อ HIV จากการใช้ยาเสพติดแบบฉีดเข้าเส้นเลือด บางประเทศยังไม่มีโปรแกรมฟื้นฟูผู้ติด ยาเสพติดที่เหมาะสม
เนื่องจากติดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย และบางประเทศยังมีโครงสร้างทางสังคมที่ไม่เอื้อ ต่อการรักษาและฟื้นฟู สารเสพติด ส่วนด้านการป้องกันแก้ไขปัญหา มีหลากหลายแนวทางในแต่ละประเทศ เช่น การปรับทัศนคติให้มองว่าปัญหาติดยา คือปัญหาทางด้านสุขภาพมากกว่าทางด้านกฎหมาย เพื่อลดการเป็นตรา บาป , การจัดตั้งหน่วยคัดกรองให้การดูแลและรักษาผู้ใช้ยาเสพติดแบบองค์รวม (One stop center for addiction= OSCA) เพื่อวินิจฉัยโรคร่วมกับการติดยาเสพติด เช่น HIV, โรคตับอักเสบ, โรคติดเชื้อทาง เพศสัมพันธ์, การพัฒนาความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐ เอกชน และ NGO เป็นต้น
ด้านการติดตาม ดูแล ช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติด ได้ให้ความสำคัญกับการดูแลทางด้านจิตใจ (psychosocial treatment) และการช่วยเหลือเบื้องต้นร่วมกับครอบครัว (early intervention & family) และทุกประเทศมีแนวโน้มการดูแล ช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติด ไปในแนวทางเดียวกันคือ การให้ชุมชนเข้ามามีบทบาท ในดูแลผู้ป่วยติดยาเสพติดให้มากขึ้น
สำหรับสถานการณ์ และการดูแลผู้ติดสารเสพติดในประเทศไทย อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า ปัจจุ บันมีผู้ติดสารเสพในประเทศ ประมาณ 3 แสนคน ช่วงที่มีการติดยาเสพติดสูงที่สุด คือ อายุ 18-24 ปี คิดเป็น 30% โดยส่วนใหญ่ประมาณ 75% ใช้สารแอมเฟตามีน และโดยที่ปัญหาการใช้สารเสพติดก่อให้เกิดความเจ็บป่วยทางจิตเวช กรมสุขภาพจิต ได้ดำเนินการเพื่อลดความรุนแรงที่เกิดจากการใช้ สารเสพติด
โดยจัดการอบรมอาสาสมัคร ให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต มีสายด่วน 1669 สำหรับแจ้งเหตุหากพบผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน ทั้งนี้ประเทศไทยได้กำหนดเป้าหมายในปี ค.ศ. 2018 ให้การหาย ไม่กลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยจิตเวชกลุ่มติดสารเสพติดในระยะ 3 เดือน ต้องมากกว่า ร้อยละ 90 โดยกำหนดให้มีการติดตามการรักษาแบบผู้ป่วยใน ทุก 2 เดือน และผู้ป่วยนอกอีก 2 เดือน ตลอดจนมีการเปลี่ยนจากการดูแลในโรงพยาบาล เป็นอาศัยการดูแลจากชุมชนเป็นหลัก (community base treatment)

ร่วมแสดงความคิดเห็น